DSM concept ตอนที่ 33
DSM (32) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร
การเพิ่มทุนของหุ้นในการลงทุนหุ้น DSM จะทำอย่างไรดี หัวข้อนี้ได้แรงบันดาลใจจากท่านอาจารย์ Minibar(หนึ่งในศิษย์เอก DSM)ได้พูดคุยใน MSN ว่าได้ไปจ่ายเงินเพิ่มทุนให้กับหุ้นตัวหนึ่งในราคาหุ้นละ 1.71 บาท(รู้หรือยังว่าหุ้นอะไร ถ้ายังติดตามต่อนะ) เลยได้เกิดข้อคิดอะไรบ้างอย่างทำให้ต้องเขียนกลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XR จะทำอย่างไรดี เพราะหลักการข้อหนึ่งของการลงทุนDSM คือไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในพอร์ตอีก แล้วใช้กระแสเงินสดแฝงของหุ้นตัวเองสร้างและสะสมหุ้นให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้กระแสเงินสดแฝงมากขึ้น เหมือนเงาที่ติดตามตัว(หุ้นมากขึ้น กระแสเงินสดแฝงมากขึ้นเช่นกัน)
เดือนแห่งความรัก เช้าวันนึ่งก่อนตลาดหุ้นเปิดเวลาประมาณ 09.36 น. ของวันที่ 3 ก.พ.48 หุ้น THL ได้ขึ้นเครื่องหมาย H ห้ามการซื้อขาย และปลด H เวลา 13.36 น. ของวันเดียวกัน ราคาเปิดของหุ้น 2.78 บาทเปิดมาก็ติดลบลงไปถึง 0.14 บาท (ราคาปิดวันที่ 2 ก.พ.48 คือ 2.92 บาท) ราคาสูงสุด 2.85 บาท ต่ำสุด 2.74 บาท ราคาปิด 2.76 บาท ได้มีคำถามว่าเกิด อะไรขึ้นตั้งแต่ เห็น H ห้ามซื้อขาย ได้รู้คำตอบว่า มีการเพิ่มทุนอย่างไม่สมเหตุผล จึงเป็นที่มาของคำถามว่า เราชาว DSMers จะทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าหุ้นมีการเพิ่มทุน(XR) และหุ้นที่เราถือประวัติ หรือผลประกอบการก็ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และเราก็ไม่มีเงินจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเสียด้วย เพราะเงินมีจำกัดจะทำอย่างไรดี ยิ่งเป็นนักลงทุนหุ้น DSM เริ่มลงทุนใหม่ หรือพอร์ตเล็ก ๆ แต่ถ้ามีเงินจากกระแสเงินสดแฝงจากตัวหุ้นเองสามารถที่จะซื้อเพิ่มทุนได้ ก็ให้มองข้ามวิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ได้เลย
กลยุทธ์นี้เมื่อหุ้นประกาศเพิ่มทุน แต่ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทำได้ดังนี้
1. ทำการขายหุ้นตัวนั้นออก ให้มากและเร็วที่สุดในวันที่รู้ข่าวประกาศเพิ่มทุน โดยยังขายตามแผน อาจจะขาย 10%, 20% , 50%, 100% อย่างไรก็ได้แล้วแต่จังหวะ และรอจนกว่าหุ้นเพิ่มทุนตัวนั้น ได้เข้ามาทำการซื้อขายในตลาดแล้วหรือซื้อในราคาที่เหมาะสมหลังเพิ่มทุนตามสัดส่วนแล้วน่าจะซื้อให้ต่ำว่าเราค่าเหมาะสมจะดีมากและรอจังหวะซื้อหุ้นคืนตอนหุ้นกำลังเขียว ๆ เข้าสูตร กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง หรือ
2. ทำการซื้อขายหุ้นตัวนั้น ตามแผนที่วางเอาไว้อย่างไม่หวั่นไหว แต่ยังอยู่ในเงื่อนไขไม่มีเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนและก็ไม่สามารถที่จะทำการหากระแสเงินสดแฝงจากหุ้นตัวมันเองในระยะเวลาก่อนขึ้นเครื่องหมาย XR ไม่มีเงินพอไปจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่ม แต่กรณีนี้มีความแตกต่างจากการเทรดหุ้นDSM ตามภาวะปกติ นั้นคือหลังจากที่เราได้ทำการตามแผนลงทุนหุ้น DSM แล้วได้หุ้นเพิ่มได้กระแสเงินสดแฝงเพิ่ม ให้ขายหุ้นออก 100%ของพอร์ต ก่อนวันที่ขึ้น XR เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มทุนหุ้น และไปรอรับหุ้นกลับหลังจากที่ลูกหุ้นได้เข้าทำการซื้อขายในตลาดแล้ว และซื้อตอนหุ้นเขียวจะขึ้น ให้เข้าซื้อหุ้นกลับ ก็จะได้กระเงินสดแฝง และจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น โดยที่ไม่ต้องใส่เงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ตหุ้นDSM สักบาท
ตามมาดูหุ้น THL กันนะ หลังจากประกาศเพิ่มทุนแล้วหุ้นตก ได้ข้อมูลว่า วันที่จะขึ้น XR วันที่ 9 มี.ค. 48 ในอัตราส่วน 4:1 @ 1.71 บาท หมายความว่า 4 หุ้นเดิมซื้อหุ้นใหม่ 1 หุ้นในราคา 1.71 บาท และวันจองจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่มวันที่ 24-30 มี.ค.48 ถ้าใครถือหุ้นถึงวันที่ 9 มี.ค.48 แต่ไม่จ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่ม ก็อดได้หุ้นใหม่ ตามสัดส่วนนะ
ดูราคาปิดวันที่ 8 มี.ค.48 ราคา 2.42 บาท และราคาเปิดของวันที่ 9 มี.ค. 48 อยู่ที่ 2.44 บาท สูงสุด 2.56 บาท ต่ำสุด 2.40 บาท ราคาปิด 2.40 บาท
ลองมาคำนวณหาราคาที่เหมาะสมหลังจากเพิ่มทุนกันดีกว่านะ 4 หุ้นต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคา 1.71 บาท จะได้ราคาเฉลี่ยเท่าไร (เอาราคาปิดของวันที่ 9 มี.ค.48 มาคิด 2.42 บาท) ได้ดังต่อไปนี้
ราคาหุ้นที่เหมาะสม= (4x2.42+1.71x1)/5=2.28 บาท ดังนั้นได้ราคาที่เหมาะสมที่ 2.28 บาท ถ้าเห็นราคาตลาดหลังขึ้นเครื่องหมาย XR แล้วราคาหุ้นได้เท่ากับ 2.28 บาทถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม แต่ถ้าได้ต่ำว่า 2.28 บาทก็ยิ่งดี
หลังจากได้นั้นวันที่ลูกหุ้นเข้าทำการซื้อขาย เป็นจำนวน 151,387,893 หุ้น เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 48 มาดูผลของราคากันนะ ราคาเปิด 2.04 บาท สูงสุด 2.20 บาท ต่ำสุด 2.00 บาท ราคาปิด 2.10 บาท
มาลองเปรียบว่า ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.48 ราคาปิด 2.76 บาท ถึงวันที่ก่อนขึ้น XR ราคาปิดวันที่ 8 มี.ค.48 ผลต่าง 0.34 บาท (2.76 -2.42) ติดเป็น 12.31% ภายในระยะเวลาหนึ่ง เดือน (3 ก.พ.-8มี.ค.48) เราสามารถสร้างกระแสเงินสดแฝงเท่ากับ12.31 % ได้หรือไม่
มาลองเปรียบว่า ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.48 ราคาปิด 2.76 บาท ถึงวันที่ ลูกหุ้นใหม่เข้าเทรดในตลาดเป็นอย่างไรบ้าง ผลต่าง 0.66 บาท (2.76-2.10) ติดเป็น 23.91%
มาดูซิว่าถ้าเราทำตามวิธีการที่ 1 ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ภายใต้สมมุติฐานว่า ขายหุ้น 100% ราคาปิด 2.76 บาท และซื้อคืนวันแรกที่หุ้นเทรดในตลาด ที่ราคาปิด 2.10 บาทได้ผลต่าง 0.66 บาท คิดเป็น 23.91% จะได้กระแสเงินสดแฝงภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนครึ่งเท่านั้น
มาดูวิธีการที่ 2 กันนะทำตามแผนจะได้กระแสเงินสดแฝงเท่าใด ไม่ทราบได้ ในระยะเวลาหนึ่งเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับการขายที่ราคาปิดของวันที่ 3 ก.พ.48 จนถึง ราคาปิด ของวันที่ 8 มี.ค. 48 ซึ่งได้ ผลต่าง 0.34 บาท ติดเป็น 12.31% ซึ่งไม่แน่ว่าการทำตามแผนการจะได้ผลตอบแทนเท่ากับหรือมากกว่า 12.31% ได้หรือไม่ และขายออกวันที่ 8 มี.ค.48 ณ ราคาปิดที่ 2.42 บาท มาซื้อหุ้นคืนที่ 20 เม.ย.48 ราคาปิด 2.10 บาท ผลต่าง 0.32 บาทคิดเป็น 13.22 % ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
ดังนี้ก็ให้ชาว DSMers ตัดสินใจว่าจะเลือกวิธีไหนดี อันนี้เป็นการยกตัวอย่างหุ้นตัวนี้นะครับ หุ้นตัวอื่นๆอาจไม่ได้เป็นแบบนี้ก็ได้
แต่ถ้านักลงทุน DSMer มีเงินมากพอที่จะเพิ่มทุน ก็คงไม่มีปัญหาอะไรทำตามแผน แต่ก็อีก คนชั่งคิดไปเรื่อย ถ้าเราทำตามแผนการลงทุนในหุ้น DSM ไปเรื่อยๆจนวันที่ลูกหุ้นใหม่เข้าตลาด กับเมื่อเปรียบเทียบการที่เราทำตามแผนไปจะถึงวันที่ขึ้น XR วันที่ 9 มี.ค.48 แล้วขายหุ้น ณ ราคาปิด (2.40) ตลาดหมดและแล้วไปรับหุ้นกลับวันที่ลูกหุ้นเข้าเทรดอันไหนแบบไหนน่าจะได้กระแสเงินสดแฝงมากกว่ากัน หรือ แบบไหนจะได้จำนวนหุ้นมากกว่ากัน ฝากเป็นการบ้าน
ก็ยังมีการเพิ่มทุน ทั้งลดพาร์ ของหุ้นบางตัวที่ชั่งแต่ต่างจากหุ้น THL เหลือเกิน และยังทั้งร้อนทั้งแรง ใครๆก็ต้องพูดถึง นั้นคือ หุ้น TPI นั้นเอง แต่สังเกตให้ดีถึงจะมีอะไรที่แต่ต่างกันอย่างกับสวรรค์ (TPI) กับนรก (THL), หรือมุมตกกระทบ (THL) กับมุมสะท้อน (TPI) แต่อย่างน้อยๆถ้าไม่มองข้ามไป ก็มีความเหมือนที่แตกต่างนะ ทายดูซิ ว่าคืออะไร เป็นหุ้นที่ขึ้นต้นด้วย T เหมือนกัน และเป็นหุ้นอยู่กลุ่ม Rehabilitation เหมือนกัน แต่TPI กำลังจะย้ายไปเทรดในกลุ่มพลังงานแล้วเหมือนขึ้นจากขุมนรกที่ 18 ไปสู่สวรรค์อย่างไรอย่างนั้นเลย
หุ้น TPI เพิ่มทุนพร้อมลดพาร์จาก 10 มาเป็นพาร์ 1 และ น่าจะ 1:3 ราคา 3.30 บาท คือ 1 หุ้นเดิมได้ 3 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 3.30 บาท
ตัวอย่างการคำนวณสมมุติ เอาราคาปิดวันที่ 20 เม.ย.48 ที่ 10.00 บาท
ราคาที่เหมาะสมหลังเพิ่มทุน= (10 +3x3.5)/4=4.975 บาท แล้วอาจได้เห็น TPI กลายเป็น ATC ภาค 2 หรือ อาจได้เห็นราคายืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับ TOP ได้เช่นกัน แต่อย่าลืมว่าไม่คาดเดาตลาด
การเพิ่มทุนของหุ้นในการลงทุนหุ้น DSM จะทำอย่างไรดี หัวข้อนี้ได้แรงบันดาลใจจากท่านอาจารย์ Minibar(หนึ่งในศิษย์เอก DSM)ได้พูดคุยใน MSN ว่าได้ไปจ่ายเงินเพิ่มทุนให้กับหุ้นตัวหนึ่งในราคาหุ้นละ 1.71 บาท(รู้หรือยังว่าหุ้นอะไร ถ้ายังติดตามต่อนะ) เลยได้เกิดข้อคิดอะไรบ้างอย่างทำให้ต้องเขียนกลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XR จะทำอย่างไรดี เพราะหลักการข้อหนึ่งของการลงทุนDSM คือไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในพอร์ตอีก แล้วใช้กระแสเงินสดแฝงของหุ้นตัวเองสร้างและสะสมหุ้นให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้กระแสเงินสดแฝงมากขึ้น เหมือนเงาที่ติดตามตัว(หุ้นมากขึ้น กระแสเงินสดแฝงมากขึ้นเช่นกัน)
เดือนแห่งความรัก เช้าวันนึ่งก่อนตลาดหุ้นเปิดเวลาประมาณ 09.36 น. ของวันที่ 3 ก.พ.48 หุ้น THL ได้ขึ้นเครื่องหมาย H ห้ามการซื้อขาย และปลด H เวลา 13.36 น. ของวันเดียวกัน ราคาเปิดของหุ้น 2.78 บาทเปิดมาก็ติดลบลงไปถึง 0.14 บาท (ราคาปิดวันที่ 2 ก.พ.48 คือ 2.92 บาท) ราคาสูงสุด 2.85 บาท ต่ำสุด 2.74 บาท ราคาปิด 2.76 บาท ได้มีคำถามว่าเกิด อะไรขึ้นตั้งแต่ เห็น H ห้ามซื้อขาย ได้รู้คำตอบว่า มีการเพิ่มทุนอย่างไม่สมเหตุผล จึงเป็นที่มาของคำถามว่า เราชาว DSMers จะทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าหุ้นมีการเพิ่มทุน(XR) และหุ้นที่เราถือประวัติ หรือผลประกอบการก็ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และเราก็ไม่มีเงินจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเสียด้วย เพราะเงินมีจำกัดจะทำอย่างไรดี ยิ่งเป็นนักลงทุนหุ้น DSM เริ่มลงทุนใหม่ หรือพอร์ตเล็ก ๆ แต่ถ้ามีเงินจากกระแสเงินสดแฝงจากตัวหุ้นเองสามารถที่จะซื้อเพิ่มทุนได้ ก็ให้มองข้ามวิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้ได้เลย
กลยุทธ์นี้เมื่อหุ้นประกาศเพิ่มทุน แต่ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ทำได้ดังนี้
1. ทำการขายหุ้นตัวนั้นออก ให้มากและเร็วที่สุดในวันที่รู้ข่าวประกาศเพิ่มทุน โดยยังขายตามแผน อาจจะขาย 10%, 20% , 50%, 100% อย่างไรก็ได้แล้วแต่จังหวะ และรอจนกว่าหุ้นเพิ่มทุนตัวนั้น ได้เข้ามาทำการซื้อขายในตลาดแล้วหรือซื้อในราคาที่เหมาะสมหลังเพิ่มทุนตามสัดส่วนแล้วน่าจะซื้อให้ต่ำว่าเราค่าเหมาะสมจะดีมากและรอจังหวะซื้อหุ้นคืนตอนหุ้นกำลังเขียว ๆ เข้าสูตร กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง หรือ
2. ทำการซื้อขายหุ้นตัวนั้น ตามแผนที่วางเอาไว้อย่างไม่หวั่นไหว แต่ยังอยู่ในเงื่อนไขไม่มีเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนและก็ไม่สามารถที่จะทำการหากระแสเงินสดแฝงจากหุ้นตัวมันเองในระยะเวลาก่อนขึ้นเครื่องหมาย XR ไม่มีเงินพอไปจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่ม แต่กรณีนี้มีความแตกต่างจากการเทรดหุ้นDSM ตามภาวะปกติ นั้นคือหลังจากที่เราได้ทำการตามแผนลงทุนหุ้น DSM แล้วได้หุ้นเพิ่มได้กระแสเงินสดแฝงเพิ่ม ให้ขายหุ้นออก 100%ของพอร์ต ก่อนวันที่ขึ้น XR เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มทุนหุ้น และไปรอรับหุ้นกลับหลังจากที่ลูกหุ้นได้เข้าทำการซื้อขายในตลาดแล้ว และซื้อตอนหุ้นเขียวจะขึ้น ให้เข้าซื้อหุ้นกลับ ก็จะได้กระเงินสดแฝง และจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น โดยที่ไม่ต้องใส่เงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ตหุ้นDSM สักบาท
ตามมาดูหุ้น THL กันนะ หลังจากประกาศเพิ่มทุนแล้วหุ้นตก ได้ข้อมูลว่า วันที่จะขึ้น XR วันที่ 9 มี.ค. 48 ในอัตราส่วน 4:1 @ 1.71 บาท หมายความว่า 4 หุ้นเดิมซื้อหุ้นใหม่ 1 หุ้นในราคา 1.71 บาท และวันจองจ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่มวันที่ 24-30 มี.ค.48 ถ้าใครถือหุ้นถึงวันที่ 9 มี.ค.48 แต่ไม่จ่ายเงินค่าหุ้นเพิ่ม ก็อดได้หุ้นใหม่ ตามสัดส่วนนะ
ดูราคาปิดวันที่ 8 มี.ค.48 ราคา 2.42 บาท และราคาเปิดของวันที่ 9 มี.ค. 48 อยู่ที่ 2.44 บาท สูงสุด 2.56 บาท ต่ำสุด 2.40 บาท ราคาปิด 2.40 บาท
ลองมาคำนวณหาราคาที่เหมาะสมหลังจากเพิ่มทุนกันดีกว่านะ 4 หุ้นต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคา 1.71 บาท จะได้ราคาเฉลี่ยเท่าไร (เอาราคาปิดของวันที่ 9 มี.ค.48 มาคิด 2.42 บาท) ได้ดังต่อไปนี้
ราคาหุ้นที่เหมาะสม= (4x2.42+1.71x1)/5=2.28 บาท ดังนั้นได้ราคาที่เหมาะสมที่ 2.28 บาท ถ้าเห็นราคาตลาดหลังขึ้นเครื่องหมาย XR แล้วราคาหุ้นได้เท่ากับ 2.28 บาทถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม แต่ถ้าได้ต่ำว่า 2.28 บาทก็ยิ่งดี
หลังจากได้นั้นวันที่ลูกหุ้นเข้าทำการซื้อขาย เป็นจำนวน 151,387,893 หุ้น เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 48 มาดูผลของราคากันนะ ราคาเปิด 2.04 บาท สูงสุด 2.20 บาท ต่ำสุด 2.00 บาท ราคาปิด 2.10 บาท
มาลองเปรียบว่า ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.48 ราคาปิด 2.76 บาท ถึงวันที่ก่อนขึ้น XR ราคาปิดวันที่ 8 มี.ค.48 ผลต่าง 0.34 บาท (2.76 -2.42) ติดเป็น 12.31% ภายในระยะเวลาหนึ่ง เดือน (3 ก.พ.-8มี.ค.48) เราสามารถสร้างกระแสเงินสดแฝงเท่ากับ12.31 % ได้หรือไม่
มาลองเปรียบว่า ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.48 ราคาปิด 2.76 บาท ถึงวันที่ ลูกหุ้นใหม่เข้าเทรดในตลาดเป็นอย่างไรบ้าง ผลต่าง 0.66 บาท (2.76-2.10) ติดเป็น 23.91%
มาดูซิว่าถ้าเราทำตามวิธีการที่ 1 ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ภายใต้สมมุติฐานว่า ขายหุ้น 100% ราคาปิด 2.76 บาท และซื้อคืนวันแรกที่หุ้นเทรดในตลาด ที่ราคาปิด 2.10 บาทได้ผลต่าง 0.66 บาท คิดเป็น 23.91% จะได้กระแสเงินสดแฝงภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนครึ่งเท่านั้น
มาดูวิธีการที่ 2 กันนะทำตามแผนจะได้กระแสเงินสดแฝงเท่าใด ไม่ทราบได้ ในระยะเวลาหนึ่งเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับการขายที่ราคาปิดของวันที่ 3 ก.พ.48 จนถึง ราคาปิด ของวันที่ 8 มี.ค. 48 ซึ่งได้ ผลต่าง 0.34 บาท ติดเป็น 12.31% ซึ่งไม่แน่ว่าการทำตามแผนการจะได้ผลตอบแทนเท่ากับหรือมากกว่า 12.31% ได้หรือไม่ และขายออกวันที่ 8 มี.ค.48 ณ ราคาปิดที่ 2.42 บาท มาซื้อหุ้นคืนที่ 20 เม.ย.48 ราคาปิด 2.10 บาท ผลต่าง 0.32 บาทคิดเป็น 13.22 % ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
ดังนี้ก็ให้ชาว DSMers ตัดสินใจว่าจะเลือกวิธีไหนดี อันนี้เป็นการยกตัวอย่างหุ้นตัวนี้นะครับ หุ้นตัวอื่นๆอาจไม่ได้เป็นแบบนี้ก็ได้
แต่ถ้านักลงทุน DSMer มีเงินมากพอที่จะเพิ่มทุน ก็คงไม่มีปัญหาอะไรทำตามแผน แต่ก็อีก คนชั่งคิดไปเรื่อย ถ้าเราทำตามแผนการลงทุนในหุ้น DSM ไปเรื่อยๆจนวันที่ลูกหุ้นใหม่เข้าตลาด กับเมื่อเปรียบเทียบการที่เราทำตามแผนไปจะถึงวันที่ขึ้น XR วันที่ 9 มี.ค.48 แล้วขายหุ้น ณ ราคาปิด (2.40) ตลาดหมดและแล้วไปรับหุ้นกลับวันที่ลูกหุ้นเข้าเทรดอันไหนแบบไหนน่าจะได้กระแสเงินสดแฝงมากกว่ากัน หรือ แบบไหนจะได้จำนวนหุ้นมากกว่ากัน ฝากเป็นการบ้าน
ก็ยังมีการเพิ่มทุน ทั้งลดพาร์ ของหุ้นบางตัวที่ชั่งแต่ต่างจากหุ้น THL เหลือเกิน และยังทั้งร้อนทั้งแรง ใครๆก็ต้องพูดถึง นั้นคือ หุ้น TPI นั้นเอง แต่สังเกตให้ดีถึงจะมีอะไรที่แต่ต่างกันอย่างกับสวรรค์ (TPI) กับนรก (THL), หรือมุมตกกระทบ (THL) กับมุมสะท้อน (TPI) แต่อย่างน้อยๆถ้าไม่มองข้ามไป ก็มีความเหมือนที่แตกต่างนะ ทายดูซิ ว่าคืออะไร เป็นหุ้นที่ขึ้นต้นด้วย T เหมือนกัน และเป็นหุ้นอยู่กลุ่ม Rehabilitation เหมือนกัน แต่TPI กำลังจะย้ายไปเทรดในกลุ่มพลังงานแล้วเหมือนขึ้นจากขุมนรกที่ 18 ไปสู่สวรรค์อย่างไรอย่างนั้นเลย
หุ้น TPI เพิ่มทุนพร้อมลดพาร์จาก 10 มาเป็นพาร์ 1 และ น่าจะ 1:3 ราคา 3.30 บาท คือ 1 หุ้นเดิมได้ 3 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ 3.30 บาท
ตัวอย่างการคำนวณสมมุติ เอาราคาปิดวันที่ 20 เม.ย.48 ที่ 10.00 บาท
ราคาที่เหมาะสมหลังเพิ่มทุน= (10 +3x3.5)/4=4.975 บาท แล้วอาจได้เห็น TPI กลายเป็น ATC ภาค 2 หรือ อาจได้เห็นราคายืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับ TOP ได้เช่นกัน แต่อย่าลืมว่าไม่คาดเดาตลาด