DSM concept ตอนที่ 25

DSM (24) – กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร


กระแสเงินสดแฝง (Phantom cash flow) คือการลดค่าของทรัพย์สิน (หุ้น) ที่เราถือครอง และได้ กระแสเงินสดออกมาจากทรัพย์สิน (หุ้น) โดยที่ยังถือครองทรัพย์สินนั้นอยู่ เหมือนคำกล่าวว่า “กำไรเมื่อซื้อ ไม่ใช่กำไรเมื่อขาย” เพราะการรอให้ราคาหุ้นสูงขึ้นถือว่าช้ามากและเสี่ยงมาก

ถ้าเปรียบเทียบได้กับเรามีอสังหาริมทรัพย์(หุ้น)ให้เช่า แล้วเก็บค่าเช่าทุกเดือน(กระแสเงินสดแฝงเก็บค่าเช่าทุกวัน) โดยที่เรายังเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์(หุ้น)นั้นอยู่ จะเห็นได้ว่า อัตราความเร็วของหุ้นที่ให้เช่าสามารถเก็บค่าเช่าทุกวันย่อมได้เร็วกว่าอสังหาริมทรัพย์ที่เก็บได้ทุกเดือน ดังนั้นหุ้นให้ผลตอบแทนที่สูงมากว่าอสังหาริมทรัพย์ แต่อย่างไรเราก็ไม่สามารถที่จะมีแต่หุ้นได้อย่างเดียวแล้วจะทำอย่างไรดี ถ้าเราอยากได้อสังหาริมทรัพย์ อยากมีธุรกิจต่างๆ เพื่อจะได้สร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง และสิ่งของมีค่าอื่นที่เป็นทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดแฝงได้ แต่ก็มีค่าทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ดังต่อไปนี้

หลังจากได้กระแสเงินสดแฝงแล้วเอาไปทำอะไรดี แบ่งอย่างไรดี
แบ่ง ได้ เป็น % ตามสัดส่วนดังนี้

1.  50% นำไปลงทุนซื้อหุ้นตัวเดิมหรือหุ้นตัวใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มกระแสเงินสดแฝง
2.  25% นำไปเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนตัว แต่ละวัน แต่ละเดือน ถ้าได้มากพอหรือว่ามากกว่าเงินประจำเดือน ก็สามารถออกจากการทำงานประจำได้ แล้วออกมาทำธุรกิจให้เช่าหุ้น อย่างเต็มตัวได้เลย
3.  25% นำไปเป็นเงินสำรองหนี้ ส่วนนี้เรียกว่า สำคัญมาก ถึงมากที่สุดได้เลย เพราะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาล อย่างไม่มีขีดจำกัดใด ๆ จากเงินส่วนนี้ แบ่งเป็นประโยชน์ตามความสำคัญความจำเป็นดังนี้
       3.1 ดึงเงินต้นที่ลงทุนออกจากพอร์ตหุ้น ถ้าได้ครบตามจำนวนเงินเริ่มต้นที่ลงทุน หมายความว่า พอร์ตหุ้นทั้งพอร์ตเป็นของฟรีทั้งหมด เน้นว่าของฟรีทั้งหมดหลังจากเอาเงินต้นออกหมดแล้ว
       3.2 นำไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เช่น คอนโดให้เช่า บ้านให้เช่า อาคารพาณิชย์ให้เช่า หอพักให้เช่า เป็นต้น เพื่อสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง
       3.3 นำไปลงทุนสร้างธุรกิจ เพื่อสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง
       3.4 นำไปลงทุนในตราสารหนี้ เช่น ตั๋วคงคลัง พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เป็นต้น
       3.5 นำไปลงทุนในตราสารทุน ในหุ้นที่มีเงินปันผลดี แต่ขาดสภาพแคล่ง และต้องการเป็นเจ้าของบริษัทนั้น เช่น ประกัน (AYUD, BKI, PHA, TIP) หรือ โรงพยาบาล (BGH, BH, AHC, KDH) เป็นต้น
       3.6 นำไปลงทุนกองทุนรวมแบบต่าง ๆ เช่น RMF, LTF ซึ่งยังช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย ถ้ายังต้องเสียภาษีอยู่ แต่ถ้าไม่ต้องลดหย่อน ลงทุนกองทุนรวมแบบอื่นๆ ได้เช่นกัน
       3.7 นำไปลงทุนในประกันชีวิตมี 4 ประเภท ดังนี้ แบบที่มีกำหนดระยะเวลา, ตลอดชีพ, ออมทรัพย์, รายได้ประจำ แต่ให้เน้นที่ออมทรัพย์ และยังได้ประโยชน์จากลดหย่อนภาษีเงินได้อีก ไม่เกิน 50,000 บาทต่อปี และต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป ถ้าต้องการลดหย่อนภาษีอยู่
       3.8 นำไปลงทุนในสลากออมสิน ซึ่งต้องซื้ออย่างน้อย 10,000 เลข จะทำให้ได้รับรางวัล เลขท้าย 4 ตัว ทุกงวด ส่วนรางวัลอื่น ถือว่าเป็นของแถม ถ้าได้นะ
       3.9 นำไปลงทุนฝากแบงก์ประจำทุก 3, 6, 12, 24 เดือนกินดอกเบี้ย (ถ้าได้ดอกเบี้ยสูงมากอัตราเงินเฟ้อ) ถ้าต่ำว่าเงินเฟ้อ ก็ให้พิจารณาฝากเท่าที่จำเป็นเพราะอย่างไรต้องมีเงินฝากธนาคารเพื่อความมั่งคงและความสะดวกสบาย หรือ อาจเป็นเงินประกันตัวเวลาโดนตำรวจจับเวลากลางคืนหรือวันหยุดราชการ เพราะตอนนั้นคงไม่มีตำรวจที่ไหนรับใบหุ้นเป็นหลักค้ำประกันนะแน่นอน
       3.10 นำไปลงทุนทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ เช่น ทองคำ อัญมณี (เพชร พลอย ฯลฯ) เครื่องประดับ ภาพเขียน พระเครื่อง โบราณวัตถุ แสตมป์ เป็นต้น ซึ่งมีคุณค่าด้านทางจิตใจและจิตวิญญาณเป็นหลักสำคัญ ถึงจะไม่ได้มีกระแสเงินสดหรือกระแสเงินสดแฝงก็ตามที
       3.11 นำไปลงทุนสร้างบุญไว้ชาตินี้และชาติหน้า เช่น สร้างโรงเรียน สร้างมหาลัย สร้างห้องสมุด สร้างวัด สร้างโบสถ์ สร้างมูลนิธิเพื่อการศึกษา เพื่อเด็ก เพื่อคนชรา เพื่อคนป่วย เพื่อพระภิกษุป่วย เพื่อสัตว์ร่วมโลก เป็นต้น เพราะว่า คนเราตายไป ไม่สามารถนำทรัพย์สินติดตัวไปได้ แต่มี 2 สิ่งนี้ที่นำติดตัวไปได้คือ กรรมดี (บุญ) กรรมไม่ดี (บาป) เหมือนคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ว่า “เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ สู้เป็นคนที่มีคุณค่าไม่ได้”  แต่ถ้าเราเป็นคนที่ประสบความสำเร็จและเป็นคนที่มีคุณค่าต่อตัวเอง, สังคม, ประเทศชาติ, ต่อโลก ย่อมเป็นสุดยอดปรานารถทางโลก ถ้าเราฝันให้ไกล ฝันให้กว้าง เพิ่มขนาดความฝัน ขยายกรอบความคิด ย่อมไปได้ไกลจนทำให้ฝันกลายเป็นจริง “ฝันให้สูงสุด แต่อย่าหยุดเมื่อผิดหวัง” และ “ผู้แพ้ใช้เหตุที่แพ้มาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะแพ้ต่อไป แต่ผู้ชนะใช้เหตุที่แพ้มาเป็นเหตุผลที่จะต้องชนะ” เหมือนกับ “ผู้แพ้ใช้วิกฤตเป็นข้อแก้ตัว ผู้ชนะใช้วิกฤตเป็นโอกาส” มีคำถามว่า ทำอย่างไร ถึงจะทำให้ทางราชการ ให้ชื่อถนนที่บ้านเราตั้งอยู่เป็นชื่อสกุลของเราได้อย่างไร

นักลงทุนมืออาชีพต้องรู้สามสิ่งคือ เมื่อใดที่จะเข้าสู่ตลาด เมื่อใดที่ควรออกจากตลาด และ จะเอาเงินของเขาออกไปจากตลาดได้อย่างไร มีคติของนักพนัน ว่า “อย่านับเงินของคุณเวลาที่คุณกำลังนั่งอยู่ที่โต๊ะพนัน” เป้าหมายของเกมคือนำเงินของคุณออกไปจากโต๊ะและยังคงอยู่ในเกมนักพนันและนักลงทุนมืออาชีพต้องการเล่นด้วยเงินของคนอื่น

ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบกับเกมที่จะต้องเอาเงินออกจากตลาดและยังคงอยู่ในตลาดหุ้นโดยเล่นด้วยเงินของคนอื่นหรือของตลาดหุ้น ในวิธีของ DSM นั้นคือ เงินกระแสเงินสดแฝง ส่วน 25% ของเงินสำรองหนี้ ซึ่งเป็นทางออกของการเอาเงินออกจากตลาดหุ้นแล้วยังคงอยู่ในตลาดหุ้นและยังเล่นหุ้นด้วยเงินของคนอื่น ๆ โดยต้องอาศัยอัตราการหมุนเวียนของเงิน หรือพูดอีกอย่างว่า ยิ่งมีเงินของคุณอยู่ในการลงทุนมากเท่าไร ผลตอบแทนจากการลงทุนยิ่งต่ำลงเท่านั้น ยิ่งเงินของคุณอยู่ในการลงทุนน้อยเท่าไรและคุณใช้เงินของคนอื่นมากขึ้น ผลตอบแทนก็จะสูงตามไปด้วยเท่านั้น พวกเราชาว DSMers ขอให้เอาเงินของเราเองออกจากตลาดหุ้นให้เร็วที่สุด และยังคงเล่นหุ้นด้วยเงินคนอื่น ตอนนั้นจะเข้าใจว่าเล่นหุ้นด้วยเงินฟรีเป็นอย่างไร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างกระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี 5