DSM concept ตอนที่ 20

DSM (19) – เปรียบเทียบ VI กับ DSM แบบถึงลูกถึงหุ้น


บทนี้ได้เน้นการเปรียบเทียบ VI กับ DSM เจาะลึกถึงก้นขั้วหัวใจ แบบถึงลูกถึงหุ้นโดยเปรียบเทียบเป็นข้อๆไป ดังต่อไปนี้

1.การมองและวิธีคิด
VI… "ไม่เล่นหุ้น" ข่าวดีปล่อย ข่าวร้ายซื้อ เป็นการสวนกระแสแบบพิจารณารอบคอบ เพราะเข้าใจอย่างดีว่าหุ้นตก แค่เพียงราคาในตลาดตกชั่วคราว แต่ถ้าบริษัทนั้นๆ มีความสามารถในการแข่งขันเชิงยั่งยืน (ส่วนต่างกำไรดีและการหมุนเวียนสินค้าคงคลังมีสภาพคล่อง) หมายถึงเราได้ของดีราคาถูก เราหาประโยชน์จากตลาด ไม่ยอมให้อารมณ์ตลาดมาชักนำ ต่างจากคนทั่วไป ที่ดูราคาเฉพาะกราฟหุ้น เพราะราคาหุ้นที่ผันผวนส่วนใหญ่เกิดจากจินตนาการในทางผิดๆ โดยเฉพาะเน้นไปทางร้าย ไม่ใช่ปัญหาธุรกิจ
DSM… มองหุ้นที่ถือและครอบครองเสมือนเป็นทรัพย์สิน ซึ่งต้องการสร้างรายได้จากทรัพย์สินนั้นๆ โดยได้รับกระแสเงินสดแฝงเปรียบเสมือนเก็บค่าเช่าจากทรัพย์สินชิ้นนั้นๆ ต้องเริ่มจากความเข้าใจในการลงทุน จะทำให้เกิดความคิดในการลงทุนที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้การลงทุนในหุ้นตามแนวทางนี้ และก็จะได้รับผลของการลงทุนอย่างคุ้มค่า อย่างต่อเนื่องและระยะยาวตลอดไปเรื่อย ทำให้เห็นว่าหุ้นตกก็ยิ้มได้  และหุ้นขึ้นก็ยิ่งยิ้มได้ ดังนั้นยิ้มได้ทั้งสองทางไม่ว่าจะขึ้นหรือจะลง

2.ขาขึ้น
VI…ปล่อยให้ port โต ระยะยาว เก็บไปจนแก่ มีความสุขที่ทำได้
DSM…ปล่อยให้ port โต ขายตามแผนที่วางไว้ได้รับกระแสเงินสดแฝงมากขึ้น มีความสุขเช่นเดียวกัน

3. ขาลง
VI…เก็บให้เยอะที่สุด โดยเฉพาะเมื่อราคาตก รีบเข้าไปเก็บเพิ่มหุ้น เป็นโอกาสวิเศษ ที่จะรีบวิ่งไล่เก็บสะสมของดีไว้ใน port
DSM…ขาย short ทีละ step แล้วจับคู่ซื้อคืน ซื้อราคาถูกกว่าที่ขายเท่ากับได้กระแสเงินสดแฝง (Phantom cash flow) นำกลับมาซื้อสะสมจำนวนหุ้นเพิ่ม การไม่เอาเงินลงทุนมาใส่เพิ่ม แต่อาศัยเงินจากกระแสเงินสดแฝงเท่านั้น ทำให้พอร์ตโตขึ้นเรื่อยๆ แบบสะสมใจเย็น

4. การวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐาน
VI…
1.หุ้นเด่น เลือกพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เช่น P/E, P/B ต่ำ หนี้น้อย เงินสดมาก คงคลังลดลง กำไรดี ปันผลพอควร และเติบโตระยะยาว และถ้า Market Cap สูง เป็นตัวเด่นในอุตสาหกรรมนั้นๆ ถ้าผูกขาดได้ยิ่งดี
2. หุ้นที่ดูด้อย เลือกหุ้นตัวที่มีปัญหาปัจจุบัน แต่ยังมีสินทรัพย์และเงินสดเหลือเฟือ (พิจารณาจากงบการเงินและการหาข้อมูลรอบข้าง) ซึ่งหมายถึงจะได้หุ้นมีคุณภาพแต่ราคาถูก คนอื่นมองข้าม
3. ต้องเลี่ยงหุ้นที่ร้อนแรงและสินค้าเล่นราคากันหรือมีคู่แข่งมากเกินไปในตลาดรวมทั้งสินค้าฉาบฉวยอายุสั้น
DSM…แม้ปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช่หัวใจของการสร้างกระแสเงินสดแฝง แต่ก็ต้องมองหาเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และเติบโตระยะยาว อย่างเช่น ใน SET 50 หรือ SET 100
เพราะพอหุ้นตก สุดท้ายยังไงก็ต้องดีดกลับมา และเราอยากถือยาวโดยไม่ขายทิ้งจึงควรพิจารณาหุ้นที่เด่นและแกร่งในวงการ (แต่ระวังพอควรพื้นฐานดี แต่หุ้นนิ่งเกินไปไม่สวิงเลย ก็จะทำกระแสเงินสดแฝงได้ช้ามาก) การวิเคราะห์งบการเงิน ไม่ได้เป็นประโยชน์เท่าใดนัก เพราะความเป็นจริง งบการเงินถูกตบแต่งหลอกตาชาวบ้านได้ง่าย

5. การวิเคราะห์ทางเทคนิค
VI…ไม่จำเป็น แต่ต้องการหาความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของกิจการและสินค้าของบริษัทนั้นๆ สำคัญกว่า
DSM…ไม่จำเป็น เพราะเป็นการเสียเวลา ที่เอาอดีตมาดูอนาคต

6. จุดเด่นของแต่ละวิธี
VI…ดูหุ้น ซื้อเหมือนหวังจะครอบครองกิจการ ดูอุตสาหกรรมและสินค้า รวมทั้งคู่แข่งรอบข้างด้วย และเป็นการเก็บ "ห่านทองคำ" ให้ "ออกไข่" ให้กินระยะยาว โดยเฉพาะมีเงินปันผล
สุดท้ายก็คืออิสรภาพทางการเงิน
DSM…อาจมีหุ้นมากตัวได้ แต่การสวิงของหุ้นต้องสูง เพราะจะได้กระแสเงินสดแฝงมาก จาก step ของหุ้นที่ราคาตก ถ้ามีเงินปันผลก็ยิ่งดี และต้องมีการสะสมหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยจากกระแสเงินสดแฝงที่ได้ เป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ด้วย สุดท้ายก็คืออิสรภาพทางการเงิน

7. กระแสตลาดและความเป็นไปของสังคม กับการตัดสินใจลงทุน ซื้อขาย
VI…อย่าตื่นข่าวลือและระวังหุ้นที่ร้อนแรงเพราะปั่น แต่ก็ต้องอ่านหาความรู้รอบตัวมากพอควร
คอยตามเก็บหุ้นที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการ เมื่อราคาตก (ชั่วคราว) ไปตามตลาด
แต่คุณค่าของหุ้นตัวนั้นๆ ยังเยี่ยมอยู่ รวมทั้งกวาดสายตามองหาหุ้นอื่นที่คนอื่นไม่สนใจ และวิเคราะห์กิจการที่ยังไปได้ไม่ค่อยดี แต่ยังเป็น "ของดี" ด้วย  ระวังเรื่องอัตราดอกเบี้ย ถ้าเพิ่มมูลค่าธุรกิจจะลดลงเสมอและจะทำให้หุ้นราคาตก
DSM…ไม่ต้องใช้ความรู้รอบตัวของเหตุการณ์มาก อาจทำให้ไขว้เขวด้วยซ้ำ
เพราะอาจฉุดอารมณ์ให้ร้อนรนหรือซบเซาไปตามตลาด  โดยให้ยึดทำตามแผนการอย่างสม่ำเสมอ
และการวิเคราะห์ทางการเงิน ความเชื่อถือไม่ค่อยมีประโยชน์ได้ได้มากนัก
และพวกข่าวดีข่าวลับต่างๆ ทั้งหลาย นักลงทุนวงใน มักนำไปหาประโยชน์ก่อนหน้านี้แล้ว  แต่การมุ่งใช้วินัยในการตามเก็บกระแสเงินสดแฝง และค้นหาอิสรภาพทางการเงิน แบบวิธีพอเพียง ทำให้สุขุม เยือกเย็น และเป็นสุขกว่า โดยเฉพาะช่วงหุ้นขาลงที่ผู้อื่นมักเป็นทุกข์
ยิ่งทำให้นักลงทุนโดยวิธีการนี้มีความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

8. การให้เวลา
VI…ไม่ต้องนั่งเฝ้ามากนัก แต่ก็ต้องดูแลเพื่อตัดสินใจ โดยเฉพาะสภาวะตลาดไม่น่าไว้วางใจ
ตลาดหมี มีโอกาสซื้อ ตลาดกระทิงสร้างผลกำไร
DSM…ต้องคอยนั่งเฝ้าดูการตกของหุ้น...อย่างสบายใจ เพื่อจับคู่ “ขายเพื่อซื้อ” หรือ “ขายเพื่อสร้างโอกาสซื้อ” แต่ควรไปตามวิถีการดำเนินชีวิตปกติแต่ละคน

9. การใช้ชีวิต
VI & DSM…
เรียบง่าย สบายๆ แบบพระราชดำรัส อยู่แบบพอเพียง ไม่ยึดติด "รวยเพราะพอเพียง" และเหลือเฟือด้วยซ้ำ แบ่งรายได้ส่วนเกินไปทำบุญหรือช่วยเหลือสังคมบ้าง นำมาหาความสุขให้ตนเองบ้างพอควร เพราะเงินเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชี

วันนี้พวกเราใช้ DSM กับหุ้นโดยเปรียบเหมือนว่ายังต้องการดูแลกิจการด้วยตัวเองอยู่ (ด้าน S ใน Rich Dad) จนวันนึ่งได้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ คงไม่ต้องมาคอยดูแลกิจการธุรกิจให้เช่าหุ้นด้วยตัวเอง ตอนนั้นผมก็คงเป็นนักลงทุนแบบ VI ได้เต็มตัว (B & I ใน Rich Dad)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างกระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี 5