ชีวิตนักบวชนั้นประเสริฐสุด

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในสามัญญผลสูตรว่า “ฆราวาสเป็นทางคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง” หมายความ ว่า การครองชีวิตเป็นฆราวาสนั้นย่อมมีโอกาสปฏิบัติกุศลธรรมได้น้อยกว่าการเป็น นักบวช ดังที่เราท่านเป็นประจักษ์แจ้งแก่ใจกันดี ทั้งนี้เพราะการดำรงตนเป็นฆราวาสต้องใช้เวลาในวันหนึ่งให้หมดไปกับการทำมาหา กินเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว จนบางคนไม่มีเวลาแม้แต่จะสวดมนต์ไหว้พระในแต่ละวัน ซ้ำร้ายกว่านั้นบางคนไม่เคยมีเวลาศึกษาหาความรู้เรื่องพระธรรมเลยทั้งๆที่ เรียกตนเองว่าเป็นพุทธศาสนิกชน แต่ก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนา จึงขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต ขาดหลักคิดด้วยโยนิโสมนสิการ เมื่อ ขาดสิ่งนี้เสียแล้ว คนเราย่อมประพฤติตนไปตามอำนาจกิเลสอันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง เป็นต้น การที่ต้องเสียเวลาไปกับกิจทางโลกเช่นนี้ ย่อมยากที่จะมีโอกาสในการประพฤติธรรม ยากที่จะมีเวลาในการประกอบคุณงามความดีอย่างเต็มที่ จึงกล่าวได้ว่า “ฆราวาสเป็นทางคับแคบ”

สภาพ ชีวิตของฆราวาสทุกระดับ ทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมระดับผู้บริหารประเทศ ไปจนกระทั้งสังคมของบุคคลระดับหาเช้ากินค่ำ ต่างก็ตกอยู่ในทางคับแคบนี้ด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้การที่ต้องอยู่ในสังคมที่ประกอบด้วยทั้งคนดีและคนชั่ว ซึ่งบางครั้งก็เลือกคบได้ บางครั้งก็เลือกไม่ได้ จึงมีโอกาสที่บุคคลจะก่อกรรมทำเข็ญต่อกัน แม้ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน แก่งแย่งชิงดีกัน ให้ร้ายป้ายสีกันหรือหักหลังกัน จนอาจถึงกับทำลายล้างผลาญชีวิตกันได้ เหล่านี้คือ “ทางมาแห่งธุลี”

ตราบ ใดที่คนเรายังครองชีวิตอยู่ในฆราวาสวิสัย ก็ย่อมยากที่จะมีโอกาสประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลาตนเองให้หมดจากกิเลส ทั้งปวงได้ นั่นย่อมหมายความว่า เขาจะต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในวัฏฏสงสารอีกมิรู้สิ้น ซึ่งหากพลาดพลั้งไปก่อกรรมทำเข็ญขั้นรุนแรงเข้า ก็ย่อมจะต้องเสวยผลกรรมอยู่ในนรกโดยไม่มีผู้ใดสามารถช่วยลดหย่อนให้ได้ ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสนับสนุนการบวช ทั้งนี้ทรงชี้ให้เห็นคุณค่าอันประเสริฐยิ่งของการบวช ซึ่งแสดงไว้ในสามัญญผลสูตรนี้อย่างชัดเจน นั่นคือ “บรรพชาหรือการดำเนินชีวิตเป็นนักบวชเป็นทางปลอดโปร่ง”

โยนิโสมนสิการ คือ ความรู้จักคิดตริตรองพิจารณาหาเหตุผล รู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว แล้วยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น ยังอกุศลธรมให้เสื่อมไป หรือการคิดถูกวิธีจนสามารถสาวไปหาต้นเหตุได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘