DSM concept ตอนที่ 15
DSM (14) – หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน
นักลงทุนหุ้นวิธีDSM เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ...การเล่นหุ้นทั้งขาลงและขาขึ้น...หุ้นขึ้นได้เงิน หุ้นลงได้หุ้น... เป็นคำกล่าวที่เสี่ยงอย่างมาก ๆ ที่จริงแล้วต้องเป็น “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เป็นอย่างไร
ทำไมต้องพูดว่า “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เพราะเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น เสมือนทำกิจการให้เช่าหุ้น ดังนั้นหลักการคิดคือ กิจการที่เราทำอยู่กำลังดี กำลังเติบโต เราต้องเพิ่มการลงทุน หรือ ขยายกิจการออกไป แต่ถ้า เมื่อไรที่กิจการกำลังก้ำกึ่งระหว่างจะดีหรือไม่ดีไม่ควรเพิ่มการลงทุนหรือขยายกิจการเป็นอันขาด
ต้องแยกคำ “ซื้อหุ้นคืน” กับ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”(เงินจากกระแสเงินสดแฝง) เมื่อเราทำตามแผนการที่วางไว้ ของการลงทุนด้วยวิธี DSM เมื่อหุ้นเป็นขาลงเริ่มแดง ขายออกทุก 2 ช่อง ช่องละ10% ไปเรื่อย ๆ จะจนกว่าหุ้นเริ่มขึ้นจะซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้ออันนี้หมายถึงการ “ซื้อหุ้นคืน” แต่เมื่อไรที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม คือการเอาเงินจากกระแสเงินสดแฝงมาซื้อหุ้นเพิ่มเติม แต่อย่าลืมนะ ต้องซื้อหุ้นตัวที่เหลือน้อย หมายความว่าหุ้นตัวนี้ขายดี หรือขึ้นมามาก เปรียบเทียบได้กับเป็นกิจการที่ดี กำลังเจริญเติบโต ต้องมีการขยายงาน ถึงจะเริ่มมีการ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”จากเงินกระแสเงินสดแฝง ถ้าให้ดีการซื้อหุ้นเพิ่มต้องซื้อหุ้นอย่างน้อย 1,000 หุ้น หรือ 200,000 บาท ซึ่งซื้อแล้วสามารถทำงานได้ทันทีจากหุ้นที่ซื้อเพิ่มขึ้นมา
แล้วเมื่อไร ถึงจะ “ซื้อหุ้นเพิ่ม” ใช้เงินจากกระแสเงินสดแฝงซื้อ มาถึงตอนนี้ทุกท่าน ต้องสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่ม อาจเป็นหุ้นตัวเดิม หรือ หุ้นตัวใหม่ อย่างไรดี
การสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่มนั้นนักลงทุนแต่ละท่าน อาจไม่เหมือนกันก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น หุ้น A ราคา เริ่มแรก 10.00 บาทต่อหุ้น เมื่อหุ้นเริ่มลงหรือเริ่มแดง ก็ขาย ออกตามที่วางแผนเอาไว้ นั้นคือ 9.80, 9.70, 9.60, 9.50, 9.40, 9.30, 9.20, 9.10, 9.00, 8.90…, จนลงไปเรื่อยๆ ไปถึง และเริ่มนิ่งๆ ที่ 7.00 บาท(ช่วงขาลงช่วงหนึ่ง ๆ ) แล้วมีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นเริ่มกับตัวมาที่ 7.20 ก็เริ่มซื้อหุ้นคืนทั้งหมดที่ขายไป ที่ราคา7.20 บาท อันนี้เป็นการซื้อหุ้นคืน หลังจากนี้เงินที่ได้การกระแสเงินสดแฝงจากการขายและซื้อกับหุ้นตัวนี้และต้องการซื้อตัวเดิมกลับด้วย จะซื้อตรงไหนดี ให้แน่ใจว่าซื้อแล้วหุ้นขึ้นจริงๆ เปรียบเสมือนกับกิจการกำลังเจริญเติบโต และจะขยายงาน ถ้าพูดถึงของแผนการเดิมต่ออีกหน่อย หลังจากนี้เราจะตั้งจุด short หุ้นใหม่อีก 15 ช่อง นั้นก็คือที่ราคา 7.95 บาท จะเป็นราคาที่เราจะ short หุ้นใหม่สำหรับกองหลัง แล้วเราจะตั้งกฎตั้งเกณฑ์อย่างไรดีกว่ามันขึ้นจริงๆ จะได้ซื้อหุ้นเพิ่มสักทีเพราะต้องการขยายกิจการ แล้วแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่นตัวอย่าง จะซื้อหุ้นเพิ่มที่ขึ้นมาจากจุดที่ซื้อกับคืนมา 5 ช่อง นั้นคือ ราคา 7.45 บาท จะเป็นราคาที่เราจะ ซื้อหุ้นเพิ่ม แล้วคิดว่าหุ้นจะขึ้นต่อไป หรืออาจตั้งที่ 10 ช่อง , 15 ช่อง หรือ 20 ช่องไปเลย ก็ยังได้ เพื่อให้แน่ใจกว่า หุ้นขึ้นจริงๆ หรือกิจการกำลังดีจริงแล้วควรขยายงานต่อไป
ในการเริ่มลงทุนหุ้นวิธี DSM ลงเงินก้อนแรกไป ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนในพอร์ตหรือในกิจการให้เช่าหุ้น แต่อันนี้สำหรับนักลงทุนผู้ที่เริ่มต้นการลงทุนด้วยวิธีนี้เพราะเหมือนกับเราทำกิจการอะไรสักอย่างในที่นี้คือกิจการให้เช่าหุ้น ยังไม่รู้ว่ากิจการจะดีหรือเปล่า จะรอดหรือเปล่า ยังไม่ควรลงเงินเพื่อเพิ่มการลงทุนใดๆ แต่เมื่อใด ที่เราทำกิจการได้ดี มีผลตอบแทนที่ดี สามารถเพิ่มการลงทุนเพื่อขยายงานหรือกิจการได้
เพราะการลงทุนด้วยวิธี DSM เหมือนการลงทุนทั่วไป ไม่มีข้อห้ามในการเพิ่มเงินลงทุน แต่จะเพิ่มเงินลงทุนเพราะอะไร ถ้าเพิ่มเงินลงทุนเพื่อขยายกิจการ เพราะกิจการ DSM ที่ผ่านมาทำยอดได้ตามเป้า แบบนี้เพิ่มได้เลย แต่ถ้าเพิ่มเงินลงทุนเพื่ออุดปัญหาของกิจการ แบบนี้ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุน ต้องเน้นย้ำว่าให้เพิ่มเงินลงทุนในกิจการที่กำลังเจริญเติบโตหรือเพื่อขยายกิจการเท่านั้น
นักลงทุนหุ้นวิธีDSM เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ...การเล่นหุ้นทั้งขาลงและขาขึ้น...หุ้นขึ้นได้เงิน หุ้นลงได้หุ้น... เป็นคำกล่าวที่เสี่ยงอย่างมาก ๆ ที่จริงแล้วต้องเป็น “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เป็นอย่างไร
ทำไมต้องพูดว่า “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เพราะเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น เสมือนทำกิจการให้เช่าหุ้น ดังนั้นหลักการคิดคือ กิจการที่เราทำอยู่กำลังดี กำลังเติบโต เราต้องเพิ่มการลงทุน หรือ ขยายกิจการออกไป แต่ถ้า เมื่อไรที่กิจการกำลังก้ำกึ่งระหว่างจะดีหรือไม่ดีไม่ควรเพิ่มการลงทุนหรือขยายกิจการเป็นอันขาด
ต้องแยกคำ “ซื้อหุ้นคืน” กับ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”(เงินจากกระแสเงินสดแฝง) เมื่อเราทำตามแผนการที่วางไว้ ของการลงทุนด้วยวิธี DSM เมื่อหุ้นเป็นขาลงเริ่มแดง ขายออกทุก 2 ช่อง ช่องละ10% ไปเรื่อย ๆ จะจนกว่าหุ้นเริ่มขึ้นจะซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้ออันนี้หมายถึงการ “ซื้อหุ้นคืน” แต่เมื่อไรที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม คือการเอาเงินจากกระแสเงินสดแฝงมาซื้อหุ้นเพิ่มเติม แต่อย่าลืมนะ ต้องซื้อหุ้นตัวที่เหลือน้อย หมายความว่าหุ้นตัวนี้ขายดี หรือขึ้นมามาก เปรียบเทียบได้กับเป็นกิจการที่ดี กำลังเจริญเติบโต ต้องมีการขยายงาน ถึงจะเริ่มมีการ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”จากเงินกระแสเงินสดแฝง ถ้าให้ดีการซื้อหุ้นเพิ่มต้องซื้อหุ้นอย่างน้อย 1,000 หุ้น หรือ 200,000 บาท ซึ่งซื้อแล้วสามารถทำงานได้ทันทีจากหุ้นที่ซื้อเพิ่มขึ้นมา
แล้วเมื่อไร ถึงจะ “ซื้อหุ้นเพิ่ม” ใช้เงินจากกระแสเงินสดแฝงซื้อ มาถึงตอนนี้ทุกท่าน ต้องสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่ม อาจเป็นหุ้นตัวเดิม หรือ หุ้นตัวใหม่ อย่างไรดี
การสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่มนั้นนักลงทุนแต่ละท่าน อาจไม่เหมือนกันก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น หุ้น A ราคา เริ่มแรก 10.00 บาทต่อหุ้น เมื่อหุ้นเริ่มลงหรือเริ่มแดง ก็ขาย ออกตามที่วางแผนเอาไว้ นั้นคือ 9.80, 9.70, 9.60, 9.50, 9.40, 9.30, 9.20, 9.10, 9.00, 8.90…, จนลงไปเรื่อยๆ ไปถึง และเริ่มนิ่งๆ ที่ 7.00 บาท(ช่วงขาลงช่วงหนึ่ง ๆ ) แล้วมีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นเริ่มกับตัวมาที่ 7.20 ก็เริ่มซื้อหุ้นคืนทั้งหมดที่ขายไป ที่ราคา7.20 บาท อันนี้เป็นการซื้อหุ้นคืน หลังจากนี้เงินที่ได้การกระแสเงินสดแฝงจากการขายและซื้อกับหุ้นตัวนี้และต้องการซื้อตัวเดิมกลับด้วย จะซื้อตรงไหนดี ให้แน่ใจว่าซื้อแล้วหุ้นขึ้นจริงๆ เปรียบเสมือนกับกิจการกำลังเจริญเติบโต และจะขยายงาน ถ้าพูดถึงของแผนการเดิมต่ออีกหน่อย หลังจากนี้เราจะตั้งจุด short หุ้นใหม่อีก 15 ช่อง นั้นก็คือที่ราคา 7.95 บาท จะเป็นราคาที่เราจะ short หุ้นใหม่สำหรับกองหลัง แล้วเราจะตั้งกฎตั้งเกณฑ์อย่างไรดีกว่ามันขึ้นจริงๆ จะได้ซื้อหุ้นเพิ่มสักทีเพราะต้องการขยายกิจการ แล้วแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่นตัวอย่าง จะซื้อหุ้นเพิ่มที่ขึ้นมาจากจุดที่ซื้อกับคืนมา 5 ช่อง นั้นคือ ราคา 7.45 บาท จะเป็นราคาที่เราจะ ซื้อหุ้นเพิ่ม แล้วคิดว่าหุ้นจะขึ้นต่อไป หรืออาจตั้งที่ 10 ช่อง , 15 ช่อง หรือ 20 ช่องไปเลย ก็ยังได้ เพื่อให้แน่ใจกว่า หุ้นขึ้นจริงๆ หรือกิจการกำลังดีจริงแล้วควรขยายงานต่อไป
ในการเริ่มลงทุนหุ้นวิธี DSM ลงเงินก้อนแรกไป ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนในพอร์ตหรือในกิจการให้เช่าหุ้น แต่อันนี้สำหรับนักลงทุนผู้ที่เริ่มต้นการลงทุนด้วยวิธีนี้เพราะเหมือนกับเราทำกิจการอะไรสักอย่างในที่นี้คือกิจการให้เช่าหุ้น ยังไม่รู้ว่ากิจการจะดีหรือเปล่า จะรอดหรือเปล่า ยังไม่ควรลงเงินเพื่อเพิ่มการลงทุนใดๆ แต่เมื่อใด ที่เราทำกิจการได้ดี มีผลตอบแทนที่ดี สามารถเพิ่มการลงทุนเพื่อขยายงานหรือกิจการได้
เพราะการลงทุนด้วยวิธี DSM เหมือนการลงทุนทั่วไป ไม่มีข้อห้ามในการเพิ่มเงินลงทุน แต่จะเพิ่มเงินลงทุนเพราะอะไร ถ้าเพิ่มเงินลงทุนเพื่อขยายกิจการ เพราะกิจการ DSM ที่ผ่านมาทำยอดได้ตามเป้า แบบนี้เพิ่มได้เลย แต่ถ้าเพิ่มเงินลงทุนเพื่ออุดปัญหาของกิจการ แบบนี้ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุน ต้องเน้นย้ำว่าให้เพิ่มเงินลงทุนในกิจการที่กำลังเจริญเติบโตหรือเพื่อขยายกิจการเท่านั้น