บทที่ 8.1: สามัญญผลเบื้องสูง

สามัญญผลเบื้องสูง

พระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้สึกประทับใจ และศรัทธาใน

พระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงเคารพเทิดทูนพระพุทธคุณไว้สูงสุด ทั้งประจักษ์แจ้งในพระอัจฉริยภาพของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเลิศล้ำกว่าเจ้าลัทธิอื่นๆ อย่างเทียบเทียมมิได้เลย ในลำดับนั้นเองพระพุทธองค์จึงทรง

แสดงสามัญญผลที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นจนถึงขั้นสูงสุด อันได้แก่ วิชชา ซึ่งเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพาน

การบรรลุมรรคผลนิพพาน

การที่บุคคลจะสามารถบรรลุผลมรรคนิพพานได้นั้น มีหลักสำคัญอยู่ว่า ต้องอบรมใจให้เป็นสมาธิแน่วแน่ห้ได้เสียก่อนโดยการวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นที่ตั้งถาวรของใจเมื่อใจของผู้เจริญภาวนาเป็น

สมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้น ไม่ซัดส่าย สงบนิ่ง มั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียว ใจก็จะใสบริสุทธิ์ขึ้นเรื่อยๆ จนปรากฎเป็น

ดวงกลมสุกสว่าง ผุดขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ สภาวะที่เกิดขึ้นเช่นนี้ ย่อมหมายความว่า กิเลสเบื้องกลาง

หรือ ที่เรียกว่า นิวรณ์ ๕ ได้สงบระงับจากใจไปแล้ว ใจจึงดำดิ่งนิ่งแน่วเข้าสู่ภายในต่อไปอีก ทำให้ผู้เจริญ

ภาวนาบรรลุฌานทั้ง ๔ ระดับไปตามลำดับๆ ดังได้กล่าวแล้วในบทที่ ๗

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘