มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - นกแขกเต้า ทุ่มเทชีวิตตอบแทนคุณ



มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
นกแขกเต้า ทุ่มเทชีวิตตอบแทนคุณ

บุคคลใดสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่บิดามารดา และนายของตน บุคคลนั้นย่อมไปบังเกิดในเทวโลกเที่ยงแท้ เพราะฉะนั้น แม้เราพ้นจากกำเนิดเดียรัจฉานนี้แล้ว จักไปบังเกิดในเทวโลกเท่านั้น

ผู้ที่หมั่นฝึกฝนอบรมตนเองอยู่เนืองนิตย์ เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรมนั้น ย่อมเป็นที่ปรารถนาของทุกๆ คน เพราะเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อโลกและสรรพสัตว์ทั้งหลาย คุณธรรมความดีในตัวของเราจะมีขึ้นได้ ต้องเริ่มต้นจากกาย วาจา ใจ ที่สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน กาย วาจาจะบริสุทธิ์ได้ต้องเริ่มมาจากใจ ใจที่ได้รับการอบรมด้วยการเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแล้ว ย่อมเป็นใจที่ตั้งมั่นผ่องใส เป็นสมาธิได้ง่าย สามารถรองรับคุณธรรมรองรับธรรมะอันละเอียดลุ่มลึกยิ่งขึ้นไปได้ และเป็นพลวปัจจัยให้เข้าถึงต้นแหล่งแห่งคุณธรรมความดี คือพระธรรม-กาย ได้เป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสในที่สุด มีชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ

มีวาระพระบาลีที่กล่าวไว้ใน อัพภันตรชาดก ว่า

บุคคลใดสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่บิดามารดา และนายของตน บุคคลนั้นย่อมไปบังเกิดในเทวโลกเที่ยงแท้ เพราะฉะนั้น แม้เราพ้นจากกำเนิดเดียรัจฉานนี้แล้ว จักไปบังเกิดในเทวโลกเท่านั้นŽ

นี่เป็นวาจาที่เปล่งออกมาด้วยความองอาจของลูกนกแขกเต้า ซึ่งก็คือภพชาติในอดีตของราหุลสามเณร สมัยนั้นแม้จะเป็นเพียงสัตว์เดียรัจฉานธรรมดาๆ แต่ได้ประกาศถึงความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการที่จะทำภารกิจอันใหญ่หลวงของผู้ มีพระคุณให้สำเร็จลุล่วงถึงขั้นยอมสละชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นถ้อยคำที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ ผู้ที่กล้ากล่าวถ้อยคำเช่นนี้ได้ แสดงว่าได้เห็นคุณค่าของความกตัญญู รู้ซึ้งถึงผลที่จะบังเกิดในอนาคตว่า ถ้าประกอบเหตุเช่นนี้แล้ว อานิสงส์แห่งความกตัญญูที่จะบังเกิดขึ้น จะส่งผลให้เป็นผู้มีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไปอย่างแน่นอน

*ดังเรื่องของสามเณรราหุลผู้มีความกตัญญู แม้ท่านจะออกบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ยังหาโอกาสตอบแทนพระคุณของพระมารดา ทดแทนค่าน้ำนมที่เลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ในวันหนึ่ง ราหุลสามเณรได้ไปเยี่ยมพระชนนี ซึ่งบัดนี้ได้บวชเป็นพระเถรี ในบวรพุทธศาสนาแล้ว บังเอิญว่าวันนั้น ลมในพระอุทรของพระเถรีกำเริบขึ้น หากพระเถรีได้ฉันรสมะม่วงที่ปรุงด้วยน้ำตาลกรวด โรคลมในท้องก็จะสงบ ราหุลสามเณรจึงอาสาจะไปแสวงหาเภสัชมาถวาย สามเณรรีบกลับไปบอกอาการป่วยของพระเถรีให้พระสารีบุตรทราบ

วันรุ่งขึ้นพระเถระเดินบิณฑบาตไปที่บริเวณพระลานหลวง พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระเถระจึงนิมนต์ให้นั่ง ในขณะนั้นเอง นายอุทยานนำเอามะม่วงหวานที่สุกทั้งพวงมาถวายพอดี พระราชาทรงปอกเปลือกมะม่วงแล้ว ทรงใส่น้ำตาลกรวดลงไป ทรงปรุงด้วยพระองค์เอง แล้วถวายพระเถระจนเต็มบาตร พระเถระได้นำมะม่วงนั้นไปให้สามเณร เพื่อเป็นเภสัชแด่พระเถรี เมื่อพระเถรีบริโภคแล้ว โรคลมในท้องก็สงบ

ฝ่ายพระราชาทรงทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้น ก็ทรงดำริว่า ถ้าพระบรมศาสดาจักอยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ราหุลสามเณรจักได้เป็นขุนพลแก้ว พระเถรีจักได้เป็นนางแก้ว ราชสมบัติในสากลจักรวาลทั้งสิ้นจักเป็นของทˆานเหล่านี้ ควรที่เราจะพึงอุปัฏฐากบำรุงท่านเหล่านี้ให้ได้รับความสะดวกสบายในการบำเพ็ญ สมณธรรม ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าโกศลก็รับสั่งให้ถวายรสมะม่วงแก่พระนางพิมพาเถรีเป็นประจำ

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุสงฆ์นั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า สามเณรราหุลเป็นสามเณรน้อยยอดกตัญญู แม้พระมารดาออกบวชแล้ว ก็ยังหาโอกาสอุปัฏฐากดูแล ให้มีความสุขในพรหมจรรย์Ž พระบรมศาสดาตรัสว่า แม้ในสมัยก่อนสามเณร ก็เป็นผู้มีความกตัญญูเช่นกันŽ แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำเรื่องราว ในอดีตมาเล่าให้ฟังว่า
มีอยู่ภพชาติหนึ่ง ราหุลสามเณรเคยเกิดเป็นลูกนกแขกเต้า ชื่อ สุวโปดก ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากพระราชา และพระมเหสี คืนวันหนึ่ง อัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัต ทรงเกิดอาการแพ้ท้อง อยากเสวยผลไม้ชื่ออัพภันตระ เหล่าโหราจารย์ได้กราบทูลว่า มะม่วงอัพภันตระ มีอยู่ที่กาญจนบรรพตในป่าหิมพานต์โน่น ผู้ที่เป็นมนุษย์ไม่สามารถจะไปในที่นั้นได้ ควรจะส่งสุวโปดกไป เพราะนกตัวนี้สมบูรณ์ด้วยพละกำลังและมีปัญญาเฉลียวฉลาดŽ

พระราชาให้นำนกแขกเต้ามา แล้วตรัสบอกเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้นกฟัง สุวโปดกเป็นนกน้อยยอดกตัญญู แม้รู้ว่าหนทางไปป่าหิมพานต์ช่างไกลนักหนา อีกทั้งภยันตรายก็มากมาย โอกาสที่จะเอาชีวิตรอดกลับมาเป็นเรื่องยาก แต่อาศัยความกตัญญูที่มีต่อพระราชา และพระเทวีที่ทรงให้ที่พักอาศัยอย่างสะดวกสบาย จึงคิดว่าเป็นโอกาสดี ที่จะได้ตอบแทนบุญคุณเจ้านายแล้ว ลูกนกจึงกราบทูลรับอาสางานนี้ในทันที

สุวโปดกโผบินไปด้วยความรวดเร็ว ล่วงเลยถิ่นมนุษย์ไปถึงฝูงนกแขกเต้า ที่อยู่ในระหว่างภูเขาลูกที่หนึ่งในหิมวันตประเทศ แล้วถามว่า มะม่วงชื่ออัพภันตระ มีอยู่ที่ไหนŽ พวกนกแขกเต้าเหล่านั้นก็ไม่รู้จัก จึงได้โผบินไปถามฝูงนกที่อยู่อาศัยระหว่างภูเขาลูกที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ที่หก ก็ไม่มีนกตัวไหนบอกได้ พอบินไปถึงภูเขาลูกที่ ๗ นกแขกเต้าเหลˆานั้นบอกว่า มีอยู่ในระหว่างกาญจนบรรพตโน่นŽ
สุวโปดกดีใจมาก ขอร้องให้นกเหล่านั้นชˆวยนำทางไป แต่ก็ไม่มีนกตัวใดกล้าอาสา เพราะมะม่วงอัพภันตระนั้น เป็นของท้าวเวสสวัณมหาราช ใครๆไม่อาจเข้าไปใกล้ได้ ต้นไม้ทุกต้นล้อมด้วยตาข่ายเหล็ก ๗ ชั้น ตั้งแต่รากก็มีกุมภัณฑ์ และรากษสจำนวนพันรักษาอยู่ สถานที่นั้นเหมือนอเวจีมหานรก เป็นประดุจไฟลุกอยู่ตลอดกัป แม้จะไม่มีนกตัวใดอาสาพาไป เมื่อสุวโปดกรู้เส้นทางแล้ว ก็ตัดสินใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวบินตรงไปที่กาญจนบรรพตทันที เมื่อไปถึงก็หาอุบายจะบินเข้าใกล้ต้นมะม่วงอัพภันตระ แต่ถูกพวกรากษสจับได้

สุวโปดกได้พูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะว่า ท่านอย่าได้ฆ่านกอย่างเราเลย พระเจ้าพาราณสีทรงส่งเรามา เพื่อต้องการผลมะม่วงอัพภันตระ เรานั้นได้สละชีวิตเพื่อพระราชา จึงกล้าบินมาที่นี่ บุคคลใดสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่บิดามารดา และเจ้านายผู้ทรงธรรม บุคคลนั้นย่อมบังเกิดในเทวโลกเที่ยงแท้ เพราะฉะนั้น แม้เราพ้นจากกำเนิดเดียรัจฉานนี้แล้ว จักบังเกิดในเทวโลกเท่านั้น บุคคลผู้กล้าหาญยอมเสียสละชีวิตของตน พากเพียรพยายามในประโยชน์ของท่านที่ได้เลี้ยงตนมา ย่อมถึงฐานะอันใด ข้าพเจ้าเป็นผู้จะได้ฐานะอันนั้น แม้ตายแล้วจะได้ไปสวรรค์อย่างแน่นอนŽ
พอพวกรากษสได้ฟังเช่นนั้นก็มีจิตเลื่อมใส จึงปล่อยให้เป็นอิสระ แต่ก็ไม่ยอมให้ผลมะม่วง เพราะว่าท้าวเวสสวัณมานับผลมะม่วงด้วยพระองค์เอง ถ้าหากขาดหายไปแม้แต่ผลเดียว ชีวิตของพวกตนก็จะหาไม่ จึงได้แต่บอกสถานที่ที่พอจะช่วยเหลือ ได้ว่า ในภูเขาทองนี้มีดาบสชื่อโชติรส เป็นนักบวชประจำตระกูล ของท้าวเวสสวัณ ซึ่งท‰าวเวสสวัณได้ส่งผลมะมˆวงไปถวายเป็นประจำ ท่านจงไปขอกับพระดาบสเถิดŽ สุวโปดกขอบคุณในคำชี้แนะแล้ว รีบบินไปหาพระดาบสทันที เมื่อบอกความประสงค์ ในการเดินทางมาครั้งนี้ให้พระดาบสทราบแล‰ว พระดาบสก็บอกให‰รออยูˆที่นี่ก่อนจึงจะได้
และช่วงนั้นเป็นช่วงที่ท้าวเวสสวัณได้นำผลมะม่วง ๔ ผล มาถวายพระดาบสพอดี พระดาบสเห็นความตั้งใจดีของลูกนกแขกเต้า จึงฉันไปเพียง ๒ ผล อีกหนึ่งผลให้สุวโปดกกิน แล้วเอาอีกผลหนึ่งใส่สาแหรกคล้องคอให‰สุวโปดกบินกลับไปถวายพระเทวี เมื่อพระเทวีได้เสวยมะม่วงอัพภันตระแล้ว ความแพ้พระครรภ์ก็สงบลงทันที พระบรมศาสดาครั้นทรงเล่าเรื่องราวในอดีตให้ฟังแล้ว ก็ตรัสว่า พระเทวีในกาลนั้น ได้เป็นนางพิมพา สุวโปดกได้เป็นราหุล ส่วนดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคตŽ

จากเรื่องนี้จะเห็นได้ว่า นักปราชญ์บัณฑิตในกาลก่อน เมื่อตระหนักถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณแล้ว ถึงคราวจะตอบแทนคุณ ท่านจะทุ่มเททั้งชีวิตจิตใจ เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ขอเพียงให้ได้มีโอกาสตอบแทนคุณของผู้มีพระคุณ แม้ตายก็ไม่เสียดายชีวิต ถึงละโลกไปแล้ว ก็มีสุคติสวรรค์เป็นที่ไป
เพราะฉะนั้น ให้ทุกคนหมั่นตระหนักถึงบุญคุณของบิดามารดา ครูบาอาจารย์ และผู้ที่เคยเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้จนทำให้เราเป็นผู้มีความก้าวหน้าในชีวิต เป็นกัลยาณมิตรชี้เส้นทางสวรรค์ และหนทางนิพพานให้กับเรา แล้วก็หาโอกาสตอบแทนบุญคุณของท่านเหล่านั้น ชีวิตของเราจะได้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
*มก. อัพภันตรชาดก เล่ม ๕๘ หน้า ๒๓๘

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘