เติบโตอย่างยั่งยืน

 ในวงการตลาดหุ้นเวลา พูดถึงความสำเร็จของตลาดหุ้นมักจะพูดถึงเรื่อง มูลค่าตลาด
/images/emoticons/mozilla_yell.gifMarket Capitalization) ว่ามีขนาดใหญ่แค่ไหน
            ยิ่งมีขนาดใหญ่ มาก ก็ยิ่งถือว่าเก่ง ประสบความสำเร็จสูง
            แต่ ถ้ามีขนาดเล็กก็ดูจะเดือดร้อนต้องออกแรงทำให้ใหญ่ขึ้น
            มาตรการที่จะทำให้ใหญ่ขึ้น ดูเหมือนจะเน้นอยู่ 2 ยุทธศาสตร์ คือ

         1.หาบริษัทใหม่ๆมา จดทะเบียนให้มากขึ้น
            2. หาทางไปชักชวนนักลงทุนต่างด้าว ให้มาลงทุนมากขึ้น
            2 มาตรการ 2 ยุทธศาสตร์นี้ ถือว่าสำคัญและจำเป็น
         เพราะถ้ามีบริษัทเข้ามา มากขึ้น ก็หมายถึงปริมาณหุ้นในตลาดมีมากขึ้น

            ขณะ เดียวกัน ถ้ามีคนต่างประเทศขนเงินเข้ามาซื้อหุ้น
ย่อมมีส่วนทำให้ราคาหุ้น วิ่งขึ้นไปได้

           ทั้งจำนวนก็มีมากขึ้น ทั้งราคาก็ขยับขึ้น
Market Cap ก็ย่อมจะใหญ่ขึ้น
            เพราะ Market Cap จริงๆ แล้วคือ ผลคูณของปริมาณหุ้นกับ ราคาหุ้นทั้งตลาด
แล้วจะ มารวมกัน
            ผมมีข้อเสนอเป็นมาตรการที่ 3 ที่จะทำให้
Market Cap ของตลาด หุ้น
เติบโตอย่างมีคุณภาพ นอกจากจะเติบโตแบบปริมาณ ตาม 2 มาตรการแรก

            มาตรการที่ 3 คือ ให้มีความสนใจ กับคุณภาพการสร้างมูลค่า
/images/emoticons/mozilla_yell.gifQuality of Value Creation)
ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นเรียบร้อยแล้ว
            ตอน นี้ เรามีบริษัทในตลาดหุ้นกว่า 500 บริษัท

ถ้า CEO แต่ละบริษัท สามารถทำให้กำไรสุทธิของตน โตขึ้น 10%
Market Cap ก็น่าจะโตขึ้น 10% ด้วยเช่นกัน
            เป็นการโตที่ยังไม่ ต้องพึ่งจากพลังภายนอก เช่น การนำบริษัทใหม่ๆมาจดทะเบียน
หรือการดึงเงินจากต่าง ประเทศเข้ามา

เพราะ ต้องถือว่า การเติบโตแบบนี้ เป็นการเติบโตในเชิงปริมาณ
            ตรง ข้ามกับการเติบโตในเชิงคุณภาพ เป็นการเติบโตจากภายใน
คือ จากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดเรียบร้อยแล้ว
          
ถามว่า เป็นไปได้ไหม?
            ขอตอบว่า เป็นไปได้อย่างยิ่ง เห็นได้ชัดๆ จากบริษัทพลังงานใหญ่แห่งหนึ่ง
ซึ่งเข้ามาจดทะเบียนในปี 25....
          
บริษัท มีทุนชำระแล้ว 28,184,770,250 บาท
ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท
เท่ากับมีหุ้นกว่า 2,818 ล้านหุ้น
          
ตอนหุ้น IPO บริษัทนี้เสนอให้คนจอง เพียงราคา 35 บาท
ผลคือมีคนจองจนล้น ภายในเวลาพริบตาเดียว
          
Market Cap ของบริษัทนี้ ในตอน IPO จึงเท่ากับ 2,818 x 35 = 98,630 ล้านบาท

            พอวันแรกเข้ามาซื้อขาย ราคาหุ้นก็ขึ้นไปเกินราคาจองนิดหน่อย แล้วก็ลงมาตลอด
เป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน
          
ใครที่จองไม่ได้ มีโอกาสซื้อของถูกกว่าราคาจอง ได้อย่างสะดวกโยธิน
อาจจะเป็นเพราะตอนนั้น คนยังมองไม่ออก ถึงศักยภาพการสร้างมูลค่า
ของ CEO และผู้บริหาร ก็เป็นได้

            หลังจากนั้น พอผลประกอบการออกมาดี ไตรมาสแล้ว ไตรมาสเล่า นักลงทุนทั้งไทย ทั้งเทศ
ทั้งใหญ่ ทั้งเล็ก ก็หันมาให้ความสนใจ ทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นเรื่อยๆ
แม้บางครั้งจะมีการปรับตัวลงมาบ้าง ก็เป็นช่วงสั้นๆ
แต่แนวโน้มระยะยาว ดูสดใสยิ่งนัก
            หุ้นของบริษัทเคยมีราคาสูงถึง 440 บาทต่อหุ้น
Market Cap  ขึ้นมาเท่ากับ 2,818 ล้านหุ้น x 440
หรือ 1,239,920 ล้านบาท คิดเป็น 12.6 เท่าของตอน
IPO ทั้งๆที่บริษัทไม่ได้มีการเพิ่มทุน แม้แต่หุ้นเดียว

            จริง ครับ บริษัทอาจจะโชคดี ที่อยู่ในหมวดพลังงาน
เลยได้อานิสงฆ์ จากการที่ราคาน้ำมันดิบ ขึ้นมาอย่างบ้าเลือด
ถึงบาเรลล์ละกว่า $126 หรือในอนาคตอาจจะสูงกว่านี้ก็ได้
ไม่มีใครรู้
            ผม ว่า ราคาน้ำมันขึ้น ก็เป็นเพียงปัจัยสำคัญ
ปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยให้รายได้ของบริษัท เติบโตเพิ่มขึ้น
            แต่ ถ้าทีมผู้บริหาร ซึ่งมี CEOคนเก่งเป็นแม่ทัพ
ไม่ได้บริหารงานอย่างมุ่ง มั่น เพื่อสร้างมูลค่า ให้แก่ผู้ถือหุ้น
บริษัทอาจจะไม่ได้มาไกล ขนาดนี้ ก็เป็นได้

            เห็น ไหมครับ บริษัทนี้ช่วยเพิ่ม Market Cap ได้
โดยไม่ต้องมีการเพิ่มจำนวน หุ้น แต่ก็เป็นได้ว่า
มีนักลงทุนต่างชาติ เช้ามาซื้อช่วยดันให้ราคาวิ่งขึ้นด้วย
            อย่างไรก็ดี ผมเชื่อว่า ต่างชาติเป็นนักลงทุนที่มีสมองเหมือนกัน
ไม่ใช่ลงทุนตามกระแส และที่เขาเข้ามาซื้อหุ้นบริษัทนี้
เพราะเชื่อในพลังการสร้างมูลค่า ของทีมผู้บริหารเป็นหลัก

            โดยสรุปคือ ถ้าเราทำให้ CEO ทั้ง 500 กว่าบริษัท
มีความตั้งใจมุ่งมั่น ที่จะสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น อย่างมีคุณภาพ

            ตลาดหุ้นของไทย จะเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ผู้ลงทุนจะได้นอนหลับฝันดีครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘