DSM concept ตอนที่ 17

DSM (16) – 7 ข้อ DSM ดั่งแก้วสารพัดนึก


ดั่งแก้วสารพัดนึกแบ่งได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. DSMers ต้องเข้าใจว่า เป้าหมายของเราคือ การเก็บสะสมหุ้นให้ได้มากขึ้น โดยไม่ต้องใช้เงินเพิ่ม

2. DSMers ต้องไม่สนมูลค่าพอร์ตหุ้นไม่ว่าจะมีมูลค่าเพิ่มหรือลดลง

3. DSMers สนแต่กระแสเงินสดแฝงเพราะกระแสเงินสดแฝง คือรายได้ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการเพิ่มจำนวนหุ้น การเร่งเพิ่มกระแสเงินสดแฝง โดยยังไม่เข้าใจดีพอ เป็นอันตรายพอควร เช่น การใช้ กระแสเงินสดแฝงในอนาคตนั้น ปลอดภัยดีจริง แต่หากยังไม่ชำนาญอาจพอร์ตชอร์ตได้ จุดสำคัญที่สุดของการขยายพอร์ตคือ ต้องไม่เกิดกระแสเงินสดชอร์ต เมื่อใดก็ตามที่ท่านเพิ่มเงินเพราะภาวะเงินชอร์ต ท่านกำลังเข้าสู่การสูญเสียการควบคุมบัญชีของท่าน เหมือนกับการลงทุนขาดทุนแล้วเอาเงินลงไปอีกหรือเหมือนซื้อหุ้นเฉลี่ยขาลงซึ่งไม่ควรทำที่สุดอย่างหนึ่ง

4. การเข้าซื้อยังคงมีความสำคัญมาก ส่วนจะเข้าซื้ออย่างไร เช่นไร ล้วนแล้วแต่การฝึกฝนในแนวทางของตน หากเข้าซื้อ แล้วหุ้นลง เช่นเดิมได้กระแสเงินสดแฝง แล้วหุ้นขึ้น มูลค่าเพิ่ม(ไว้ไปได้กระแสเงินสดแฝงที่มากขึ้น) ล้วนแล้วแต่ดีทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าไม่ได้ดูที่มูลค่าพอร์ตที่เพิ่มขึ้น

5. DSMers ยิ้มตลอดเวลา ไม่เครียด เพราะหุ้นขึ้นทำให้มูลค่าเพิ่มเพื่อได้กระแสเงินสดมากขึ้น เมื่อหุ้นลงจะเกิดรายได้จากหุ้นทันที ดังนั้น DSMers จึงยิ้มตลอด ก้าวเข้าสู่เส้นชัย อิสรภาพทางการเงินอย่างสบายอารมณ์   

6. DSM ไม่มีวิธีการที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ โดยยึดหลักการและแนวคิดเหมือนเดิม

7. DSMers ต้องเตรียมการ เตรียมใจ รับมือได้ในสภาวการณ์หลัก ๆ ของหุ้นดังต่อไปนี้ คือ ขาขึ้น ขาลง และ ไซด์เวย์ คิดและปรับใช้ให้ตรงกับวิธีการบริหารพอร์ต และนิสัยหุ้นและตัวนักลงทุนเอง

อย่างไรก็ดี DSM ใช้ออกได้ดั่งใจนึกนั้น ไม่ได้มาจากทฤษฎี หรือการคำนวณในExcel เป็นแน่แท้ ท่านต้องลงทุนจริงตามแนวทางนี้ และเก็บข้อมูลของตัวท่าน พอร์ตของท่าน วิธีการเทรดของท่านอย่างต่อเนื่อง และปรับใช้ให้เหมาะกับนิสัยของท่านเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘