บทที่ 6.5 : ข้อปฏิบัติเบื้องต้นของพระภิกษุ: ๒. มีอาชีพบริสุทธิ์

๒. มีอาชีพบริสุทธิ์

การมีอาชีพบริสุทธิ์ของพระภิกษุนั้น มีคำศัพท์โดยเฉพาะว่า อาชีวปาริสุทธิศีลศัพท์เฉพาะคำนี้แยก

พิจารณาได้ ๓ คำ คือ

คำที่ ๑ อาชีว คือ อาชีพ หมายถึง พฤติการณ์ที่คนเราได้อาศัยเลี้ยงชีวิต

คำที่ ๒ ปาริสุทธิ คือ บริสุทธิ์ หมายถึง ความสะอาดหมดจดจากกิเลสอันชั่วช้า ปราศจากการประพฤติทุศีล

คำที่ ๓ ศีล คือ ภาวะปรกติ ดังนั้น อาชีวปาริสุทธิศีล จึงหมายถึง ภาวะปรกติในการเลี้ยงชีวิตอย่างสะอาดหมดจด ปราศจากการประพฤติทุศีล

เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้พระภิกษุปุระกอบอาชีพใดๆ แบบฆราวาส พระภิกษุจึงต้อง

ดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัจจัย ๔ คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) และคิลานฌสัช

(ยาบำบัดโรค) ซึ่งได้รับมาจากทายกทายิกา

พระภิกษุเลี้ยงชีวิตอย่างสะอาดหมดจด ปราศจากการประพฤติทุศีล ย่อมพอใจปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ จัดว่า

เป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ในทำนองกลับกันพระภิกษุที่มุ่งแสวงหาปัจจัย ๔ มาปรนเปรอตนเองด้วยกลวิธีทุศีลต่างๆ

จัดว่าประพฤติมิจฉาอาชีวะ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์

ลักษณะอาชีพไม่บริสุทธิ์

เพื่อให้เข้าใจอาชีวปาริสุทธิศีลชัดเจน จึงควรกล่าวถึงลักษณะอาชีพไม่บริสุทธิ์ของพระภิกษุเสียก่อน ลักษณะ

ที่ถือว่าเป็นมิจฉาอาชีวะหรืออาชีววิบัติของพระภิกษุนั้น อยู่ที่การแสวงหามาด้วยการล่อหลอก และการละเมิด

สิกขาบท ซึ่งมีผลให้สิ่งของที่ได้รับมาไม่บริสุทธิ์ เป็นของไม่ควรบริโภค

การแสวงหาด้วยการล่อหลอกนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงรายละเอียดไว้มากมาย พระอรรถกถาจารย์

ได้แบ่งเป็นหัวข้อไว้ดังนี้

๑) กุหนา (อ่านว่า กุ-หะ-นา) หมายถึง การหลอกลวง มีอุทาหรณ์แสดงไว้ พวก คือ

พวกแรก พระภิกษุเสแสร้งแสดงให้ทายกเข้าใจว่า ตนเป็นผู้สันโดษมักน้อย ไม่ปรารถนาจะรับสิ่งของใด ๆ เพื่อ

ทำให้ทายกนึกนิยมสรรเสริญตนและคิดว่า ถ้าจะหาเครื่องไทยธรรมมาถวายพระภิกษุรูปนี้ก็จะได้บุญมาก ครั้น

เมื่อทายกนำสิ่งของมาถวาย ก็จะเสแสร้งกล่าวว่า ความจริงตนไม่ปรารถนา

จะรับสิ่งเหล่านั้นเลย แต่เพื่อจะอนุเคราะห์ทายกนั้น ตนก็ยินดีจะรับ การแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ ก็เพื่อลวงให้

ทายกรู้สึกนิยมชมชอบตน แล้วชักชวนกันหาสิ่งของดี ๆ มาถวายอีกเพราะคิดว่าคงจะได้บุญมาก

พวกที่สอง ชอบพูดเป็นเลศนัย โดยมีเจตนาที่จะทำให้หลงเข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุณานขั้นสูงหรือเป็นพระ

อริยบุคคลบรรลุโลกุตตรธรรม โดยการกล่าวถึงบุคลิกลักษณะของสมณะที่บรรลุโลกุตตรธรรมบ้าง กล่าวถึง

คุณวิเศษของสมณะบางรูปที่ตนรู้จักคุ้นเคยบ้าง การกล่าวถึงเรื่องราวในทำนองนี้บ่อย ๆ ก็จะทำให้มหาชน

หลงเข้าใจว่าพระภิกษุรูปนั้นบรรลุคุณวิเศษเป็นพระอริยบุคคลแล้ว จึงชักชวนกันมาถวายบิณฑบาต เสนาสนะ

และปัจจัยต่าง ๆ มากมาย

พวกที่สาม ชอบแสร้งทำตนให้ทายกเลื่อมใส ด้วยอิริยาบถที่แสดงว่าตนเป็นพระภิกษุเคร่งในพระธรรมวินัย

ทายกจึงพากันน้อมนำสักการะมาถวายมากมาย

๒) ลปนา หมายถึง พูดพิรี้พิไร ได้แก่ การพูดประจบเลียบเคียงต่างๆนานา โดยมีเจตนาจะได้ปัจจัย

ไทยธรรมจากทายก พระอรรถกถาจารย์ได้ยกอุทาหรณ์ไว้หลายอย่าง เป็นต้นว่าเมื่อพระภิกษุเห็นทายกเข้ามาสู่

วิหาร ก็รีบชิงทักถามขึ้นก่อนว่าทายกต้องการนิมนต์ภิกษุหรือ ถ้ามีความประสงคฺเช่นนั้น อาตมาก็จะเป็น

ธุระกาภิกษุตามไปทีหลัง

อีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อทายกมาสู่วิหาร แล้วสนทนาซักถามด้วยเรื่องต่างๆ พระภิกษุก็พยายามประชาสัมพันธ์

ชื่อเสียงของตนเองว่า มีพระราชาหรือข้าราชบริพารระดับสูง ชื่อนั้นชื่อนี้มีความเลื่อมใสตน หรือพูดยกตนเอง

ว่า มีสกุลใดสกุลหนึ่งที่มีอันจะกิน คอยถวายลาภสักการะให้ตนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เคยถวายลาภสักการะ

พระภิกษุรูปอื่นเลย

พระภิกษุบางรูปก็พยายามทำตนให้เป็นที่รักของเหล่าทานบดี โดยการประพฤติถ่อมตัวทั้งทางกาย และทาง

วาจา หรือบางรูปก็อาจจะแสดงการประจบทานบดี โดยการเข้าไปอุ้มทารก ซึ่งประหนึ่งเป็นพี่เลี้ยงหรือแม่ของ

ทารกนั้น

พระภิกษุบางรูปก็พยายามพูดเอาอกเอาใจยกยอคฤหบดีต่าง ๆ นานา ด้วยเกรงว่าคฤหบดีที่น้อมนำลาภ

สักการะมาสู่ตนนั้นจะเหินห่างไปเสีย พระภิกษุบางรูปก็พยายามพูดเกี้ยวทานบดีให้ถวายทานใหม่อีก โดยการ

พูดสรรเสริญการถวายทานของเขาในครั้งก่อน (ทั้งนี้ไม่รวมถึงการกล่าวยกใจ เพื่อให้ทายกทายิกาได้ระลึกถึงบุญ

และมีใจปีติเบิกบานในบุญกุศล)

พระภิกษุบางรูป เมื่อเห็นอุบาสกถืออ้อย (หรือของขบฉันอื่น ๆ) มาก็แสร้งพูดว่า อ้อยนั้นคงจะอร่อยกระมัง

ครั้นเมื่ออุบาสกตอบว่า ต้องลองฉันดูจึงจะรู้ พระภิกษุ จึงพูดใหม่ว่า ถ้าตนจะบอกให้อุบาสกถวายอ้อยให้ก็จะไม่

เหมาะไม่ใช่หรือ ครั้นแล้วอุบาสกก็อาจจะถวายอ้อยให้ เพราะเข้าใจว่าพระภิกษุรูปนั้นอยากฉันอ้อย การพูดเช่นนี้

ของพระภิกษุจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ล้วนจัดเป็นเรื่องของการพูดพิรี้พิไรทั้งสิ้น

จะเห็นว่าพฤติกรรมของพระภิกษุจัดเป็น ลปนา คือพูดพิรี้พิไรนั้นมีตั้งแต่การพูดจาตีสนิทหรือดักคอทานบดี

การพูดประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของตนกับทานบดี การพูดเอาอกเอาใจ พูดเกี้ยว พูดยกตนหรือพูดถ่อมตนกับ

ทานบดี จนถึงประพฤติถ่อมตนเข้าไปรับใช้ทานบดี เจตนาของพระภิกษุเหล่านี้มีอยู่เหมือนๆ กัน คือ เพื่อให้ได้

มาซึ่งลาภสักการะ

๓) เนมิตติกตา หมายถึง พูดหว่านล้อม ได้แก่ การกระทำหรือการพูดอ้อมค้อม เพื่อล่อใจให้ทายกถวาย

ของ เพราะจะขอกันตรง ๆ ก็รู้สึกเก้อเขิน และเป็นอาบัติ พระภิกษุจึงแสดงนิมิตคือ พฤติกรรมให้ทายกรู้ ด้วยการ

พูดเป็นนัยว่าตนต้องการอะไรหรืออยากฉันอะไร แม้ทายกจะรู้เท่าทัน แกล้งปฏิเสธหรือหลบหน้าไปเสีย พระภิกษุ

ก็ยังไม่พ้นความพยายาม ในที่สุดทายก็อดในที่นี้ไม่ได้ ก็จำใจถวายสิ่งของนั้น ๆ ให้

๔) นิปเปสิกตา หมายถึง พูดท้าทายถากถางให้เจ็บใจหรือพูดเป็นเชิงบีบบังคับ เป็นคำพูดที่ฉลาดของพระ

ภิกษุ เพื่อปรามาสหรือหมิ่นน้ำใจทายก โดยมีเจตนาให้ทายกถวายลาภสักการะแก่ตน เช่น กล่าวว่าสกุลนี้ไม่มี

ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสในการทำทาน ทายกทนฟังไม่ได้ก็ถวายสิ่งของให้โดยไม่เต็มใจหรือเมื่อไปบ้านหนึ่งก็

พูดจาไพเราะกับเขา ครั้นไปอีกบ้านหนึ่งก็เอาไปนินทาให้คนในบ้านใหม่ฟัง พร้อมทั้งพูดจายกย่องผู้ที่กำลังฟัง

อยู่ด้วย แม้ผู้ฟังจะรู้สึกไม่พอใจ ก็จำต้องถวายลาภสักการะให้ เพราะไม่อยากถูกนินทาหรือเพราะรำคาญก็เป็น

ได้

นิปเปสิกตานี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึง การด่าด้วยวัตถุสำหรับด่า ๑๐ อย่าง

คอยพูดข่ม พูดใส่ร้าย พูดขับเขา พูดไล่เขา พูดหยันเขา พูดเย้ยเขา พูดเหยียดเขา พูดหยามเขา

พูดโพนทะนา และต่อหน้าพูดหวาน ลับหลังตั้งนินทา

๕) นิชิคึสนตา หมายถึง การแสวงหากำไร เป็นการต่อลาภด้วยลาภของพระภิกษุบางรูป เช่น พระภิกษุได้

รับสิ่งของจากทายกผู้หนึ่ง ตนรู้สึกว่ายังไม่พอใจนัก จึงนำสิ่งของนั้นไปให้ผู้อื่น โดยหวังว่าตนจะได้รับของสิ่ง

ใหม่ซึ่งดีกว่าของเดิมเป็นการทดแทน ครั้นเมื่อได้ของสิ่งใหม่มา ก็นำไปให้ผู้อื่นอีกเพื่อแลกกับของสิ่งใหม่ที่ดีกว่า

หรือแพงกว่า ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะได้ของที่ตนพอใจที่สุด

วิธีการหาเลี้ยงชีวิตด้วยเล่ห์เพทุบายของพระภิกษุ ดังได้กล่าวมาทั้ง ๕ ประการนี้ ซึ่งอาจมีรายละเอียดพิสดาร

มากกว่าอุทาหรณ์ที่ยกมา ล้วนถือว่าเป็นมิจฉาอาชีวะของพระภิกษุทั้งสิ้น พระภิกษุรูปใดที่หาเลี้ยงชีพด้วยวิธี

การเหล่านี้ แม้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่งก็จัดว่า มีอาชีพไม่บริสุทธิ์

นอกจากการเลี้ยงชีพด้วยการล่อหลอกทั้ง ๕ ประการดังกล่าวแล้ว ยังมีเรื่องการเลี้ยงชีพด้วยติรัจฉานวิชา

อันเป็นการละเมิดสิกขาบท ช่วงจะได้กล่าวในหัวข้อ ถึงพร้อมด้วยศีล

ชื่ออาบัติเกี่ยวกับอาชีพไม่บริสุทธิ์

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติสิกขาบทเกี่ยวกับเรื่องมิจฉาอาชีวะไว้ ๖ข้อ พร้อมทั้งระบุชื่ออาบัติเพราะ

ละเมิดสิกขาบทเหล่านั้นไว้ ดังนี้

๑) พระภิกษุอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน เพราะเห็นแก่อาชีวะ ต้องอาบัติปาราชิก

๒) พระภิกษุชักสื่อให้ชายหญิง เป็นผัว เมียกัน เพราะเห็นแก่อาชีวะ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

๓) พระภิกษุ พูดเป็นเลศนัยกับทายกทายิกาผู้สร้างกุฏิถวายว่า พระภิกษุผู้อยู่ในวิหารของทายกทายิกานั้นเป็นพระอรหันต์ การที่กล่าวยืนยันเช่นนั้น เพราะเห็นแก่อาชีวะ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๔) พระภิกษุมิได้อาพาธ ขออาหารอันประณีตมาฉันเอง เพราะเห็นแก่อาชีวะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕) ภิกษุณีที่มิได้อาพาธ ขออาหารอันประณีตมาฉันเอง เพราะเห็นแก่อาชีวะ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

๖) พระภิกษุโดยทั่วไปเอ่ยปากขออาหารจากทายกทายิกามาฉันเอง ต้องอาบัติทุกกฎ

การขอดังกล่าวแล้วนี้จะเห็นว่า แม้พระภิกษุยังมิได้บริโภคก็เป็นอาบัติ คือ การละเมิดปาฏิโมกขสังวรศีล

หากบริโภคแล้วย่อมเป็นการละเมิดอาชีวปาริสุทธิศีล

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีบัญญัติ เพื่อป้องกันมิให้พระภิกษุประพฤติมิจฉาอาชีวะ

ถ้าพระภิกษุสามารถปฏิบัติตนตามได้อย่างเคร่งครัด ก็ย่อมจะมีการบริโภคที่บริสุทธิ์สะอาด และมีอาจาระ

ที่น่ายกย่องบูชาเป็นอย่างยิ่ง

ลักษณะอาชีพที่บริสุทธิ์

พระภิกษุที่งดเว้นจากมิจฉาอาชีวะทุกประการดังกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่ามีอาชีวปาริสุทธิศีล หรือมีอาชีพบริสุทธิ์

หรือมีกาย วาจาบริสุทธิ์ การที่พระภิกษุจะะบำเพ็ญอาชีวปาริสุทธิศีลได้เต็มที่นั้น ขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม

ในการฝึกฝนตนเองเป็นสำคัญ หากความเพียรย่อหย่อนเสียแล้ว พระภิกษุก็จะหันไปแสวงหาปัจจัยในทางไม่

สมควร ความเพียรเท่านั้นที่เอื้ออำนวยให้ปัจจัยอันบริสุทธิ์เกิดขึ้นแก่พระภิกษุ

ปัจจัยที่เกิดขึ้นอย่างบริสุทธิ์นั้นมีอยู่เหลายทาง เช่น ปัจจัยที่ฆราวาสถวายเพราะมีความเลื่อมใส

ศรัทธาในคุณของพระภิกษุ เช่น ศรัทธาในการแสดงธรรม เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยที่เกิดขึ้นจากการบิณฑบาต

ก็ถือว่าบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ส่วนพระภิกษุผู้รักษาธุดงค์นั้น ปัจจัยอาจเกิดขึ้นจากการเที่ยวบิณฑบาต หรือเกิดจาก

ผู้เลื่อมใสศรัทธาในธุดงค์คุณของพระภิกษุนั้นนำมาถวายก็ได้

--------------------------------

พระวิสุทธิมัคค์ เผดจ เล่ม ๑ หน้า ๖๔

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘