เพิ่มทุนด้วยมิตรใหม่

ในสนามรบการค้า เมื่อCEOนำทัพออกศึกไปสัก ระยะหนึ่ง ก็มักจะมีความจำเป็นต้องหาเงินเข้ามา
เพื่อช่วยให้กองทัพสามารถ ขยายไปครอบครองพื้นที่การตลาด
            เงินที่จะหาเข้ามานี้ จะไปกู้มาจากเจ้าหนี้ หรือจะไปเพิ่มทุน ย่อมทำได้ ขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างทุนของกองทัพอยู่ในสถานใด
            ถ้า มีเจ้าหนี้และเงินกู้ยืมเยอะ เรียกว่ามีDebt สูง แต่ด้านส่วนของทุน คือEquity มีน้อย
พูดง่ายๆ คือมี Debt to equity [D/E] ratio สูง ก็ต้องตัดสินใจเสนอให้สภาสงครามคือ คณะกรรมการ
พิจารณาเพิ่มทุน
            การ เพิ่มทุนก็ทำได้ถึง 5 วิธี คือ

·      หุ้น จองคะนองฤทธิ์ (IPO)

·      มิตร ใหม่ใจถึง (Private Placement)

·      ดึง จากคนนอก (Public Offering)

·      บอกกล่าว ตามสิทธิ (Right Issues)

·      คิด ได้ตามสบาย (Warrant)

ก่อนเข้าตลาดหุ้น CEO มีทางเลือกน้อย เพราะถ้าไม่เพิ่มทุนด้วยเงินตัวเอง เนื่องจากถือหุ้นเกือบ100% บางทีลงทุนจนหมดตัว ลงทุนต่อไม่ไหว ก็ต้องหาคนอื่นมาร่วมทุน ด้วยวิธีมิตรใหม่ใจถึง จะทำตามวิธีอื่นอาจติดขัดด้วยกฎหมายจึงเกิดกรณีการเพิ่มทุนแบบ Private placement ถ้าโชคดีคุยกับคนที่เข้าใจและสนใจ มีความต้องการที่ตรงกัน ก็สามารถตกลงปลงใจร่วมทุนกันเลย
            มีคนที่สนใจจะร่วม ทุนแบบนี้ โดยจัดเป็นกองทุนร่วมทุน (Venture Capital) อาชีพหลัก คือคอยเข้าไปร่วมทุนกับบริษัทที่กำลังเติบโต ลงทุนสัก 3 – 4 ปี ถ้าธุรกิจของบริษัทเริ่มไปได้ดี ก็อาจจะเสนอขายคืนเจ้าของโดยมีกำไร หรือจะรอจนหุ้นเข้าตลาด ค่อยขายก็ได้
            ส่วน มากพวก Venture Capital จะเข้ามาร่วมทุนแบบการเงิน/images/emoticons/mozilla_yell.gifFinancial Partners)
เพราะ จุดแข็งของ Venture Capital คือ เรื่องเงิน อาจไม่ชำนาญเรื่องการรบในสนามการค้า
            แต่ บางที CEO ก็ จะเจอ ผู้ร่วมทุนอีกแบบหนึ่งที่พร้อมจะรบเคียงบ่าเคียงไหล่ เป็นการร่วมทุนแบบพันธมิตร /images/emoticons/mozilla_yell.gifStrategic Partners) เช่น CEO เก่งด้านการผลิต แต่คนมาร่วมทุนเก่งด้านการตลาด อย่างนี้ร่วมทุนและทำงานคู่กันไป ก็เป็น win – win ทั้งคู่
            สำหรับพวก Strategic Partners ส่วนมากก็จะกอดคอกับ CEO ร่วมหัวจมท้ายกัน
จนบริษัทแข็งแรงพอ เอาเข้าตลาดหุ้นเพื่อขยายงานต่อ
            แม้เมื่อเอาหุ้นเข้าตลาด แล้ว Strategic Partners หลายแห่ง ก็ยังยืนหยัดเคียงคู่กับ CEO ด้วยการถือหุ้นเป็นพันธมิตรต่อ มิได้ขายหุ้นออกเหมือนกลุ่ม Venture Capital
            เพราะเป้าหมายของ Strategic Partners ค่อนข้างแตกต่างกับ Venture Capital ซึ่งเข้ามาถือในฐานะของการลงทุนแบบ Financial Partners
            ถ้าได้กำไรตามสมควรก็ขาย เพื่อออกจากโครงการ /images/emoticons/mozilla_yell.gifExit) จะขายให้เจ้าของเดิมหรือขายในตลาดหุ้นก็ได้ ไม่ว่ากัน

ไม่เหมือน Strategic Partners ที่เข้ามาแบบร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อร่วมบริหารให้บริษัทมีการสร้างมูลค่าที่ดีขึ้นแบบระยะยาว
            ถาม ว่าทั้ง Venture Capital และ Strategic Partners เข้ามาลงทุนแล้ว มีขาดทุนบ้างไหม?
            มีแน่ นอน
          
            เพราะการลงทุนคือความเสี่ยง ถ้า CEO ทำไม่ได้ ตามแผนการที่วางไว้ หรือเจอความเสี่ยงใหญ่ ๆ
เช่น การแข่งขันอย่างรุนแรง  การขึ้นราคาน้ำมันอย่างสุดกู่ อาจทำให้ธุรกิจจอดไม่ต้องแจว การร่วมทุนที่ลงไปก็สูญได้
            จึงต้องดูให้ดีทั้ง 2 ฝ่าย CEO ก็ต้องดูให้ดีว่ามิตรใหม่ที่เข้ามาจะไม่เข้ามาก่อกวน แต่จะเข้ามาช่วยกันสร้างประโยชน์
            ส่วนผู้ร่วมทุน ก็ต้องดูให้รอบคอบ ว่าบริษัทที่เลือกไว้ จะมีโอกาสอยู่ในเกณฑ์สูงที่จะเติบโต ด้วยการวิเคราะห์อย่างละเอียด รอบคอบ อย่าเชื่ออะไรง่ายเกินไป จะได้ไม่เสียใจในภายหลัง
            สำหรับ CEO ที่มีฝีมือ สามารถพาตัวรอดและเติบโต จนเข้าตลาดหุ้นได้ โดยไม่ต้องพึ่งเงินจากคนอื่น ก็ต้องมีการเพิ่มทุน ด้วยวิธีหุ้นจองคะนองฤทธิ์ คือการทำ IPO หรือ Initial Public Offer ด้วยการกระจายขายหุ้นให้สาธารณชนเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวหุ้นคุ้นๆกันดี
            ที นี้พอทำไปๆ ธุรกิจขยายตัวดีขึ้น ต้องมีการเพิ่มทุนอีก ก็ต้องปรึกษากับสภาสงคราม ว่าจะต้องเพิ่มทุนอีกไหม?
            ถ้าต้อง  จะเอาวิธีไหน?
          
            ใน กรณีที่ต้องเพิ่มแบบ Private Placement หรือ กลยุทธมิตรใหม่ใจถึง ก็คงทำเหมือนก่อนเข้าตลาดหุ้น ด้วยการติดต่อกับ Venture Capital หรือหา Strategic Partners ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
แต่สุดท้ายต้องได้รับการ อนุมัติจากผู้ถือหุ้น ถือเป็นเสียงสวรรค์ที่สำคัญมาก CEO จะตัดสินเองทำอย่างรวบรัดไม่ได้เด็ดขาด
            Venture Capital ที่ เข้ามาในช่วงนี้ มักจะเป็นกองทุนของเอกชน /images/emoticons/mozilla_yell.gifPrivate Equity) ที่มีเงิน แต่ไม่ชอบเสี่ยงกับการลงทุนในธุรกิจ ที่ยังมีอายุไม่มาก มักจะรอลงในธุรกิจที่มีผลงานบ้าง แม้จะต้องจ่ายราคาสูงกว่าก็ยอม คือเน้นความแน่นอนไว้ก่อน กำไรน้อยหน่อยไม่เป็นไร
            ส่วน Strategic Partners ที่เข้ามาในห้วงเวลานี้ ก็ย่อมมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะเวลาหุ้นอยู่ในตลาด ต้องเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น เพราะกฎของการกำกับดูแลที่ดี
            เมื่อ เป็นเช่นนี้ กองทัพของ CEO ก็จะเติบโตได้รวดเร็วขึ้น เพราะรู้จักใช้ตลาดหุ้นให้เป็นคุณ ทำการระดมทุนจากตลาดทุน อย่างชาญฉลาด ด้วยการทำตัวให้เป็นคนดี มีฝีมือ
            มีหุ้นแบบนี้มากๆ นักลงทุนก็ยิ้มได้ เพราะมีคนเอาเงินไปช่วยทำงานให้

            ขอขอบคุณท่าน CEO
            ที่ ดีทั้งฝีมือ ดีทั้งจิตใจครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘