DSM concept ตอนที่ 18
DSM (17) – Q&A DSM จากใจถึงใจ
Q. สิ่งที่สำคัญที่สุดใน DSM คืออะไร
A. แนวคิดและใจ (วิธีการมาทีหลัง พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา)
แนวคิดที่สำคัญจริงๆก็คือ เราต้องการหากระแสเงินสดแฝงจากการซื้อขายหุ้นในพอร์ตของเราเอง เพื่อมาเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ต มูลค่าของพอร์ตจะเป็นอย่างไรยังไม่ใช่ประเด็นหลัก
ถ้าใจโลเลของชาว DSMers แบบลูกครึ่งจะแสดงออกมาเวลาที่หุ้นขึ้น ๆ ลง ๆ แล้ว เราคาดเดาตลาด(สังเกตว่า เดาถูกเราดีใจ เดาผิดเราเสียดาย อะไรแบบนี้ เมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้ ให้รีบฉุกคิดว่า ตอนนี้กำลังเดาอยู่นะ ผิดวัตถุประสงค์แล้ว) โดยเฉพาะเวลาที่หุ้นขึ้น เราอยากจะขาย ตรงจุดที่คิดว่า Peak 100% เหมือนตอนเก็งกำไร ซึ่งเราก็รู้ว่า ทำไม่เคยได้ ก็เลยอยากจะหาวิธีที่ไม่ต้องเดาตลาด จึงมาเลือกวิธีนี้ พอมาเลือกแล้ว จะเดากันอีกทำไม ถ้าอย่างนั้น ก็มาเล่นเก็งกำไรกันให้สนุกสนานเหมือนเดิม แล้วก็ร้องไห้ขายหมู ซื้องูกันต่อไปดีกว่าไหม
ดังนั้น DSMer พันธุ์แท้ ต้องไม่เดาตลาดและไม่สนมูลค่าพอร์ต ถึงราคาขายต้องขายตาม step ถึงราคาซื้อ ต้องซื้อตาม step ระยะยาวแล้วเห็นผลเอง มองให้เป็นการลงทุนระยะยาว ๆ
Q. ขายไปแล้วซื้อคืนไม่ได้ทำอย่างไรดี
A. ทำไมซื้อคืนไม่ได้รู้ไหม คำตอบคือหุ้นขึ้นไปแล้วไง หุ้นขึ้นไปแล้ว ถึงจุดชอร์ตแล้ว(ต้องมีช่วงห่างของจุดชอร์ตพอควรด้วย)ก็ต้องขายไปอีกทีละ step สมมติว่าซื้อคืนไม่ได้อีก หุ้นไปต่อ ขายอีกทีละ step ซื้อคืนไม่ได้อีก หุ้นขึ้นต่อ เห็นไหมว่า เราขายหุ้นไปในขณะที่หุ้นขึ้น
การที่เราขายหุ้นไปในขณะที่หุ้นขึ้นแสดงว่า เราได้เงินสดกลับมามากกว่ามูลค่าหุ้นตอนที่ซื้อ ภาษาเก็งกำไร เขาเรียกว่า ขายได้กำไร(เพิ่มมูลค่าหุ้น ขายไป ได้เงินสดมากกว่าเดิมกลับมา มีแต่เรื่องดี) ไม่เห็นต้องสนใจตัวที่ยังซื้อคืนไม่ได้เลย
ทีนี้มาถึงจุดที่เรา เหลือหุ้นในมืออีกสัก 10-20% ก็แสดงว่าราคาสูงขึ้นมามากแล้ว(สมมติอาจจะสูงกว่าราคาซื้อสัก50ช่องก็แล้วกัน)แล้วถูกไหมครับ ก็แก้ไขโดยการใช้ช่องว่าง นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นของกองหลัง ซึ่งอีกนานกว่าจะซื้อคืนได้ ไปซื้อหุ้นตัวอื่น(ซึ่งเราเล็งไว้แล้วว่าราคาถูกแล้ว ตรงนี้แนะนำด้วยความเห็นส่วนตัวว่าให้หาหุ้นที่เราจับตาราคาของมันอยู่ว่ากำลังลงสู่จุดoversold จะได้ผลดีมาก)
Q. ทำไมนำเงินตรงนี้ไปซื้อหุ้นตัวอื่น
A. ก็เพราะว่า หุ้นขึ้นลง โดยเฉพาะหุ้นพื้นฐานดี จะวิ่งรวดเดียวลงมา50 ช่องนั้นเกิดค่อนข้างนาน ระหว่างนั้น ถ้าเราไม่ทำอะไรกับเงินสดในพอร์ต ก็คือการเสียโอกาสหารายได้(มีหุ้นคือใช้สร้างรายได้ รายได้คือกระแสเงินสดแฝง) ดังนั้นจึงนำเงินส่วนนี้ เข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้
Q.ทำไมการนำเงินส่วนนี้เข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้จะไม่ทำให้กระแสเงินสดเกิดการไม่สมดุล
A.เพราะว่า ตอนที่เราขายหุ้นตัวแรกไปนั้น เราได้เงินสดมากกว่าตอนที่เราซื้อมันเข้ามา ดังนั้นการทำบัญชีว่า กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นมีมากกว่าเดิมหรือไม่ จะทำให้เรากันเงินออกมาซื้อหุ้นตัวอื่นได้ในปริมาณที่เราสบายใจว่า กระแสเงินสดจะเกิดการชอร์ตได้น้อยมากครับ
Q. ระบบบัญชีไม่ทำได้หรือเปล่า
A. ได้ครับ แต่เจ๊งแน่นอน ดังนั้นต้องทำบัญชีเสมอ และบัญชีเป็นส่วนหนึ่งในการลงทุนแนวทางนี้ซึ่งสำคัญมาก ๆ
Q. ทำไมต้องมีการแบ่งส่วนกระแสเงินสดแฝง ก่อนการขยายพอร์ต (25%ใช้สำรอง, 25%ใช้จ่าย, 50%ใช้ขยายพอร์ต)
A. ป้องกันกระแสเงินสดชอร์ต ทำสักระยะจะรู้ว่าเมื่อเราขยายงานมากๆ และเร็วเกินไป จะทำให้กระแสเงินสดไม่พอบ่อยเลย อีกอย่าง เราต้องใช้จ่ายเงินถึงต้องมีการดึงส่วน25%ใช้จ่ายออกมา
Q. ควรซื้อเพิ่ม เวลาไหน
A. นี่สิ จุดสำคัญมากที่สุดของการเพิ่มมูลค่าและปริมาณหุ้นในพอร์ต คุณเด่นศรีบอกว่า ให้ซื้อตัวที่หุ้นในมือเหลือน้อยที่สุด ก็คือหุ้นที่แข็งกว่าตลาดนั่นเอง ถ้าทำตามวิธีของพี่เด่นก็คือว่า หุ้นที่ขึ้นมาเยอะแล้ว มีโอกาสที่จะลงมาก ถ้าลงมาแล้ว เราจะมีกระแสเงินสดแฝงมากมายเลย
แต่ผมขอเลือกทำอีกแบบหนึ่งนะ
ผมจะเลือกซื้อตัวที่เข้าสู่จุด oversold เป็นหลัก เพราะหุ้นจะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าได้มากกว่า ซึ่งการขยายงานเพิ่มปริมาณหุ้นของพอร์ต อาจจะช้ากว่า แต่มูลค่าของหุ้นจะลดลงน้อยกว่า และเพิ่มขึ้นเข้าสู่จุดคุ้มทุนเร็วกว่า จะได้สบายใจเร็วๆ
Q. ไม่ขายขาขึ้นทีละน้อยๆดีกว่า หรือขายดีกว่ากัน
A. อันนี้แล้วแต่ความถนัด สำหรับผม ผมว่าไม่ขายดีกว่า ถ้าผมขายทีละ1% ล่ะก็ ผมแบ่งพอร์ตออกมาส่วนหนึ่ง เล่นเก็งกำไรไปเลยเต็มๆดีกว่า มันกว่าด้วย แต่ต้องเก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกันด้วย
Q. ไม่มีเวลาดูหุ้นทำอย่างไรดี
A. เปิดตลาดทั้งเช้า-บ่ายดูหนึ่งรอบ ใกล้ปิดตลาดทั้งเช้า- บ่ายดูอีกหนึ่งรอบ (เป็น 4 รอบ) ขายได้เท่าไร ขายไป ซื้อได้เท่าไรซื้อมา ถ้าระหว่างวัน ราคาปิด และเปิดห่างกันพอควร คุณได้กระแสเงินสดแฝงพอสมควร ดังนั้นต้องเลือกหุ้นราคาปิดเปิดที่วิ่งมีความห่างพอสมควร
Q. ฉันอยากรู้ว่า ฉันเหมาะเป็น DSMers หรือเปล่า
A. ก่อนทดสอบต้องทำดังต่อไปนี้ก่อน
-อ่านหนังสือพ่อรวยเล่มต่าง ๆ เช่น พ่อรวยสอนลูก, พ่อรวยสอนลงทุน, เกษียณเร็วเกษียณรวย, และใครเอาเงินของฉันไป แล้วดูว่าเห็นด้วยกับแนวคิดอิสรภาพทางการเงินหรือไม่
-อ่านกระทู้หลักๆในคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินเสียก่อน และทดสอบความเข้าใจของตัวคุณเอง กับคนที่สนใจวิธีนี้อย่างจริงจัง และทดลองปรับใช้ดู
ถ้าคุณทำมาได้ถึงตอนนี้ และยังอยากทำต่อ คุณก็เป็นDSMers ในแนวคิดมาครึ่งตัวแล้ว(เพราะอ่านหนังสือมาเป็นเล่ม อ่านกระทู้มาเป็นหน้ายังอยากทำได้ แสดงว่ามีใจให้กันจริงๆ )
วิธีทดสอบคือ
แบ่งพอร์ตของคุณเป็นสองส่วนจะด้านละกี่เปอร์เซ็นต์ก็ได้ ตามใจจะกล้าเสี่ยง หรือจะเปิดสองพอร์ตก็ได้ แล้วใช้เงินนั้น เข้าซื้อหุ้นตัวเดียวกัน ด้านหนึ่งใช้ DSM เต็มตัว(ทั้งใจ วิธีการและระบบบัญชี) อีกด้านหนึ่งเก็งกำไรเต็มตัว เก็บข้อมูลทั้งหมด ทำอย่างต่ำ 1 ปี แล้วเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าและการเติบโตของพอร์ตระหว่างกัน
ถ้าหุ้นเป็นขาขึ้นพอร์ตเล่นเก็งกำไรควรจะได้มากกว่า แต่อย่าเพิ่งได้ใจ หุ้นมีรอบของมัน เดี๋ยวก็ต้องลง ตอนนั้น เรายังสามารถทำกำไรจากมันได้อยู่หรือไม่ และวิธีDSM จะอยู่กับหุ้นตัวนั้นตลอดเวลา หุ้นขึ้นหรือลง เราอยู่กับมันตลอด มันเหมือนการเติมน้ำลงไปในแก้วหลายแก้วที่มีก้นเดียวกันครับ บางครั้งแก้วนี้เราเติมมาก(หุ้นขึ้น)หน่อย แก้วนั้นเราเติมน้อย(หุ้นลง)หน่อย พอถึงเวลามันก็จะไหลลงไปที่ก้นเดียวกัน จนปริมาณน้ำในแต่ละแก้วค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นพร้อมๆกัน ขออย่างเดียวอย่าให้แก้วแตก(หุ้นเจ๊ง) แต่ถ้าเก็งกำไร คุณเลือกแก้วมาหลายใบ น้ำแก้วนี้คุณเติมมาก แก้วนี้คุณเติมน้อย ถ้าคุณเติมน้อยมากกว่าเติมมาก สุดท้ายคุณจะมีน้ำน้อยลง(เก็งกำไร ถ้าเก่งจริง คุณรวยที่สุดอยู่แล้ว นั่นคือคุณต้องเติมน้ำได้มากกว่าเดิมตลอดเวลา)
วิธีทดสอบนี้ ระหว่างทาง อุปนิสัยของคุณ การมองโลกของคุณ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของคุณ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเทรดของคุณเอง และในไม่ช้า คุณอาจจะค้นพบวิธีที่ทำให้ทั้งสองด้าน มารวมกันเป็นเนื้อเดียวได้ก็เป็นได้
Q. สิ่งที่สำคัญที่สุดใน DSM คืออะไร
A. แนวคิดและใจ (วิธีการมาทีหลัง พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา)
แนวคิดที่สำคัญจริงๆก็คือ เราต้องการหากระแสเงินสดแฝงจากการซื้อขายหุ้นในพอร์ตของเราเอง เพื่อมาเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ต มูลค่าของพอร์ตจะเป็นอย่างไรยังไม่ใช่ประเด็นหลัก
ถ้าใจโลเลของชาว DSMers แบบลูกครึ่งจะแสดงออกมาเวลาที่หุ้นขึ้น ๆ ลง ๆ แล้ว เราคาดเดาตลาด(สังเกตว่า เดาถูกเราดีใจ เดาผิดเราเสียดาย อะไรแบบนี้ เมื่อเกิดความรู้สึกแบบนี้ ให้รีบฉุกคิดว่า ตอนนี้กำลังเดาอยู่นะ ผิดวัตถุประสงค์แล้ว) โดยเฉพาะเวลาที่หุ้นขึ้น เราอยากจะขาย ตรงจุดที่คิดว่า Peak 100% เหมือนตอนเก็งกำไร ซึ่งเราก็รู้ว่า ทำไม่เคยได้ ก็เลยอยากจะหาวิธีที่ไม่ต้องเดาตลาด จึงมาเลือกวิธีนี้ พอมาเลือกแล้ว จะเดากันอีกทำไม ถ้าอย่างนั้น ก็มาเล่นเก็งกำไรกันให้สนุกสนานเหมือนเดิม แล้วก็ร้องไห้ขายหมู ซื้องูกันต่อไปดีกว่าไหม
ดังนั้น DSMer พันธุ์แท้ ต้องไม่เดาตลาดและไม่สนมูลค่าพอร์ต ถึงราคาขายต้องขายตาม step ถึงราคาซื้อ ต้องซื้อตาม step ระยะยาวแล้วเห็นผลเอง มองให้เป็นการลงทุนระยะยาว ๆ
Q. ขายไปแล้วซื้อคืนไม่ได้ทำอย่างไรดี
A. ทำไมซื้อคืนไม่ได้รู้ไหม คำตอบคือหุ้นขึ้นไปแล้วไง หุ้นขึ้นไปแล้ว ถึงจุดชอร์ตแล้ว(ต้องมีช่วงห่างของจุดชอร์ตพอควรด้วย)ก็ต้องขายไปอีกทีละ step สมมติว่าซื้อคืนไม่ได้อีก หุ้นไปต่อ ขายอีกทีละ step ซื้อคืนไม่ได้อีก หุ้นขึ้นต่อ เห็นไหมว่า เราขายหุ้นไปในขณะที่หุ้นขึ้น
การที่เราขายหุ้นไปในขณะที่หุ้นขึ้นแสดงว่า เราได้เงินสดกลับมามากกว่ามูลค่าหุ้นตอนที่ซื้อ ภาษาเก็งกำไร เขาเรียกว่า ขายได้กำไร(เพิ่มมูลค่าหุ้น ขายไป ได้เงินสดมากกว่าเดิมกลับมา มีแต่เรื่องดี) ไม่เห็นต้องสนใจตัวที่ยังซื้อคืนไม่ได้เลย
ทีนี้มาถึงจุดที่เรา เหลือหุ้นในมืออีกสัก 10-20% ก็แสดงว่าราคาสูงขึ้นมามากแล้ว(สมมติอาจจะสูงกว่าราคาซื้อสัก50ช่องก็แล้วกัน)แล้วถูกไหมครับ ก็แก้ไขโดยการใช้ช่องว่าง นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นของกองหลัง ซึ่งอีกนานกว่าจะซื้อคืนได้ ไปซื้อหุ้นตัวอื่น(ซึ่งเราเล็งไว้แล้วว่าราคาถูกแล้ว ตรงนี้แนะนำด้วยความเห็นส่วนตัวว่าให้หาหุ้นที่เราจับตาราคาของมันอยู่ว่ากำลังลงสู่จุดoversold จะได้ผลดีมาก)
Q. ทำไมนำเงินตรงนี้ไปซื้อหุ้นตัวอื่น
A. ก็เพราะว่า หุ้นขึ้นลง โดยเฉพาะหุ้นพื้นฐานดี จะวิ่งรวดเดียวลงมา50 ช่องนั้นเกิดค่อนข้างนาน ระหว่างนั้น ถ้าเราไม่ทำอะไรกับเงินสดในพอร์ต ก็คือการเสียโอกาสหารายได้(มีหุ้นคือใช้สร้างรายได้ รายได้คือกระแสเงินสดแฝง) ดังนั้นจึงนำเงินส่วนนี้ เข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้
Q.ทำไมการนำเงินส่วนนี้เข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้จะไม่ทำให้กระแสเงินสดเกิดการไม่สมดุล
A.เพราะว่า ตอนที่เราขายหุ้นตัวแรกไปนั้น เราได้เงินสดมากกว่าตอนที่เราซื้อมันเข้ามา ดังนั้นการทำบัญชีว่า กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นมีมากกว่าเดิมหรือไม่ จะทำให้เรากันเงินออกมาซื้อหุ้นตัวอื่นได้ในปริมาณที่เราสบายใจว่า กระแสเงินสดจะเกิดการชอร์ตได้น้อยมากครับ
Q. ระบบบัญชีไม่ทำได้หรือเปล่า
A. ได้ครับ แต่เจ๊งแน่นอน ดังนั้นต้องทำบัญชีเสมอ และบัญชีเป็นส่วนหนึ่งในการลงทุนแนวทางนี้ซึ่งสำคัญมาก ๆ
Q. ทำไมต้องมีการแบ่งส่วนกระแสเงินสดแฝง ก่อนการขยายพอร์ต (25%ใช้สำรอง, 25%ใช้จ่าย, 50%ใช้ขยายพอร์ต)
A. ป้องกันกระแสเงินสดชอร์ต ทำสักระยะจะรู้ว่าเมื่อเราขยายงานมากๆ และเร็วเกินไป จะทำให้กระแสเงินสดไม่พอบ่อยเลย อีกอย่าง เราต้องใช้จ่ายเงินถึงต้องมีการดึงส่วน25%ใช้จ่ายออกมา
Q. ควรซื้อเพิ่ม เวลาไหน
A. นี่สิ จุดสำคัญมากที่สุดของการเพิ่มมูลค่าและปริมาณหุ้นในพอร์ต คุณเด่นศรีบอกว่า ให้ซื้อตัวที่หุ้นในมือเหลือน้อยที่สุด ก็คือหุ้นที่แข็งกว่าตลาดนั่นเอง ถ้าทำตามวิธีของพี่เด่นก็คือว่า หุ้นที่ขึ้นมาเยอะแล้ว มีโอกาสที่จะลงมาก ถ้าลงมาแล้ว เราจะมีกระแสเงินสดแฝงมากมายเลย
แต่ผมขอเลือกทำอีกแบบหนึ่งนะ
ผมจะเลือกซื้อตัวที่เข้าสู่จุด oversold เป็นหลัก เพราะหุ้นจะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าได้มากกว่า ซึ่งการขยายงานเพิ่มปริมาณหุ้นของพอร์ต อาจจะช้ากว่า แต่มูลค่าของหุ้นจะลดลงน้อยกว่า และเพิ่มขึ้นเข้าสู่จุดคุ้มทุนเร็วกว่า จะได้สบายใจเร็วๆ
Q. ไม่ขายขาขึ้นทีละน้อยๆดีกว่า หรือขายดีกว่ากัน
A. อันนี้แล้วแต่ความถนัด สำหรับผม ผมว่าไม่ขายดีกว่า ถ้าผมขายทีละ1% ล่ะก็ ผมแบ่งพอร์ตออกมาส่วนหนึ่ง เล่นเก็งกำไรไปเลยเต็มๆดีกว่า มันกว่าด้วย แต่ต้องเก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกันด้วย
Q. ไม่มีเวลาดูหุ้นทำอย่างไรดี
A. เปิดตลาดทั้งเช้า-บ่ายดูหนึ่งรอบ ใกล้ปิดตลาดทั้งเช้า- บ่ายดูอีกหนึ่งรอบ (เป็น 4 รอบ) ขายได้เท่าไร ขายไป ซื้อได้เท่าไรซื้อมา ถ้าระหว่างวัน ราคาปิด และเปิดห่างกันพอควร คุณได้กระแสเงินสดแฝงพอสมควร ดังนั้นต้องเลือกหุ้นราคาปิดเปิดที่วิ่งมีความห่างพอสมควร
Q. ฉันอยากรู้ว่า ฉันเหมาะเป็น DSMers หรือเปล่า
A. ก่อนทดสอบต้องทำดังต่อไปนี้ก่อน
-อ่านหนังสือพ่อรวยเล่มต่าง ๆ เช่น พ่อรวยสอนลูก, พ่อรวยสอนลงทุน, เกษียณเร็วเกษียณรวย, และใครเอาเงินของฉันไป แล้วดูว่าเห็นด้วยกับแนวคิดอิสรภาพทางการเงินหรือไม่
-อ่านกระทู้หลักๆในคลับเพื่ออิสรภาพทางการเงินเสียก่อน และทดสอบความเข้าใจของตัวคุณเอง กับคนที่สนใจวิธีนี้อย่างจริงจัง และทดลองปรับใช้ดู
ถ้าคุณทำมาได้ถึงตอนนี้ และยังอยากทำต่อ คุณก็เป็นDSMers ในแนวคิดมาครึ่งตัวแล้ว(เพราะอ่านหนังสือมาเป็นเล่ม อ่านกระทู้มาเป็นหน้ายังอยากทำได้ แสดงว่ามีใจให้กันจริงๆ )
วิธีทดสอบคือ
แบ่งพอร์ตของคุณเป็นสองส่วนจะด้านละกี่เปอร์เซ็นต์ก็ได้ ตามใจจะกล้าเสี่ยง หรือจะเปิดสองพอร์ตก็ได้ แล้วใช้เงินนั้น เข้าซื้อหุ้นตัวเดียวกัน ด้านหนึ่งใช้ DSM เต็มตัว(ทั้งใจ วิธีการและระบบบัญชี) อีกด้านหนึ่งเก็งกำไรเต็มตัว เก็บข้อมูลทั้งหมด ทำอย่างต่ำ 1 ปี แล้วเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าและการเติบโตของพอร์ตระหว่างกัน
ถ้าหุ้นเป็นขาขึ้นพอร์ตเล่นเก็งกำไรควรจะได้มากกว่า แต่อย่าเพิ่งได้ใจ หุ้นมีรอบของมัน เดี๋ยวก็ต้องลง ตอนนั้น เรายังสามารถทำกำไรจากมันได้อยู่หรือไม่ และวิธีDSM จะอยู่กับหุ้นตัวนั้นตลอดเวลา หุ้นขึ้นหรือลง เราอยู่กับมันตลอด มันเหมือนการเติมน้ำลงไปในแก้วหลายแก้วที่มีก้นเดียวกันครับ บางครั้งแก้วนี้เราเติมมาก(หุ้นขึ้น)หน่อย แก้วนั้นเราเติมน้อย(หุ้นลง)หน่อย พอถึงเวลามันก็จะไหลลงไปที่ก้นเดียวกัน จนปริมาณน้ำในแต่ละแก้วค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นพร้อมๆกัน ขออย่างเดียวอย่าให้แก้วแตก(หุ้นเจ๊ง) แต่ถ้าเก็งกำไร คุณเลือกแก้วมาหลายใบ น้ำแก้วนี้คุณเติมมาก แก้วนี้คุณเติมน้อย ถ้าคุณเติมน้อยมากกว่าเติมมาก สุดท้ายคุณจะมีน้ำน้อยลง(เก็งกำไร ถ้าเก่งจริง คุณรวยที่สุดอยู่แล้ว นั่นคือคุณต้องเติมน้ำได้มากกว่าเดิมตลอดเวลา)
วิธีทดสอบนี้ ระหว่างทาง อุปนิสัยของคุณ การมองโลกของคุณ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของคุณ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเทรดของคุณเอง และในไม่ช้า คุณอาจจะค้นพบวิธีที่ทำให้ทั้งสองด้าน มารวมกันเป็นเนื้อเดียวได้ก็เป็นได้