DSM concept ตอนที่ 40

และสุดท้ายอย่างที่ปรากฏในหนังสือ ผู้ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น ไม่ได้หมายความว่าคือทุกคนที่เข้ามาลงทุนนี่ครับ
ความรู้เรียนทันกันหมด แต่.... เรียนกันไม่ได้ครับ
ผมพอทราบดี ฮิๆๆๆ
แก้ไขเมื่อ 28 ก.ค. 47 15:08:29
จากคุณ : Ble (@Ble)  - [ 28 ก.ค. 47 15:05:33 ]

ความคิดเห็นที่ 44 
จริงๆ แล้ว ผมไม่อยากคุยเรื่องวงใน เพราะผมไม่รู้ และ ไม่เคยใส่ใจ
บ่อยครั้งที่มาร์ของผม โทรมาบอก แต่ผมก็แค่จดแล้วดูว่า เค้าบอกตรงแค่ไหน .... ที่ผมไม่ซื้อตาม ไม่ใช่ว่าไม่เชื่อเค้า แต่เพราะหุ้นที่เค้าบอกมา มันไม่อยู่ในรายการพอร์ตของผม เพราะผมเลือกเฉพาะหุ้นในกิจการที่ผมต้องการเป็นเจ้าของ
...........
ผมยกตัวอย่าง UMS
ตอนที่ผมได้หุ้นจอง และขายไป ทางโบรกเกอร์โทรมาหาผมด้วยความตื่นเต้นว่า ผมขาย UMS ได้สูงที่สุดของภาคเลย เพราะคนอื่นขายทิ้งไปตั้งแต่ 13-14 บาท
ผมรอจนเห็นว่า UMS เริ่มนิ่ง ก็ซื้อกลับคืนมาทั้งหมดที่ราคา 11.90 บาท
แต่ที่ไหนได้ครับ มันหล่นลงมาเรื่อย ๆ จนตอนนี้ราคาอยู่ที่ 9.35
แต่ราคาเฉลี่ยของผม ( ผมช็อทพอร์ตตัวเองมาตลอด ) อยู่ที่ 9.60 ครับ และเอาเงินส่วนต่างดังกล่าวที่ได้มารอซื้อหุ้นอื่นเพิ่ม
...........
นี่เป็นสิ่งที่แนวทางนี้ช่วยผมไว้ จากต้นทุน 11.90 มาเหลือต้นทุนที่ 9.60 โดยไม่ต้องเพิ่มเงิน แต่กลับได้เงินส่วนต่างเพิ่มไว้รอซื้อหุ้นทบต้น
..........
ผมเองไม่เคยเดาตลาดหุ้น เพราะเดาอย่างไรก็เดาไม่ถูกครับ
............
บางครั้งน้องสาวผม โทรมาถามว่า พี่... พรุ่งนี้เซทจะเป็นงัย
ผมก็จะตอบไปว่า .... ไม่รู้จ้า ...... ถ้ารู้ก็รวยเละไปแล้ว
แต่ถ้าถามบ่อย ๆ ผมก็จะเริ่มหงุดหงิด และ ใส่อารมณ์ในน้ำเสียงว่า ..... อย่าเดาตลาด ..... ยิ่งเดา เราจะยิ่งพลาด .....
..................
เหตุที่ผมมักจะขายหุ้นตอนเซทเป็นลบ
เพราะขายตอนลบ โอกาสที่จะลงต่อก็มีสูง นั่นคือ ขายแล้วโอกาสซื้อกลับคืนได้จะมีสูง
แต่ถ้าขายตอนหุ้นขึ้น ขายแล้วอาจจะซื้อคืนไม่ได้
หุ้นขึ้นผมจึงไม่ค่อยขาย แต่ถ้าวันไหนแดง ผมก็จะเริ่มขาย
.........
ประสบการณ์อีกเรื่อง
SHIN-W1 ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 17.60
.............
เมื่อปีที่แล้ว ผมลองเล่นวิธี หุ้นขึ้นให้ขาย หุ้นลงให้ซื้อ
ผมมี SHIN-W1 อยู่ ตอนนั้นราคาประมาณ 4 บาท
พอหุ้นเริ่มขึ้น ผมก็ทะยอยขายทีละนิด ทีละนิด จนขายหมดเกลี้ยง ที่ราคาสูงสุดประมาณเกือบ 6 บาท
วันต่อๆมา มันวิ่งไป 8 บาท และ จากนั้นก็วิ่งไปถึง 14 บาทเลยครับ
ผมได้แต่นั่งมองตาละห้อย
ตั้งแต่นั้นมา หุ้นขึ้น ผมมักจะไม่ค่อยขาย แต่เมื่อเริ่มแดง ผมจึงจะเริ่มขาย และยิ่งลง ก็ยิ่งขาย
แต่วันหุ้นขึ้น ผมจะซื้อหุ้นซะเป็นส่วนใหญ่ ( โดยซื้อตามหุ้นที่เราเคยขายไป )
ผมจึงไม่ค่อยติดหุ้น และไม่ค่อยขายหมู
.............
อันนี้เป็นประสบการณ์เล่าสู่กันอ่านนะครับ
..............
มาคุยเรื่อง พ่อรวย ต่อดีกว่า
ผมชอบอ่านเรื่องของนักลงทุนหลาย ๆ ท่าน ทั้ง วอเรน บุฟเฟต .... ฟิลิป ฟิชเชอร์ .... โธมัส โรว์ ไพรซ์ .... จอห์น เทมเพิลตัน .... ปีเตอร์ ลินซ์ .... ทันตแพทย์ย. .... ดร.นิเวศน์ ..... ฯลฯ
และก็สรุปกับตัวเองว่า ผมเลือกที่จะลงทุนระยะยาวตลอดชีวิต ด้วยหุ้นดี ๆ แต่ .... ผมจะต้องปรับพอร์ตทุกวัน เพื่อผลทางกระแสเงินสดแฝง ที่จะช่วยให้ผมมีเงินสำหรับซื้อหุ้นทบต้นเข้าไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปอีกแม้แต่บาทเดียว
...........
ผมจึงเลือกทางแนวนี้ครับ เป้าหมายหลักคือ ลงทุนระยะยาว
............
เด่นศรี
จากคุณ : เด่นศรี  - [ 28 ก.ค. 47 17:22:53 ]
 ความคิดเห็นที่ 45 
หากผมเข้าใจคุณ @Ble ผิด ก็ขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วยครับ
เพราะผมตีความตามข้อความดังนี้ครับ จึงคิดไปว่าคุณ @Ble พยายามเข้าเรื่องวงใน
จาก คห. 31
ช่องว่างของตลาดหุ้น ในความเห็นผมก็คือ
คุณรู้จักวงในหรือเปล่า ซึ่งสรุปก็คือ การที่คุณรู้ข่าวสาร
ที่มี อธิพลต่อตลาดหุ้น ก็นั้นแหละครับ สุดท้ายก็คือ
คุณต้องมีอธิพลกับตลาดหุ้น ถึงจะเล่นหุ้นขาลงได้
อย่างมั่นใจ และไม่มีเสียเลย...
และจาก คห. 41
หรือไม่ก็ต้องรู้ผู้ที่จะกำหนดว่าหุ้นจะลงจะขึ้นเมื่อไหร่
ถ้าผมเข้าใจผิด ก็ขออภัยอีกครั้งครับ เพราะกระทู้นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การตีความในหนังสือ พ่อรวย ครับ
ขออภัยอีกครั้งหนึ่งครับ
.............
งั้นเราตัดเรื่องวงในไปนะครับ เพราะมันไม่เกี่ยวกัน
..........
ที่คุณ @Ble ถามเกี่ยวกับ เรื่อง 10 เปอร์เซนต์ นั้น ไม่ได้มาจากหนังสือไหนที่หรอกครับ แต่มาจากประสบการณ์ของผมเอง
ผมเคยลองขายครั้งละ 5 เปอร์เซนต์ ... 10 .... 15 .... 20 ..... 25 .... 30 ..... 50 ... และ 100 เปอร์เซนต์
แต่พบว่า ขายครั้งละ 10 เปอร์เซนต์ สามารถทำให้ผมอยู่ในตลาดหุ้นได้อย่างสบายใจที่สุดครับ
ดังนั้นเมื่อเพื่อน ๆ ถามผม ผมก็แนะนำในสิ่งที่ผมทำแล้วผมสบายใจที่สุดให้แก่เพื่อน ๆ ครับ
ไม่ทราบว่าคำตอบนี้ จะตรงใจคุณ @Ble หรือเปล่านะครับ แต่มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ
ทุกอย่างที่ผมพูดคุยด้วย มันมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง ส่วนเพื่อนจะเชื่อหรือไม่ จะทำตามหรือไม่ทำตาม เพื่อน ๆ ต้องตัดสินใจเองครับ
.............
ส่วนการตีความว่าหุ้นไหนเป็นหุ้นพื้นฐาน หรือหุ้นไหนเก็งกำไร ผมก็ตีความจาก
หุ้นในเซท 50 .... ผมตีความว่า เป็นหุ้นพื้นฐานดีครับ
นอกเหนือจากนั้น .... ผมตีความว่า เป็นหุ้นเก็งกำไรครับ
คำตอบนี้ตรงกับคำถามของคุณ @Ble หรือเปล่าครับ
.............
จาก คห. 43 ที่คุณ @Ble กล่าวว่า
...และสุดท้ายอย่างที่ปรากฏในหนังสือ ผู้ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น ไม่ได้หมายความว่าคือทุกคนที่เข้ามาลงทุนนี่ครับ .....
สำหรับอันนี้ ผมคงบอกในอีกแง่หนึ่งครับว่า ผู้ที่ปรากฎในหนังสือ ว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น ทุกท่านล้วนเคยล้มเหลว และ เคยผิดพลาดมาแล้วทั้งนั้น ทุกคน ..... แต่เค้าโตขึ้นมาได้เพราะเค้าเรียนรู้ แก้ไข ปรับปรุงการลงทุนของเค้า
นั่นคือ บางครั้ง หรือ บ่อยครั้ง เราต้องมองในอีกด้านของเหรียญ
เหรียญมีสองด้าน
หลายคนชอบมองว่า มันเสี่ยง จึงไม่กล้าลอง แทนที่จะมองว่า เค้ารวย เพราะเขากล้าเสี่ยงและเรียนรู้การจำกัดความเสี่ยง
หลายคนชอบมองว่า นักเล่นหุ้น 90 เปอร์เซนต์ในตลาดหุ้น ขาดทุน .... แต่ไม่มองว่า ทำไมอีก 10 เปอร์เซนต์ที่เหลือ เค้าถึงได้กำไร เค้าทำอย่างไร
หลายคนชอบบอกว่า ต้องเป็นรายใหญ่ ต้องรู้วงใน แต่ทำไมไม่มองว่า แล้วท่านทันตแพทย์ ย. ร่ำรวยขนาดนี้ ทั้ง ๆ ที่เริ่มต้นด้วยเงินไม่กี่แสนได้อย่างไร
มันมีมุมมอง 2 ด้านเสมอ อยู่ที่ว่า จะกล้ายอมรับในอีกด้านที่ค้านความรู้สึกของเราหรือเปล่า ถ้าเรากล้ายอมรับ เราก็จะโตขึ้น พัฒนาขึ้น
...........
ดังเช่นที่ผมบอกไว้แต่ต้นแล้วว่า ผมยึดหนังสือพ่อรวยนี้ เพราะเค้าสอนการลงทุนที่เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดา ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ และ หาแนวทางของตัวเองได้
หนังสือย้ำเสมอว่า ต้องวางแผน ต้องวางแผน .... ไม่ใช่การเดา การสุ่ม การคาดการณ์
หนังสือพ่อรวย ไม่ได้บอกว่า วิธีใดเป็นวิธีที่ถูกต้อง เพราะวิธีที่ถูกนั้น ล้วนแล้วแต่นิสัยของแต่ละท่าน แต่ไม่ว่าวิธีไหนก็แล้วแต่ คุณต้องวางแผนการลงทุน ยังงัยก็ต้องวางแผนการลงทุน
............
ถ้าคุณ @Ble มีคำถามอีก ถ้าผมตอบหรือ อธิบายได้ ผมจะพยายามครับ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะตรงตามที่คุณ @Ble ต้องการรึเปล่านะครับ แต่จะพยายามครับ
............
เด่นศรี
จากคุณ : เด่นศรี  - [ 28 ก.ค. 47 17:55:32 ]

 ความคิดเห็นที่ 46 
ผมอ่านมานาน แล้วรู้สึกทึ่งในความคิดของคุณ เด่นศรี
ผมสงสัยอยู่อย่างนึงครับ จากความเห็นที่ 33
ที่คุณเด่นศรี "ถ้าหากถามว่า ช่องว่างของตลาดหุ้น มีประโยชน์อะไรกับผม
คำตอบคือ
มันทำให้ผม ได้กำไรทันทีที่ซื้อหุ้นครับ ไม่ว่าหุ้นตัวไหนในโลก ( เน้น .... ในโลก ..... ) ( ซึ่งรับรองว่า แม้จะรู้วงใน ก็คงไม่สามารถทำได้กับหุ้นทุกตัวในโลกครับ แต่ การรู้ช่องว่างนี้ ทำให้สามารถทำเงินได้จากทุกการลงทุนในโลก ทีมีการเคลื่อนไหวของราคา เน้น ... ที่มีการเคลื่อนไหวของราคา )"
คุณ เด่นศรี บอกว่า ทำกำไร แต่แล้วทำไม ถึงต้องมาคอยซื้อถัวเฉลี่ยด้วยล่ะครับ เช่น ums ที่คุณ เด่นศรี ยกตัวอย่างมา
ที่ถามเพราะอยากทราบเป็น idea นะครับ
ขอบคุณครับ
จากคุณ : yellowman (yellowest)  - [ 28 ก.ค. 47 21:12:07 ]
 
ความคิดเห็นที่ 47
เรียนคุณเด่นศรี ..
"ถ้าพี่อาซ้อสี่ซื้อคืนไม่ได้ ก็จะยังไม่ได้กระแสเงินสดแฝงครับ แต่ไม่ต้องคิดมากครับ ถ้าพี่อาซ้อสี่รู้และเข้าใจเรื่อง ช่องว่างของตลาดหุ้น พี่จะไม่กลัวเลยว่าจะซื้อคืนไม่ได้ เพราะสามารถซื้อคืนได้ทุกเวลา อยู่ที่เราจะซื้อหรือยังแค่นั้นเองครับ"
"แต่ ... ผมจะไม่บอกเรื่องนี้ก่อน ผมจะบอกการแก้ปัญหาในอีกด้านหนึ่งให้ครับ ( ค่อย ๆ ทำไป )"
คุณเด่นศรีคะ ซ้อขอถามย้ำอีกคำว่า เวลาขายไป และซื้อคืน จำเป็นต้องเป็นวันเดียวกันมั้ย (short against port) บอกตรงๆ คือ ยังนึกไม่ออกว่า ถ้าซื้อไม่ทันในวันเดียวกัน .. เงินที่หายไปไม่เรียกว่าขาดทุน จริงๆ เหรอจ๊ะ...
หรือว่้า .. ด้วยวิธีนี้ โดยเฉพาะกับ BEC (ซึ่งมีส่วนต่างราคาระหว่าง 23-17 บาท แล้วเนี่ย.) เราจำเป็นที่จะต้อง.. มีการตัดขาดทุนตรงนี้ก่อน แล้วจึงได้กระแสเงินสดแฝงกลับมาเพื่อถัวกัน.. คือ อยากย้ำแนวทางให้เข้าใจชัดเจนก่อนจะเริ่มลงมือปฎิบัติน่ะค่า ... ไม่งั้นมันยังสับสนในใจค่ะ...
จากคุณ : อาซ้อสี่ค่า:) - [ 28 ก.ค. 47 23:03:24 A:202.133.161.99 X: ]

ความคิดเห็นที่ 48 
สำหรับคำถามของคุณ yellowest เป็นคำถามที่ตอบให้เข้าใจได้ค่อนข้างยาก แต่ผมจะลองพยายามอธิบายครับ
ผมลองยกตัวอย่างนะครับ
สมมุติผมซื้อห้องเช่ามาหลังหนึ่ง เก็บค่าเช่ามาได้ ค่าเช่าตัวนี้ ผมจะเรียกว่า กระแสเงินสด
แต่ปีต่อมา ห้องเช่านั้นราคาตกต่ำลง แต่ผมก็ยังได้ค่าเช่าอยู่แม้ห้องเช่านั้นจะราคาตก ผมเรียกค่าเช่าในระยะนี้ว่า กระแสเงินสดแฝง นะครับ
มาเปรียบกับหุ้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘