วางแผนแต่งงาน

การมองหาคู่ชีวิตเพื่อสร้างครอบครัวร่วมกันนั้น นอกจากจะต้องศึกษา เรียนรู้ และเข้าใจซึ่งกันและกันแล้ว ยังต้องพยายามปรับตัวเข้าหากัน และรับผิดชอบเรื่องต่างๆ ร่วมกัน เพื่อให้การเริ่มต้นชีวิตคู่มีความสุขและราบรื่น

จะจัดงานแต่ง(งาน)...ให้ร่ำรวยความสุขและครอบครัวมั่นคง

การแต่งงานถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของชีวิต เพราะคุณจะต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนที่คุณมั่นใจว่าจะสามารถดูแลกันไปจนแก่จน เฒ่า ซึ่งการแต่งงานในปัจจุบันสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แถมยังมีแพคเกจให้เลือกมากมาย คำแนะนำต่อไปนี้จะเป็นแนวทางในการวางแผนแต่งงาน เพื่อสร้างครอบครัวให้มีความสุข มีความมั่นคง และงบไม่บานปลาย

กำหนดงบประมาณ
เพราะงานแต่งงานจะมีค่าใช้จ่ายมากมาย เช่น ค่าจัดเลี้ยง ค่าชุดเจ้าบ่าวเจ้าสาว ค่าการ์ดเชิญ ค่าของชำร่วย ฯลฯ ซึ่งคุณควรกำหนดงบประมาณขึ้นมา และบริหารค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินวงเงินที่วางไว้ เพื่อให้เกิดความสบายใจหลังเสร็จงาน

บัตรเครดิตเฉพาะกิจ
การทำบัตรเครดิตเฉพาะกิจจะช่วยให้คุณบริหารงบประมาณและควบคุมค่าใช้จ่ายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบรายการต่างๆ ได้ และหากมีปัญหาเกิดขึ้นในรายการต่างๆ ก็สามารถสอบถามกับบริษัทบัตรเครดิตนั้นได้

อย่าใช้เงินเกินงบประมาณที่กำหนดไว้
พยายามควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในวงเงิน เพราะการใช้จ่ายเกินงบประมาณที่วางไว้มีแต่จะสร้างหนี้และนำปัญหาทางการเงิน มายังครอบครัวของคุณ

คำนวณจำนวนแขกอย่างรอบคอบ
เพราะจำนวนแขกจะมีผลต่อการคำนวณค่าอาหารให้เหมาะสมกัน

เรียนรู้บทเรียนบทแรกของชีวิตคู่ “เรียนรู้ที่จะเข้าใจและประนีประนอม”
บางครั้งคุณอาจจะพบว่ามีหลายเรื่องที่ความคิดเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้คุณครองเรือนอย่างราบรื่นในระยะยาวก็คือ การเรียนรู้ที่จะเข้าใจและการประนีประนอม

ใส่ปุ๋ยต้นรัก...ด้วยสุขภาพทางการเงินที่ดี

เมื่อคนสองคนตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน นอกจากจะต้องปรับตัวเข้าหากันแล้ว ยังต้องมีความรับผิดชอบเรื่องต่างๆ ภายในบ้านร่วมกันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “ค่าใช้จ่าย” หากไม่ได้มีการตกลง ทำความเข้าใจกัน หรือไม่ได้มีการวางแผนทางการเงินร่วมกัน อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและมีปากเสียงกันได้ ซึ่งแนวทางเหล่านี้... อาจช่วยให้คู่แต่งงานใหม่เริ่มต้นชีวิตคู่ได้อย่างมีความสุขและราบรื่น

คุยกันเรื่องรายได้ รายจ่าย และเงินออม

เพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่ายร่วมกัน บางคู่อาจนำรายได้มารวมกันไว้เป็นกองกลางสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ภายในบ้าน บางคู่อาจแบ่งกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วแต่จะตกลงกัน

ผลัดกันจ่ายค่าใช้จ่ายภายในบ้าน

วิธีนี้จะทำให้ทั้งสองฝ่ายทราบค่าใช้จ่ายที่แท้จริงที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบ และช่วยกันประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านั้น ทำให้มีเงินเหลือออมมากขึ้น

ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายด้วยกัน

จะทำให้เห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของแต่ละคน ว่ามีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและสามารถลดลงได้ ซึ่งจะทำให้บริหารงบประมาณครอบครัวได้ง่ายขึ้น เช่น คุณสองคนออกไปทานอาหารนอกบ้าน 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ฯลฯ

กินอยู่อย่างพอเพียง

ใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สร้างภาระหนี้สินให้เดือดร้อนทั้งตนเองและคู่ชีวิต รวมทั้งรู้จักเก็บออมเพื่ออนาคต ย่อมทำให้ชีวิตคู่มั่นคงและมีความสุข

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘