DSM concept ตอนที่ 4


DSM (3) – คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM


คุณสมบัติของนักลงทุนผู้ที่จะใช้วิธี DSM

1. ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว ระยะยาวในที่นี้คือ ตลอดชีวิต เงินลงทุนนี้จะต้องเป็นเงินเก็บจากเงินที่ต้องจ่ายให้ตัวเองอย่างน้อย 10% จากรายได้แต่ละครั้งและรวมส่วนเหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้วและเก็บมาจากรายจ่ายฟุ่มเฟือย (เช่น สุรา เบียร์ บุหรี่ เป็นต้น) และห้ามถอนเงินนี้มาใช้เป็นอันขาด เพราะถือว่าเป็นเงินลงทุนตลอดชีวิต ถ้าจะถอนได้ตามสัดส่วนกระแสเงินสดแฝงที่ได้รับเท่านั้น และสามารถให้ทรัพย์สินเป็นมรดกให้กับลูกหลานได้ หรือจะกล่าวว่าวิธี DSM ดีถึงชั่วลูกชั่วหลานก็ไม่ผิดแต่อย่างใด

2. ต้องมีแนวคิดในการสร้างรายได้จากพอร์ต ไม่ใช่กำไรจากพอร์ต โดยที่ไม่สนใจ มูลค่าพอร์ตที่ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงและสิ่งแรกที่ต้องทำคือแยกให้ออกก่อนว่า ความแตกต่างระหว่างทำกำไรส่วนต่างกับลงทุนเพื่อสร้างรายได้ ถ้าแยกได้แล้วจะลงทุนตามแนวทางนี้ได้สำเร็จ

3. อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายถึงความร่ำรวยมีเงินหลายร้อยล้านพันล้านบาท แต่หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มีอิสระที่จะทำสิ่งที่ต้องการทำ อิสรภาพทางการเงินไม่ได้วัดที่จำนวนเงินที่มี แต่วัดกันที่ "ใครมีเวลาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่ตนเองต้องการมากกว่ากัน"

4. ต้องมีวินัยในการลงทุน การตัดสินใจลงทุนด้วยวิธี DSM ถ้าหากเลิกกลางคัน จะเกิดความเสียหายมาก ถ้าเลิกก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ปี

5. ต้องมีเป้าหมายในอนาคต เป้าหมายนี้ไม่ใช่เงินจำนวนเท่าใด แต่เป้าหมายที่ต้องตั้งคือ "ฉันจะต้องได้รับเงินปันผลเท่าใดจึงจะพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน" เพื่อจะมีอิสรภาพทางการเงินในแบบที่ต้องการ

6. จิตใจต้องหนักแน่น มั่นคง ไม่วอกแวกกับเสียงทักของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน

7. ต้องมีเวลาดูแลพอร์ตอย่างเอาใจใส่

8. ต้องมีความสมัครใจด้วยตัวของนักลงทุนเอง ที่จะเลือกใช้แนวคิดDSM นี้ซึ่งไม่มีใครสามารถบังคับได้และถ้าพร้อมแล้วหลังจากศึกษาแนวคิดเข้าใจดีแล้วให้เริ่มสร้าง Model Trade ของแต่ละนักลงทุนเองได้เลย พร้อมกับสร้างหลักการตัววัดผลของความสำเร็จของแต่ละนักลงทุนเองโดยนำเอาตัวอย่างเบื้องต้นจากบทความแห่งนี้เป็นต้นแบบ

9.การลงทุนหุ้นวิธีDSM เสี่ยงหรือไม่ แต่ความเสี่ยงไม่ได้อยู่ที่การลงทุน แต่อยู่ที่การขาดความเข้าใจในแนวคิดของการลงทุนด้วยวิธีนี้ต่างหาก ซึ่งถ้าไม่เข้าใจถือว่าเสี่ยงมากที่สุดแทนต่างหาก แต่อย่างไรไม่มีอะไรในชีวิตที่ไม่มีความเสี่ยง แต่การลงทุนควรเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำเสมอดังนั้นการลงทุนหุ้นวิธีDSM จึงเป็นคำตอบ


สิ่งที่คุณจะได้จาก DSM และไปสู่อิสรภาพทางการเงิน

1. สามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับเจ้าของบริษัทที่คุณชื่นชอบตลอดไป
2. สามารถที่จะสร้างรายได้จากหุ้นแล้วได้รับกระแสเงินสดแฝงจากหุ้นทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี และตลอดไป
3. สามารถที่จะมีเงินปันผลที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตามจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องลงเงินเพิ่ม
4. สามารถที่จะมีเวลาว่างอย่างเหลือเฟือที่จะอยู่กับครอบครัว และทำประโยชน์ให้สังคม
5. สามารถที่จะมีสุขภาพจิตสดใส หุ้นขึ้นก็สุขใจ หุ้นตกก็ยิ้มแย้มแจ่มใส


ทำไมต้องมีอิสรภาพทางการเงินเพราะ

ชีวิตคนเราไม่ได้มีเวลามากมายนัก ทำไมจึงต้องเสียเวลาทั้งชีวิตทำงานเพื่อเงิน ทำไมไม่เรียนรู้วิธีใช้เงินและให้คนอื่นทำงานให้เราจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่มีความสำคัญกว่า


สิ่งที่สำคัญของชีวิตคือ

1. มีเวลาสำหรับครอบครัว 
2. มีเงินสำหรับอุทิศเพื่อการกุศลและโครงการที่สนับสนุน
3. มีโอกาสสร้างงานและความมั่นคงให้ชุมชน
4. มีเวลาและเงินเพื่อดูแลสุขภาพ
5. มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวรอบโลกกับครอบครัว


ผู้ที่ห้ามลงทุนแบบ DSM

1. นักเก็งกำไรหรือนักพนัน
2. นักลงทุนระยะสั้น
3. ผู้ปล่อยปะละเลย ไม่ดูแลพอร์ต
4. นักลงทุนที่ไม่เข้าใจแนวคิดDSM


ไม่มีเงิน ไม่มีเวลา ลงทุนแบบ DSM ได้หรือไม่

1. เงินที่ต้องใช้ในการลงทุนแบบ DSM อาจจะเริ่มต้นด้วยเงินเพียง 10,000 บาท (ถ้ายังไม่มีเงิน 10,000 บาทในเวลานี้ ให้ตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือยให้ได้เดือนละ 1,000 บาท ครบ 1 ปีก็มีเงินลงทุนแล้ว) ระหว่างที่เก็บออมอยู่นี้ ควรทดลองเทรดหุ้นในกระดาษ (หรือใน Excel) เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะลงทุนด้วยเงินจริง

2. ไม่มีเวลาดูหุ้นทั้งวัน - ดูแค่วันละครั้งอย่างน้อย แล้วตอนเย็นวางแผนสำหรับในวันรุ่งขึ้น หรือคุณจะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเวลาที่คุณมีได้ เช่น อาจดูหุ้นเป็นช่วงเวลาโดยให้มาร์เก็ตติ้ง โทรมารายงานหุ้นตามเวลา ดังนี้เป็นต้น 10.15-10.30, 12.15-12.30, 14.30-14.45, 16.15-16.30 น. วันละ 4 ครั้ง ก็น่าจะมากเพียงพอ หรือ อาจวันละ 2 หรือ 1 ครั้งก็ได้ โดยให้คิดว่าแต่ละครั้งที่ได้เห็นเป็นราคา ณ ตอนนั้น ถ้าช่วงเวลาต่อมาราคาต่ำว่า ก็ให้ถือว่าเป็นหุ้นแดง แต่ถ้าราคาสูงกว่าถึงว่าเป็นหุ้นเขียว แนะนำถ้าให้ดีจดราคาแต่ละครั้งด้วย ถ้าราคาต่ำกว่าช่วงเวลาก่อนหน้านี้ให้เขียนด้วยปากกาแดง แต่ถ้าราคาสูงกว่าก็เขียนด้วยปากกาน้ำเงินหรือเขียวก็ยิ่งดี

3. การลงทุนในหุ้นก็เหมือนคุณร่วมลงทุนกับกิจการของบริษัท ดังนั้นคุณจึงควรมีเวลาบ้างเพื่อที่จะดูว่าบริษัทของคุณมีพัฒนาการเป็นอย่างไร วันนี้ยังไม่มีเวลา แต่ถ้าตั้งใจจริง ใช้เวลาวันละครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว

4. ถ้าอย่างนั้นออกจากการทำงานประจำเลยดีไหม ขอแนะนำว่าให้ทำงานประจำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น พร้อมกับนำเงินออมมาเริ่มต้นการลงทุน อย่าเบื่องานประจำ แต่ให้แบ่งเวลามาเพื่อศึกษาเรื่องการลงทุนหุ้นวิธีDSM อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการดีกว่าและอย่างน้อยก็ควรมีรายได้ที่แน่นอนจากรายได้ประจำจากอาชีพหลักเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว เพราะถ้าทุ่มเทให้กับการเล่นหุ้นมากเกินไปจนงานหลักเสียหาย ขณะเดียวกันท่านก็ไม่สามารถสร้างรายได้จากหุ้น (กระแสเงินสดแฝง) ได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมด ท่านก็จะเสียหายถึงสองทาง

5. ถ้ามีเงิน แต่มีไม่มากพอ ขอลงทุนหุ้นด้วยเงินกู้Margin ดีหรือเปล่า ไม่ควรที่จะใช้เงินกู้ Margin เพราะต้องระวังเงื่อนไขของ Maintenance Margin ซึ่งจะถูกบังคับCall Margin เพื่อเพิ่มเงินค้ำประกันและอาจจะถูกบังคับForce Sale ได้อีกด้วย เมื่อตอนที่หุ้นตกตอนเป็นขาลง ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเองไม่มีเงินซื้อหุ้นกับที่ราคาต่ำว่าที่ขายไป ซึ่งไม่ควรเล่นเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้านักลงทุนท่านได้เป็นถึงระดับMaster แล้วสามารถบริหารเงินได้ดีและมีวิธีจัดการที่ดี ก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งเฉพาะนักลงทุนท่านนั้นเท่านั้น แต่ของเน้นย้ำว่านักลงทุนระดับ Basic ไม่ควรลงทุนหุ้นด้วยเงินกู้Margin ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตามที

6. เมื่อมั่นใจแล้วว่าจะลงทุนในวิธี DSM สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เลือกหุ้นที่จะลงทุนและต้องอยู่กับหุ้นตัวนี้อย่างน้อย 2 ปี

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างกระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี 5