DSM concept ตอนที่ 14
DSM (13) – ช่องว่างและการแปลงร่างคืออะไร
ช่องว่างของตลาดหุ้น ต้องใช้ให้ถูกจังหวะอย่าไปเร่งพอร์ต ควบคุมการใช้ช่องว่างด้วยระบบบัญชี โดยให้หุ้นสมดุลด้วยช่องว่างและให้ช่องว่างสมดุลด้วยระบบบัญชี
การแปลงร่าง จะแปลงไปเป็นหุ้นกลุ่มใดตัวใดก็ได้ ขอเพียงให้มีราคาต่ำกว่าและอยู่ในช่อง Spread หุ้นเดียวกัน และเงินที่เหลือจากการแปลงร่าง ให้ถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงแต่มันเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม ซึ่งไม่ควรแปลงร่างมากเกินไปโดยไม่จำเป็น
การแปลงร่างใช้กับหุ้นขาขึ้นเท่านั้น ถ้าหุ้นขาลงจะไม่แปลงร่าง(ยกเว้นกรณีที่ต้องการเปลี่ยนตัวเพราะต้องการไล่หุ้นตัวเดิมออกจากพอร์ต) ปกติแล้วจะใช้การแปลงร่างเมื่อ หุ้นตัวนั้นเหลือในมือแค่ 10-20%
การแปลงร่างมี 2 แบบคือ แปลงร่างเป็นตัวมันเอง (ที่เหลือน้อย) กับ แปลงร่างไปเป็นหุ้นตัวอื่นๆ และหุ้นตัวอื่นๆ แปลงร่างมาเป็นตัวมัน นั่นคือการแปลงร่างอย่างสมดุลซึ่งกันและกัน
การแปลงร่างจะไม่ใช่การเปลี่ยนตัวหุ้น แต่การแปลงร่างเป็นเหมือนการขยายการลงทุนในจังหวะที่ต้องขยาย นั่นคือ เมื่อแปลงจากหุ้น A ไปเป็นหุ้น B แล้ว เราต้องดูแลทั้ง Aและ B เราจะไม่ทิ้ง เมื่อใดที่มีจังหวะ เก็บหุ้น A คืนได้ ก็ควรเก็บกลับคืนมามันจะทำให้พอร์ตของเราค่อยๆ ขยายตัวอย่างเหมาะสม ไม่แนะนำให้แปลงร่างบ่อยเกินไป ทุกครั้งในการแปลงร่างต้องมีเหตุมีผลรองรับเสมอ และห้ามทำตามใจ
การจะเข้าซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาที่แพงโดยอาศัยกระแสเงินสดแฝง จะซื้อเมื่อหุ้นตัวเดิมนั้นเป็นขาขึ้น และเหลือหุ้นในมือเพียง 10-20% (จากปริมาณที่เริ่มต้นมา) เพราะหากซื้อแล้วขึ้นต่อ ทรัพย์สินเราก็มีมูลค่าสูงขึ้นไปด้วยและเหลือ 10-20% อีก ก็จะเข้าไปซื้อเพิ่มอีก แต่หากซื้อแล้วลง จะทยอยเก็บคืนที่เคยขายไป ซึ่งการทำอย่างนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อเงินสดที่เหลือในพอร์ต เพราะจะควบคุมได้ แต่เกิดการสะดุดยังมีเงินสำรองหนี้ (เงินต้นทุนที่ดึงออกมาแล้ว) ไว้รองรับ
จากนั้นทำตามขั้นตอนตามแผนการขายและซื้อ จะได้กระแสเงินสดแฝง จากทั้งหุ้นเดิม และหุ้นใหม่(ที่ซื้อเดิมและที่ซื้อใหม่) ได้เงินกระแสเงินสดแฝงมาโปะกับเงินสำรองหนี้ได้เองอย่างอัตโนมัติ
และระบบบัญชีจะต้องรัดกุมเพื่อคุมการขยายพอร์ตอย่างมีจังหวะด้วย แล้วรูปแบบหรือขบวนหุ้นจะปรับตัวเองตามจังหวะของมันอย่างอัตโนมัติ
ช่วง Spread แต่ละช่วงราคาของหุ้น
ช่วงของราคา ช่วง(บาท)
ต่ำกว่า 2 บาท 0.01
ตั้งแต่ 2 ถึง 5 บาท 0.02
ตั้งแต่ 5 ถึง 10 บาท 0.05
ตั้งแต่ 10 ถึง 25 บาท 0.10
ตั้งแต่ 25 ถึง 50 บาท 0.25
ตั้งแต่ 50 ถึง 100 บาท 0.50
ตั้งแต่ 100 ถึง 200 บาท 1.00
ตั้งแต่ 200 ถึง 600 บาท 2.00
ตั้งแต่ 600 ขึ้นไป 4.00
ตัวอย่างการเอาหุ้นมาแปลงร่างเมื่อหุ้นที่ขายไปไม่สามารถซื้อกับได้ และราคาก็ขึ้นไปสูงมากพอสมควร และมองว่าไม่สามารถรับกับได้ในระยะเวลาอันใกล้ เช่น หุ้น A ราคา 9.20 จำนวน 1,000 หุ้น แปลงร่างมาเป็นหุ้น B ที่ราคา 8.20 บาท จำนวน 1,000 หุ้น ได้เงินกระแสเงินสดแฝง 1,000 บาท (ยังไม่ได้หักค่าคอมมิชชั่น) แต่ก็ยังถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม
แต่หลังจากได้ทำการลงทุนด้วยวิธี DSM สามารถเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี ให้ติดตามได้ในบท DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร และสามารถได้รับกระแสเงินสดแฝงที่แท้จริง ไม่เหมือนกันวิธีการแปลงร่างที่ได้กระแสเงินสดแฝงเทียม
ช่องว่างของตลาดหุ้น ต้องใช้ให้ถูกจังหวะอย่าไปเร่งพอร์ต ควบคุมการใช้ช่องว่างด้วยระบบบัญชี โดยให้หุ้นสมดุลด้วยช่องว่างและให้ช่องว่างสมดุลด้วยระบบบัญชี
การแปลงร่าง จะแปลงไปเป็นหุ้นกลุ่มใดตัวใดก็ได้ ขอเพียงให้มีราคาต่ำกว่าและอยู่ในช่อง Spread หุ้นเดียวกัน และเงินที่เหลือจากการแปลงร่าง ให้ถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงแต่มันเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม ซึ่งไม่ควรแปลงร่างมากเกินไปโดยไม่จำเป็น
การแปลงร่างใช้กับหุ้นขาขึ้นเท่านั้น ถ้าหุ้นขาลงจะไม่แปลงร่าง(ยกเว้นกรณีที่ต้องการเปลี่ยนตัวเพราะต้องการไล่หุ้นตัวเดิมออกจากพอร์ต) ปกติแล้วจะใช้การแปลงร่างเมื่อ หุ้นตัวนั้นเหลือในมือแค่ 10-20%
การแปลงร่างมี 2 แบบคือ แปลงร่างเป็นตัวมันเอง (ที่เหลือน้อย) กับ แปลงร่างไปเป็นหุ้นตัวอื่นๆ และหุ้นตัวอื่นๆ แปลงร่างมาเป็นตัวมัน นั่นคือการแปลงร่างอย่างสมดุลซึ่งกันและกัน
การแปลงร่างจะไม่ใช่การเปลี่ยนตัวหุ้น แต่การแปลงร่างเป็นเหมือนการขยายการลงทุนในจังหวะที่ต้องขยาย นั่นคือ เมื่อแปลงจากหุ้น A ไปเป็นหุ้น B แล้ว เราต้องดูแลทั้ง Aและ B เราจะไม่ทิ้ง เมื่อใดที่มีจังหวะ เก็บหุ้น A คืนได้ ก็ควรเก็บกลับคืนมามันจะทำให้พอร์ตของเราค่อยๆ ขยายตัวอย่างเหมาะสม ไม่แนะนำให้แปลงร่างบ่อยเกินไป ทุกครั้งในการแปลงร่างต้องมีเหตุมีผลรองรับเสมอ และห้ามทำตามใจ
การจะเข้าซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาที่แพงโดยอาศัยกระแสเงินสดแฝง จะซื้อเมื่อหุ้นตัวเดิมนั้นเป็นขาขึ้น และเหลือหุ้นในมือเพียง 10-20% (จากปริมาณที่เริ่มต้นมา) เพราะหากซื้อแล้วขึ้นต่อ ทรัพย์สินเราก็มีมูลค่าสูงขึ้นไปด้วยและเหลือ 10-20% อีก ก็จะเข้าไปซื้อเพิ่มอีก แต่หากซื้อแล้วลง จะทยอยเก็บคืนที่เคยขายไป ซึ่งการทำอย่างนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อเงินสดที่เหลือในพอร์ต เพราะจะควบคุมได้ แต่เกิดการสะดุดยังมีเงินสำรองหนี้ (เงินต้นทุนที่ดึงออกมาแล้ว) ไว้รองรับ
จากนั้นทำตามขั้นตอนตามแผนการขายและซื้อ จะได้กระแสเงินสดแฝง จากทั้งหุ้นเดิม และหุ้นใหม่(ที่ซื้อเดิมและที่ซื้อใหม่) ได้เงินกระแสเงินสดแฝงมาโปะกับเงินสำรองหนี้ได้เองอย่างอัตโนมัติ
และระบบบัญชีจะต้องรัดกุมเพื่อคุมการขยายพอร์ตอย่างมีจังหวะด้วย แล้วรูปแบบหรือขบวนหุ้นจะปรับตัวเองตามจังหวะของมันอย่างอัตโนมัติ
ช่วง Spread แต่ละช่วงราคาของหุ้น
ช่วงของราคา ช่วง(บาท)
ต่ำกว่า 2 บาท 0.01
ตั้งแต่ 2 ถึง 5 บาท 0.02
ตั้งแต่ 5 ถึง 10 บาท 0.05
ตั้งแต่ 10 ถึง 25 บาท 0.10
ตั้งแต่ 25 ถึง 50 บาท 0.25
ตั้งแต่ 50 ถึง 100 บาท 0.50
ตั้งแต่ 100 ถึง 200 บาท 1.00
ตั้งแต่ 200 ถึง 600 บาท 2.00
ตั้งแต่ 600 ขึ้นไป 4.00
ตัวอย่างการเอาหุ้นมาแปลงร่างเมื่อหุ้นที่ขายไปไม่สามารถซื้อกับได้ และราคาก็ขึ้นไปสูงมากพอสมควร และมองว่าไม่สามารถรับกับได้ในระยะเวลาอันใกล้ เช่น หุ้น A ราคา 9.20 จำนวน 1,000 หุ้น แปลงร่างมาเป็นหุ้น B ที่ราคา 8.20 บาท จำนวน 1,000 หุ้น ได้เงินกระแสเงินสดแฝง 1,000 บาท (ยังไม่ได้หักค่าคอมมิชชั่น) แต่ก็ยังถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม
แต่หลังจากได้ทำการลงทุนด้วยวิธี DSM สามารถเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี ให้ติดตามได้ในบท DSM (29) – วิธีเล่นหุ้นDSM Music Theory คืออะไร และสามารถได้รับกระแสเงินสดแฝงที่แท้จริง ไม่เหมือนกันวิธีการแปลงร่างที่ได้กระแสเงินสดแฝงเทียม