ทำประกันชีวิตและสุขภาพ

เพื่อเป็นการบรรเทาความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และผลกระทบทางการเงินที่อาจจะส่งผลต่อเป้าหมายทางการเงินได้ การเลือกทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือการประกันทรัพย์สินอย่างเหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นกำลังสำคัญในการหารายได้หลักของครอบครัว

กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกี่ประเภท?

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจจะซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้เพื่อเป็นหลัก ประกันให้แก่ตัวเองและครอบครัว ลองพิจารณาตามแนวทางต่อไปนี้ดู ก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทใดดี จึงจะเหมาะสมและตรงกับความต้องการที่สุด

แบบกำหนดระยะเวลา (Term Insurance)
มีระยะเวลาคุ้มครองที่แน่นอน บริษัทประกันจะจ่ายเงินเฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างสัญญามี ผลบังคับเท่านั้น การประกันแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่สูงนัก และต้องการความคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือคุ้มครองหนี้สิน เช่น การประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อบ้านระยะเวลา 10 ปี

แบบตลอดชีพ (Whole-life Insurance)
มีระยะเวลาคุ้มครองตลอดชีพ หรือจนถึงเมื่อผู้เอาประกันอายุ 90 ปี โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงกรณีที่คุณเป็นเสาหลักของครอบครัว เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันและเกิดเสียชีวิตไป คนที่อยู่ข้างหลังจะยังคงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้

แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)
เป็นการผสมผสานระหว่างการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรืออยู่จนครบสัญญา ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับการออม ในทางตรงกันข้าม หากผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินตามจำนวนทุนประกันเหมือนแบบตลอดชีพ

แบบเงินได้ประจำหรือเงินรายปี (Annuity Insurance)
เป็นการคุ้มครองรายได้ที่สม่ำเสมอเมื่อเกษียณอายุ หรือทุพพลภาพ โดยจ่ายให้เป็นงวดๆ จนกว่าผู้เอาประกันจะเสียชีวิต การประกันแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเงินไว้ใช้จ่ายยามชรา

เลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตอย่างไรดี?

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจจะซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตไว้เพื่อเป็นหลัก ประกันให้แก่ตัวเองและครอบครัว ลองพิจารณาตามแนวทางต่อไปนี้ดู ก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทใดดี จึงจะเหมาะสมและตรงกับความต้องการที่สุด

สถานะทางครอบครัวและภาระความรับผิดชอบ

คนโสดที่ไม่มีภาระใดๆ หรือคนที่มีครอบครัวแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร เหมาะกับกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์และแบบเงินได้ประจำ แต่ถ้าเป็นคนที่มีครอบครัว มีบุตร และมีภาระดูแลบิดามารดา อาจจะเหมาะกับกรมธรรม์แบบตลอดชีพ ซึ่งมีเบี้ยประกันที่ต่ำกว่าแบบอื่น แต่จะช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่คุณเป็นเสาหลักของครอบครัวได้

ภาระทางการเงิน

หากไม่แน่ใจว่าจะสามารถส่งเบี้ยประกันตามจำนวนและเวลาที่กำหนดได้ คุณควรเลือกกรมธรรม์ที่ส่งเบี้ยประกันไม่สูงนัก แต่สามารถให้ความคุ้มครองได้ตามที่ต้องการ แม้ว่าผลประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่มาก แต่ก็สามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้

ภาระหนี้สิน

กรณีที่คุณมีภาระหนี้สิน คุณควรเลือกซื้อกรมธรรม์แบบกำหนดระยะเวลา โดยให้ประโยชน์ที่ได้รับครอบคลุมหนี้เหล่านั้น เพราะหากคุณต้องเสียชีวิตหรือพิการจนไม่สามารถหารายได้ต่อไป ประกันชีวิตประเภทนี้จะช่วยชำระหนี้สินเหล่านั้นแทนคุณได้

การเลือกประกันชีวิตประเภทที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณและครอบครัวได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งไม่สร้างภาระทางการเงินให้คุณมากจนเกินไปด้วย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘