มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ - รสแห่งความคุ้นเคย


มงคลที่ ๑๗

สงเคราะห์ญาติ
รสแห่งความคุ้นเคย

ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง
ญาติมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง
พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


การพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาคนเป็นอันดับแรก การจะพัฒนาคนให้ได้ผลดี ที่สุดนั้น ต้องเริ่มต้นที่ใจก่อน ผู้รู้ท่านกล่าวไว้ว่า จะพัฒนาอะไรก็ติด ถ้าจิตไม่พัฒนาŽ คือ นอกจากพัฒนาในด้านวิชาความรู้แล้ว ทุกคนยังต้องได้รับการฝึกหัดขัดเกลาจิตใจด้วย เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม เข้าใจในเรื่องโลกและชีวิตได้ถูกต้องตามความเป็นจริง รู้จักบังคับจิตใจ ไม่ปล่อยให้หลงใหลในสิ่งที่ไร้สาระ ใจที่ได้รับการฝึกมาดีแล้ว หยุดนิ่งดีแล้ว ความคิด คำพูดและการกระทำ ย่อมจะดีตามไปด้วย และส่งผลให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

มีวาระพระบาลีที่พระบรมศาสดาตรัสไว้ใน คาถาธรรมบท ว่า

อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฺŸิปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา าตี นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ

ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง ญาติมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งŽ

ความไม่มีโรคภัยไข้เจ็บถือเป็นลาภอันประเสริฐ แม้จะเป็นเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่หากถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนแล้ว จะแสวงหาความสุขแบบชาวโลกทั่วไป ก็ได้ไม่เต็มที่ เพราะความผิดปกติของสังขารร่างกาย ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า สุดยอดของความมีลาภแบบชาวโลกทั่วไป คือ ขอให้เราเป็นผู้ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บŽ เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรง จะคิด พูดหรือทำอะไร ก็คล่องตัว จะทำทาน รักษาศีลหรือเจริญภาวนา ก็ทำได้อย่างเต็มที่

สนฺตุฏฺŸิ ปรมํ ธนํ ความสันโดษได้ชื่อว่าเป็นทรัพย์อันประเสริฐ
สันโดษ คือ ยินดีพอใจในสิ่งที่ตนพึงมีพึงได้ เป็นอยู่อย่างสมถะ ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ไม่ถึงกับตระหนี่ถี่เหนียว
สันโดษ คือ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว มีเท่าไรก็ใช้เท่านั้น
ส่วนคนตระหนี่ คือ มีทรัพย์แล้วไม่ยอมใช้ ทรัพย์นั้นก็เป็นเพียงสุสานทรัพย์ เพราะไม่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัวเองและคนอื่น คนที่ตระหนี่ถี่เหนียวเช่นนี้ ถือเป็นคนยากจนที่น่าสงสารที่สุด

ส่วนพระบาลีที่ว่า วิสฺสาสปรมาญาตี ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่งนั้น ผู้มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันเป็นอย่างดี แม้มิได้เป็นญาติพี่น้องท้องเดียวกัน แต่ก็เป็นเสมือนพี่น้องคลานตามกันมา มีความรักและห่วงใยซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีศีลมีธรรม มีทิฏฐิเสมอกัน ผูกพันกันด้วยกุศลความดี เกิดไปกี่ภพ กี่ชาติ ย่อมเป็นที่รักของกันและกันไปตลอด

*ในเรื่องของความคุ้นเคยนี้ หลวงพ่อมีตัวอย่างที่จะนำมาเล่าให้เป็นทิฏฐานุคติแก่ทุกท่าน เรื่องมีอยู่ว่า ในอดีตกาล มีดาบสท่านหนึ่งชื่อเกสวดาบส ท่านได้บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์พร้อมด้วยลูกศิษย์อีก ๕๐๐ คน ต่อมาเกสวดาบสได้พาลูกศิษย์ออกจากป่าเพื่อไปเสพรสเค็มรสเปรี้ยวในเมือง พระราชา ทอดพระเนตรเห็นดาบสที่เดินเข้ามาในเมืองด้วยความสงบสำรวม เกิดเลื่อมใส จึงนิมนต์ให้เข้าไปฉันภัตตาหารในพระราชมณเฑียร ทั้งทรงนิมนต์ให้พำนักต่อในพระราชอุทยานตลอด ๔ เดือน

เมื่อดาบสทุกรูปได้เข้าไปพำนักในพระราชอุทยานแล้ว พระราชาทรงหมั่นเสด็จไปเยี่ยมเยียน เพื่ออุปัฏฐากบำรุงดาบสทั้ง ๕๐๐ ท่าน ทั้งเช้าและเย็น ทรงอุปัฏฐากไม่ให้ขาดตกบกพร่องแม้แต่น้อย พวกดาบสอยู่ได้เพียง ๒-๓ วัน ต่างก็เกิดความรำคาญเสียงอื้ออึงต่างๆ ในเมืองหลวง จึงพากันไปกราบลาอาจารย์ เพื่อจะกลับเข้าป่าหิมพานต์ เกสวดาบสห้ามพวกลูกศิษย์ว่า ในวันที่พวกเรามา พระเจ้าแผ่นดินทรงนิมนต์ให้พวกเรา อยู่ที่นี่ตลอด ๔ เดือน พวกท่านจะกลับไปก่อนได้อย่างไรเล่า พวกเราควรจะอยู่รักษาศรัทธาของพระราชากันก่อนเถิดŽ

พวกลูกศิษย์แต่ละท่านต่างสารภาพว่า แม้ที่นี่จะพรั่งพร้อมด้วยอาหารหวานคาว มีที่พำนักอย่างสะดวกสบาย แต่พวกเราไม่ค่อยสบายใจเลย อยากจะกลับไปอยู่ในป่าตามเดิมŽ เมื่อไม่สามารถกล่อมให้ลูกศิษย์อยู่ต่อได้ อาจารย์จึงอนุญาตให้คณะลูกศิษย์เดินทางกลับไปก่อน เหลือเพียงลูกศิษย์ชื่อกัปปกะคนเดียวเท่านั้นที่อยู่เป็นเพื่อน

วันต่อมา พระราชาเสด็จมาเยี่ยมเพื่อทรงอุปัฏฐาก พระองค์ไม่เห็นดาบสมากมายเหมือนวันก่อนๆ จึงตรัสถาม ท่านดาบสทูลตอบว่า มหาบพิตร พวกดาบสไม่คุ้นเคยกับสถานที่อื้ออึงเช่นนี้ จึงลากลับไปก่อนŽ ต่อมาไม่นาน กัปปกดาบส ก็ทนอยู่ไม่ได้ จึงลาอาจารย์กลับไปเช่นกัน แต่ยังไม่ได้กลับไปป่าหิมพานต์ เพียงพักอยู่ไม่ไกลนักเพราะเป็นห่วงอาจารย์ จึงคอยติดตามข่าวคราวของอาจารย์อยู่ห่างๆ

ภายหลัง ท่านดาบสคิดถึงพวกลูกศิษย์มาก จึงป่วยเป็นโรคกระเพาะ แม้พระราชาจะรับสั่งให้แพทย์หลวงมารักษา ก็ไม่ดีขึ้น นับวันอาการกลับกำเริบหนักขึ้นเรื่อยๆ จนถึงกับนอนซมอยู่บนเตียง พระราชาทรงกังวลพระทัยมากที่ไม่สามารถรักษาท่านดาบสให้หายได้ พระดาบสจึงทูลว่า มหาบพิตร พระองค์อยากให้อาตมาหายจากโรคไหมŽ ท่านผู้เจริญ หากโยมทำได้ ก็จะทำเดี๋ยวนี้แหละ พระคุณเจ้าช่วยบอกวิธีรักษามาเถิด แม้จะต้องเสียเงินทองมากมายเพียงไร โยมก็จะทำเต็มที่ อย่าได้เกรงใจเลยŽ

เกสวดาบสจึงทูลว่า มหาบพิตร หากพระองค์ทรงปรารถนาให้อาตมภาพมีความสุข โปรดส่งอาตมากลับไปที่พำนักของพวกลูกศิษย์เถิดŽ พระราชาทรงเห็นว่าพระดาบสคงจะคิดถึงลูกศิษย์ จึงนิมนต์ให้นอนบนแคร่ และให้อำมาตย์ ช่วยกันหามอาจารย์กลับไปป่าหิมพานต์ ลูกศิษย์คนสนิทชื่อกัปปกะรู้ว่าอาจารย์กลับมาแล้ว ก็ดีใจ รีบออกไปต้อนรับ และพาอาจารย์ไปหาเหล่าดาบสลูกศิษย์ ส่วนลูกศิษย์ทั้งหลายเมื่อรู้ว่า อาจารย์กลับมาแล้ว ต่างรีบมาประชุมกัน พากันถวายน้ำร้อนและผลไม้แด่อาจารย์ ภายใน ๓ วันเท่านั้น โรคกระเพาะกลับหายเป็นปลิดทิ้ง พระดาบสก็มีผิวพรรณผุดผ่องประดุจทองคำดังเดิม

อำมาตย์ที่ติดตามมาส่งพระดาบส สงสัยมากว่า ทำไมอาการป่วยปางตายของท่านดาบส จึงหายเป็นปลิดทิ้งอย่างรวดเร็ว และทำไมท่านจึงทอดทิ้งพระราชาผู้เป็นจอมมนุษย์ ผู้บันดาลสมบัติทุกอย่างให้ได้ แล้วมายินดีในอาศรมของดาบสŽ เกสวดาบสจึงตอบว่า คำไพเราะชวนให้รื่นรมย์มีอยู่ รุกขชาติเป็นที่เพลินใจก็มีอยู่ ดูก่อนท่านอำมาตย์ คำที่กัปปกะกล่าวดีแล้ว ย่อมให้เรายินดีได้ ผู้คุ้นเคยกันจะบริโภคอาหารที่อร่อยหรือไม่อร่อยในที่ใด อาหารที่บริโภคในที่นั้นก็ให้สำเร็จประโยชน์ได้ เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง เพราะความคุ้นเคยกันนี่แหละ อาตมาจึงหายป่วยอย่างรวดเร็วŽ

เห็นไหมว่า ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง แม้บุคคลนั้นจะมิใช่ญาติแท้ๆ แต่เราก็จะมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งญาติผู้ใกล้ชิดสนิทสนม เพราะความคุ้นเคยที่แท้จริง ไม่ได้ผูกพันกันที่ทรัพย์สมบัติหรือวัตถุภายนอก แต่ผูกพันกันด้วยคุณธรรมความดี อยู่ไกลกันแค่ไหน ใจก็คิดถึง อยากกลับมาอยู่ใกล้ๆ เหมือน นักสร้างบารมีทั้งหลาย ที่มีความคุ้นเคยกับการสร้างบารมี จะอยู่ใกล้ไกลกันแค่ไหน ทันทีที่มาเจอหมู่คณะ ก็จะเกิดความคุ้นเคย เหมือนหมู่ญาติที่พลัดพรากจากกันไปนาน แล้วกลับมาสร้างบารมีด้วยกันเป็นทีมอย่างมีความสุข

พวกเราทุกคนมีเชื้อสายของความเป็นนักสร้างบารมี มานับภพนับชาติไม่ถ้วน คนทั่วไปเป็นญาติผูกพันกันทางสายโลหิต เป็นญาติกันเพียงแค่ภพชาติเดียว แต่ญาติทางธรรมที่ผูกพันกันด้วยบุญกุศลความดีนี้ ผูกพันกันข้ามภพข้ามชาติ ดังนั้น แม้จะอยู่ใกล้ไกลแค่ไหน เมื่อถึงเวลา บุญในตัวย่อมดึงดูดให้เราได้มาสร้างบารมีร่วมกันอีก และเมื่อใดที่พวกเราเข้าถึงพระธรรมกาย เราจะรู้สึกเสมือนกับคนทั้งโลกเป็นญาติพี่น้องกัน เป็นคนครอบครัวเดียวกัน เพราะฉะนั้น ให้ทุกคนตั้งใจปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในให้ได้กันทุกคน
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
*มก. เกสวชาดก เล่ˆม ๕๘ หน้‰า ๖๗๙

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘