ความเป็นไปได้ของมูลค่า

เมื่อพูดถึงมูลค่าหุ้น (Value) บางท่านอาจจะรู้สึกว่าเป็นของที่ไม่มีรูปธรรม สู้ตัวราคาหุ้น (Price) ไม่ได้ เพราะมีความชัดเจนกว่า

จริงครับ มูลค่าหุ้นอาจจะเป็นอะไรที่กำหนดให้ตายตัวลำบาก แต่ว่ามันมีอยู่จริง ตราบใดที่บริษัทที่เราเข้าไปลงทุนด้วยการซื้อหุ้น มี CEO ที่มุ่งมั่นจะสร้างผลประกอบการดีๆ เพื่อผู้ถือหุ้นทุกๆคนอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เอาใจแต่เฉพาะผู้ถือหุ้นรายใหญ่

แต่ผมก็คิดต่อไปว่า เวลาพูดถึงมูลค่าหุ้น หมายถึงเรากำลังพูดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเหตุผลสำคัญที่เราซื้อหุ้น เพราะว่าราคาหุ้นในปัจจุบัน ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง

คำถามคือ มูลค่า (Value) นั้นสำคัญไฉน? จึงต้องมีการพูด มีการย้ำอยู่ตลอดเวลา
คำ ตอบคือ การซื้อหุ้นเหมือน กับการเข้าตีเมือง แต่กองทัพคือเงินของนักลงทุนมีจำกัด จะเที่ยวไปตีผิดตีถูก ทำสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้
นักลงทุนต้องตระหนักไว้เสมอว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้เม็ดเงินที่มีอยู่ เกิดดอกออกผล และปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องพยายามตีให้ถูกเมือง ต้องพยายามเลือกตีเมืองที่คิดว่ามีศักยภาพสูงไว้ก่อน ด้วยการรู้เขา รู้เราให้มากที่สุด
วิธีการที่ดีที่สุดคือ ต้องพยายามหาว่า เมืองที่จะตีมีค่าแค่ไหน

การลงทุนใน หุ้นก็เหมือนกัน เราต้องพยายามคำนวณให้ออกว่า ถ้าเราซื้อหุ้นตัวนี้แล้ว มูลค่าที่ CEO พยายามจะสร้าง ควรจะอยู่ตรงไหน
จากประสบการณ์ของผม พบว่า เอาเข้าจริงแล้ว มูลค่า หุ้นไม่ได้มีค่าเดียว แต่น่าจะออกมาเป็นช่วงมากกว่า เพราะการคำนวณมูลค่าหุ้น ต้องอาศัยการตั้งข้อสมมุติ (Assumptions) ไว้หลายตัวทีเดียว
ยกตัวอย่าง นะครับ ถ้าบริษัทที่เราจะซื้อหุ้น มียอดรายได้ในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท ปีต่อไปควรจะมียอดรายได้เท่าใด?
คำตอบคือ เป็น มีความเป็นไปได้เยอะ แต่เพื่อความง่าย ต้องเอาอัตราเติบโตในอดีตมาดูด้วย ถ้าได้เฉลี่ย 15% ก็ใช้ 15%
แต่ก็อาจมีการขยายไปได้ว่า ถ้าเกิดเอาแค่ 10% ล่ะ? หรือดีมากอาจเติบโตที่ 20% ล่ะ?
ถ้าเป็นเช่นนี้ ความเป็นไปได้ของรายได้ก็เกิดขึ้นได้ 3 ทาง

หมายความว่า แม้ว่ารายได้ของปีที่แล้วจะอยู่ที่เพียง 10,000 ล้านบาท แต่รายได้ที่คาดว่าจะเกิดในปีนี้ มีทางเป็นไปได้ถึง 3 ทางคือ 11,000, 11,500 และ 12,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่า CEO จะสามารถทำให้รายได้ เติบโตที่ 10, 15 หรือ 20%
คราวนี้ก็ต้องมาดู Net Margin กันบ้าง ถ้าบริษัทเคยทำได้ระหว่าง 4 – 6% ความเป็นไปได้ของNet Margin ก็กำหนดได้ถึง 3 ตัว คือ 4, 5 และ6% ซึ่งจะส่งผลให้ กำไรสุทธิคาดการ (Expected Net Profit) ออกมาได้ถึง 9 ตัว!

จากภาพนี้ ท่านนักลงทุนคงจะเห็นว่า กำไรสุทธิที่คาดการ (Expected Net Profit) สามารถเกิดขึ้นได้ถึง 9 ทาง โดยการเปลี่ยนแปลงสมมุติฐาน ของปัจจัยแค่ 2 ตัวเท่านั้น
พูดง่ายๆ ก็คือ ความเก่งไม่เก่งของCEO ในการขยายตลาด ซึ่งทำให้เกิด Revenue Growth กับในการควบคุมต้นทุน และ ค่าใช้จ่าย เพื่อให้ได้ Net Margin ดีๆ มีผลต่อการทำกำไรอย่างยิ่ง

ทีนี้พอเราแปลงกำไรสุทธิให้เป็น EPS ด้วยการเอาหุ้นทั้งหมดหาร แล้วคูณด้วย Payout Ratio
ก็จะได้ เงินปันผลต่อหุ้น แล้วจับใส่ใน Dividend Valuation Matrix ซึ่งมี Dividend Yield อยู่ 7 ตัว
ระหว่าง 4 – 10% ความเป็นไปได้ของ มูลค่าจะออกมาถึง 63 ค่า!

คำถามคือ นักลงทุนจะเลือกฟันธงเอา Value ตัวไหนดี? นี่คือการบ้านที่นักลงทุนต้องคิด!
การ คำนวณหามูลค่าเป็นเรื่องไม่ยาก แต่การประเมินว่า มูลค่าช่วงไหนเหมาะสมสำคัญกว่า
สิ่งที่น่าสนใจจากตัวอย่างนี้ก็คือ ผลประกอบการในรูปกำไรสุทธิใน 1 ปีข้างหน้า สามารถออกมาแตกต่างกันได้ระหว่าง 440 ถึง 720 ล้านบาท หรือแตกต่างกันถึงเกือบ 64% ทีเดียว

ฝีมือของ CEO จึงมีความสำคัญนัก เพราะต้องทำ 2 อย่างให้พร้อมกัน
คือ 1. เพิ่มรายได้ให้เติบโตอย่างเหมาะสม
และ2. ทำให้อัตรากำไรสุทธิอยู่ในเกณฑ์สูง
โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) พอใจ!

ขออนุญาตสรุปว่า การคำนวณหามูลค่า ไม่ใช่ของยาก เรื่องที่ยากที่สุด คือการหา CEO ดีๆ เก่งๆ
ที่ตั้งใจสร้าง มูลค่าให้ผู้ถือหุ้น ด้วยความพยายามรักษาการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับความพยายามควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย เพราะต้องเป็นคนที่มีศิลปะในการเป็นผู้นำสูง และมีความรับผิดชอบที่แท้จริงต่อผู้ถือหุ้น

ตัวเลขที่เราลองทำๆกันอยู่ ผมเชื่อว่า CEO ที่มีคุณภาพก็ต้องทำเหมือนกัน และยังเชื่อว่าคงทำให้ละเอียดลึกซึ้งกว่าผู้ถือหุ้น เพราะ CEO แบบพญาคชสีห์ จะมีสิ่งนี้อยู่ในจิตวิญญาณอยู่แล้ว อย่างไรซื้อหุ้นไว้ก็ปลอดภัย เว้นแต่ราคาจะขึ้นสูงเกินไปแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้ นักลงทุนต่างก็หูไวตาไว ของดีๆไม่ปล่อยให้คอยเก้อ
ไม่ เป็นไรครับ ของดีๆราคาสูงๆ อาจต้องใจเย็น ให้คุณหมีเข้ามา ทำให้ราคาตก ค่อยซื้อตอนอ่อนตัวก็ได้

ขออย่าง เดียว อย่าจุดไต้ตำตอ ไปซื้อหุ้นของ CEO ช้างเกเรเข้าจะเจ็บตัวได้นะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘