บทที่ 8.5: การบรรลุมรรคผลนิพพาน: สามัญญผลลำดับที่ ๔

สามัญญผลลำดับที่

เมื่อผู้เจริญภาวนาบรรลุ “อิทธิวิธี แล้ว ถ้ายังสามารถประคองจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ต่อไปอีก จิตย่อมบริสุทธิ์ขึ้นผ่องแผ้วสุกสว่างขึ้นอีก ปราศจากกิเลสและอุปกิเลส จึงทวีประสิทธิภาพในการงานยิ่งขึ้นอีก ยังผลให้บรรลุญาณซึ่งสามารถฟังอะไรได้ยินหมดตามความปราถนา ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูว่า

ภิกษุ นั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มจิตไปเพื่อ ทิพยโสต เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์

มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส นุ่มนวล ควรแก่การงานตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตเพื่อทิพยโสต เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด (คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ดังกล่าวแล้ว) มหาบพิตรนี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ

ทิพยโสต หรือ ทิพพโสต หรือที่มักเรียกกันว่า หูทิพย์ เป็นสามัญญผลอันเกิดจากการทำใจให้บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้น

------------------------------------------------

สามัญญผลสูตร ที.สี ๙/๑๓๔/๑๐๔

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘