ลดความอ้วนอย่างยั่งยืนด้วยพฤติกรรมที่ต้องบำบัดในคนอ้วน

เป็น ที่ทราบโดยทั่วว่า คนอ้วน เอวหาย มาจากติดนิสัยการกินตามใจปากทั้งปริมาณที่ทานมาก, ทานบ่อยครั้ง, ชนิดของอาหารที่ทานไม่เลือกสรรคุณภาพของอาหาร
ในที่สุดเสี่ยงภัยต่อโรคร้ายต่างๆ ตามมา นานัปการ
และ หากเราเปรียบคนอ้วนเสมือนรถยนต์ที่แต่ละวันวิ่งใช้งาน คือ (พลังงานที่ใช้ออก) ต้องมีการเติมน้ำมัน ( คือ พลังงานอาหารที่ต้องรับเข้า) แล้วหละก้อ เมื่อใดที่เราเติมน้ำมันผิดประเภท (ทานอาหารไม่เลือก) การใช้งานก็สะดุดได้ และมีการสะสมอาการไปเรื่อยๆ ในที่สุดระบบรถยนต์ก้อเสียศูนย์ได้
เฉกเช่นเดียวกันที่เรารับเข้าพลังงานอาหารมากไป ไม่จำกัด มีการใช้พลังงานออกไม่สมดุลกัน เมื่อนั้นเกิดการสะสมของการขาดความสมดุลไปเรื่อยๆ ในที่สุดร่างกายเราก็เสียศูนย์ได้เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดพฤติกรรม

พฤติกรรมที่ต้องบำบัดด้านอาหารที่ทาน เพื่อลดการเสียศูนย์ในคนที่อยากรักษาสุขภาพ ต้องปรับสมดุลของอาหารที่ทาน

1. ปรับสมดุลของคาร์โบไฮเดรต
โดยปฎิบัติตามหลักการ Low GI (Low Glycemic Index) / Low GL ( Low Glycemic Load) โดยเลือกบริโภคแป้งที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ
(ต่ำกว่า 40) ในปริมาณน้อยๆ (แต่บ่อยมื้อ) ช่วยให้อยู้ท้องนาน
วิธีการนี้จะลดการหลั่งของอินซูลิน ช่วยให้การลดน้ำหนักเป็นไปได้ง่ายและหลีกเลี่ยงอันตรายจากอินซูลินที่จะไป กระทบอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย,ลดการกระตุ้นการเพิ่มไขมันและยับยั้งการสลายไขมัน

2. ปรับสมดุลของกรดไขมัน
อย่าบริโภค กรดไขมันโอเมก้า 6 (จากน้ำมันพืช) มากเกินไป เพราะสัดส่วนของกรดไขมันจะเสียสมดุลไปด้วย
ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง, โรคอ้วน, โรคอักเสบเรื้อรังต่างๆ ฯลฯ
ปรับสมดุลของกรดไขมัน เพื่อสร้างสมดุลของ Prostaglandis ด้วยการบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3, โอเมก้า 7, โอเมก้า 9 เพิ่มขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้าย, ลดการอักเสบ, เพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดโคเลสเตอรอล เพิ่มการเผาผลาญไขมัน
กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 จะถูกนำไปสร้าง Prostaglandins 2 (PG2) มีผลให้เกิดการอักเสบ, เลือดหนืดข้น, หลอดเลือดและหลอดลมหดตัว ฯลฯ
แต่กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 จะถูกนำไปสร้าง Prostaglandins 1 และ 3 (PG1, PG3) มีผลยับยั้งการอักเสบ, ลดความข้นหนืดของเลือด, หลอดเลือดและหลอดลมขยายตัว ฯลฯ
กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 7, โอเมก้า 9 จะช่วยลด LDL โคเลสเตอรอลและเพิ่มการเผาผลาญไขมันทั่วร่างกาย

3. ปรับสมดุลของโปรตีน
เลือกรับประทาน โปรตีนคุณภาพสูง ที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน เช่น Whey Protein
ถ้าทานโปรตีนคุณภาพต่ำ จะได้กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นในปริมาณมาก แต่ได้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณน้อย เป็นเหตุให้ต้องทานโปรตีนเพิ่มปริมาณ
@ โดยปกติการทานโปรตีนมากเกินไป จะเกิดของเสียจากการสลายตัวของโปรตีน คือ แอมโมเนีย ร่างกายต้องเปลี่ยนแอมโมเนียเป็นยูเรีย แล้วขับออกทางปัสสาวะ หากทานโปรตีนมากเกินไป อาจเกิดอันตรายได้ (โดยเฉพาะคนเป็นโรคไต)*
การทานโปรตีนคุณภาพสูง ยังมีส่วนช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ซึ่ึ่งมีส่วนสนับสนุนการทำหน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมน จึงเป็นการช่วยการลดน้ำหนักอีกส่วนหนึ่งด้วย
การทานโปรตีนคุณภาพสูง ยังจะกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนกลูคากอนจากตับอ่อน
(กลูคากอน เป็นฮอร์โมนทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับอินซูลิน) ส่งผลให้มีการเร่งการสลายไขมันสะสมและยับยั้งการสร้างไขมันใหม่
ช่วยในการลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น
(โปรตีน ถือเป็นสารอาหารที่ขาดไม่ได้ จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เสริมภูมิต้านทานและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย)

นอกจากนี้ พฤติกรรมที่ต้องบำบัด ควบคู่กับอาหาร คือ ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้ง 3 รูปแบบในขณะเดียวกัน

1. Cardio Exercise ออกกำลังกายให้เหนื่อยพอเหมาะ (ให้หัวใจเต้นเป็นจำนวนครั้งระหว่าง 150 ครั้งลบอายุ ถึง 190 ครั้งลบอายุ ติดต่อกัน 20 – 30 นาที) เช่น Aerobic, วิ่ง ฯลฯ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง

2. Weight Training Exercise (ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน) เพื่อการปรับทรวดทรง เช่น ยกดัมเบล สัปดาห์อย่างน้อย 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที

3. ออกกำลังกายแบบมีแรงยืดเหยียด เช่น โยคะ, พิลาทิส สัปดาห์อย่างน้อย 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที
หากเราควบคุมพฤติกรรมทั้งด้านอาหารและด้านการออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง จะช่วยเสริมสร้างให้หุ่นสวย สุขภาพดีได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘