มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - พญานกแขกเต้า



มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
พญานกแขกเต้า

ผู้ใดบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา ด้วยข้าวและด้วยน้ำ ผู้นั้น ตายไปสูˆภพหน้า ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยไม่ต้องสงสัย

เราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ มีสิ่งที่จะต้องศึกษาควบคู่กันไปอยู่ ๒ ประการ คือ การศึกษาวิชาความรู้ในทางโลก และการศึกษาวิชชาในทางธรรม
การศึกษาความรู้ทางโลก มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เรารู้จักวิธีการแสวงหาปัจจัยสี่มาเลี้ยงตนเอง และครอบครัว ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขในระดับหนึ่ง
ส่วนการศึกษาความรู้ในทางธรรม มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกฝนอบรมจิตใจของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ อันจะส่งผลให้เราได้เข้าถึงแหล่งของความรู้ที่สมบูรณ์ เป็นความรู้เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ได้เข้าถึงความสุขอันแท้จริงที่มีอยู่ภายใน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ตักกลชาดก ว่า
โย มาตรํ วา ปิตรํ สวิฏฺŸ อนฺเนน ปาเนน อุปฏฺŸหาติ
กายสฺส เภทา อภิสมฺปรายํ อสํสยํ โส สุคตึ อุเปติ

ผู้ใดบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา ด้วยข้าว และด้วยน้ำ ผู้นั้นตายไปสูˆภพหน้า ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยไม่ต้อง สงสัย

*ในสมัยพุทธกาล มีผู้เฒ่าสองสามีภรรยามีลูกชายซึ่งบวชเป็นพระอยู่ในวัดพระเชตวัน ผู้เฒ่าทั้งสองได้รับกรรมลำบากในการแสวงหาอาหาร ร่างกายก็ผ่ายผอม ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง พระลูกชายซึ่งเป็นผู้มีความกตัญญู จึงนำอาหารที่ได้จากการบิณฑบาตมาเลี้ยงท่านทั้งสองทุกวัน

พระบรมศาสดาทรงทราบถึงเรื่องนี้ จึงตรัสเรียกภิกษุรูปนั้นมา แล้วทรงถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบิณฑบาตมาเลี้ยงบิดามารดาของเธอ จริงหรือŽ ภิกษุรูปนั้นทูลตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จริงพระเจ้าข้าŽ พระพุทธองค์จึงตรัสสรรเสริญว่า ดีแล้วภิกษุ แม้แต่บัณฑิตในกาลก่อน เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ยังเลี้ยงดูพ่อแม่ที่แก่แล้ว ด้วยอาหารที่หามาด้วยจะงอยปากŽ ทรงระลึกชาติหนหลัง แล้วนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า

ในอดีตมีนกแขกเต้าฝูงใหญ่อาศัยอยู่ในป่างิ้วบนยอดเขาแห่งหนึ่ง ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดเป็นลูกของ พญานกแขกเต้า เมื่อเติบโตขึ้น มีรูปร่างงดงาม สมบูรณ์ด้วยพละกำลัง และสติปัญญา เมื่อบิดาของพระโพธิสัตว์แก่ชราลง จึงแต่งตั้งให้พระโพธิสัตว์เป็นจ่าฝูงปกครองฝูงนกเหล่านั้น

ด้วยความกตัญญู พญานกแขกเต้าจึงออกไปหาอาหารมาเลี้ยงบิดามารดา ไม่ยอมให้บิดามารดาได้รับความลำบากในการหาอาหาร ให้พักอยู่ในรัง และตนก็ปกครองฝูงนกแขกเต้า โดยนำฝูงนกไปสู่ป่าหิมพานต์ เพื่อหากินข้าวสาลีในป่า พอกินอิ่มแล้ว ก็คาบอาหารมาฝากให้บิดามารดา

วันหนึ่งฝูงนกได้พากันไปกินข้าวสาลีในไร่ข้าวสาลีของชาวมคธ คนดูแลไร่จึง วิ่งออกมาไล่นก แม้จะวิ่งกลับไปกลับมา พยายามที่จะไล่นกออกไป แต่ไม่สามารถจะไล่ได้ เพราะนกมีจำนวนมากมายเหลือเกิน พวกนกได้พากันจิกกินข้าวสาลีจนอิ่มหนำสำราญ แล้วก็บินกลับไป ส่วนพญานกก็จะรวบรวมข้าวสาลี แล้วคาบมาเผื่อให้บิดามารดาเป็นประจำ

วันต่อมาฝูงนกแขกเต้า ก็พากันไปที่ไร่ข้าวสาลีนั้นอีก คนดูแลไร่ข้าวสาลีก็วิ่งออกมาไล่พวกนกอีก แต่ไม่สำเร็จ จึงคิดว่า ถ้าพวกนกพากันมากินข้าวสาลีทุกวัน ข้าวสาลีต้องหมดไร่แน่ จึงไปบอกแก่พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของ

เมื่อไปถึง พราหมณ์ก็ถามว่า เป็นอย่างไร ข้าวสาลีสมบูรณ์ดีหรือŽ เขาตอบว่า นายท่าน ข้าวสาลีก็สมบูรณ์ดี แต่มีฝูงนกแขกเต้า ได้พากันมากินข้าวในไร่ของท่าน พอข้าพเจ้าเข้าไปไล่ มันก็บินหนีไป แล้ววกกลับมากินอีก แต่มีพญานกแขกเต้าอยู่ตัวหนึ่งสวยกว่าทุกตัว พอกินเสร็จแล้ว ก็คาบข้าวสาลีกลับไปด้วยŽ

พราหมณ์ฟังแล้ว ก็นึกชอบพญานกแขกเต้าขึ้นมา จึงบอกว่า เจ้าจงใช้บ่วง ดักจับพญานกมาให้เราŽ วันรุ่งขึ้น คนเฝ้าไร่จึงใช้บ่วงดักพญานกแขกเต้า ในที่ที่คิดว่าพญานก จะลงมากินข้าวสาลี เพราะได้สังเกตเห็นพญานกมักจะบินลงมาที่เดิมทุกวัน

วันต่อมาพญานกแขกเต้าก็ร่อนลงมาที่เดิมอีก จึงติดบ่วงที่วางดักไว้ เมื่อรู้ว่าตนติดบ่วงแล้ว ก็คิดว่า ถ้าเราส่งเสียงร้องเอะอะในเวลานี้ พวกญาติของเราก็จะตกใจบินหนีไป โดยไม่ได้กินข้าวสาลี เราต้องอดกลั้นไว้ จนกว่าพวกญาติจะกินจนอิ่มŽ เมื่อรู้ว่าพวกนกกินจนอิ่มแล้ว จึงได้ส่งเสียงร้องออกมา นกเหล่านั้นรู้ว่ามีอันตรายเกิดขึ้น ก็ตกใจพากันบินหนีไปหมด

คนเฝ้าไร่ได้ยินเสียงร้องของนกเหล่านั้นแล้ว ก็ลงจากกระท่อมไปที่วางบ่วง เห็นพญานกแขกเต้าก็จับมัดขาทั้งสองไว้ แล้วนำไปให้พราหมณ์ เมื่อพราหมณ์เห็นพญานกแล้ว ก็อุ้มมานั่งบนตักด้วยความรัก แล้วกล่าวว่า นก แขกเต้าเอ๋ย ท้องเจ้าคงจะใหญ่กว่าท้องของนกตัวอื่นเป็นแน่ ถึงกินข้าวของเรา แล้วยังคาบเอากลับไปอีก เจ้ามีฉางสำหรับเก็บข้าวไว้หรือ หรือว่าเรามีเวรต่อกันมาก่อนŽ

พญานกแขกเต้าได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้ามิได้มีเวรกับท่าน ฉางของข้าพเจ้าก็ไม่มี แต่ข้าพเจ้านำเอาข้าวสาลีนี้ไปเปลื้องหนี้เก่า ให้เขากู้หนี้ใหม่ และฝังขุมทรัพย์ไว้ที่ป่างิ้วนั้นŽ พราหมณ์เกิดความสงสัยจึงถามว่า การให้กู้หนี้ของเจ้าเป็นอย่างไร การเปลื้องหนี้ของเจ้าเป็นอย่างไร และเจ้าฝังขุมทรัพย์ไว้อย่างไรŽ

ข้าแต่พราหมณ์ ลูกน้อยทั้งหลายของข้าพเจ้ายังเล็กอยู่ ขนปีกยังไม่ขึ้น เมื่อข้าพเจ้าเลี้ยงบุตรเหล่านี้ ถ้าเขารู้บุญคุณ เขาก็จะเลี้ยงดูข้าพเจ้าบ้าง ในยามที่แก่ชรา เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ให้บุตรเหล่านี้กู้หนี้ ส่วนมารดาและบิดาของข้าพเจ้าแก่แล้ว ข้าพเจ้าคาบเอาข้าวสาลีไปด้วยจะงอยปาก เพื่อเลี้ยงท่านทั้งสอง จึงชื่อว่าได้เปลื้องหนี้ และที่ในป่านั้น มีนกพวกหนึ่งที่มีขนปีกหลุดหมดแล้ว เป็นนกทุพพลภาพ ข้าพเจ้าต้องการบุญ จึงได้ให้ข้าวสาลีแก่นกเหล่านั้น เพราะบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าการทำบุญนั้น เป็นขุมทรัพย์ การฝังขุมทรัพย์ไว้ของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้Ž

พราหมณ์ฟังพญานกแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส กล่าวว่า เจ้าเป็นนกที่มีคุณธรรม มนุษย์บางพวกยังไม่รู้จักบุญคุณคนเลย ตั้งแต่นี้ต่อไป เจ้าพร้อมกับหมู่ญาติ จงกินข้าวสาลีในไร่ของเราตามต้องการเถิด เราปรารถนาจะขอเห็นเจ้าอีก การที่ได้เห็นเจ้าถือว่าเป็นสิริมงคล และเจ้าก็เป็นที่พอใจของเราŽ

พราหมณ์อ้อนวอนพระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว มองดูด้วยจิตอันอ่อนโยน ประหนึ่งมองดูลูกรัก ได้แก้เชือกที่มัดข้อเท้าออก ทาเท้าทั้งคู่ด้วยน้ำมันที่หุงแล้วร้อยครั้ง ให้พญานกเกาะบนตั่ง ที่งดงามวิจิตร แล้วให้บริโภคข้าวตอกคลุกน้ำผึ้งในจานทอง ให้ดื่มน้ำเจือน้ำตาลกรวดที่มีรสเลิศ

หลังจากนั้นพญานกแขกเต้าก็กล่าวว่า ข้าแต่พราหมณ์ ข้าพเจ้าได้กิน และดื่มในที่อยู่ของท่าน ข้าพเจ้าจะมาพำนักในที่ของท่านทุกวัน ขอท่านจงให้ทานอย่างสม่ำเสมอ ในสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม และจงเลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าด้วยความกตัญญูเถิดŽ แล้วก็บินกลับไป พร้อมกับคาบอาหารไปฝากบิดามารดา

เมื่อพระบรมศาสดาทรงเล่าเรื่องในอดีตจบลง ภิกษุผู้เลี้ยงดูบิดามารดามีดวงตาเห็นธรรม ได้บรรลุโสดาปัตติผลในที่นั้นเอง เราจะเห็นว่าความกตัญญูเป็นคุณธรรมของบัณฑิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง สรรเสริญ แม้นกแขกเต้าจะเป็นเพียงสัตว์เดียรัจฉานยังมีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา ถึงเพียงนี้ เราได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ เป็นผู้มีบุญ และมีคุณธรรม เราควรจะใช้กายมนุษย์นี้สร้างความดีให้คุ้มค่ามากที่สุด ให้สมกับที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และพบคำสอนอันประเสริฐในพระพุทธศาสนา

ดังนั้น ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที คือรู้อุปการคุณของผู้อื่นที่มีต่อตน แล้วหาโอกาสตอบแทนคุณของท่าน จึงได้ชื่อว่าดำเนินตามแบบแผนของบัณฑิตในกาลก่อน บุญกุศลจะเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล เพราะเป็นการทดแทนพระคุณด้วยจิตที่บริสุทธิ์ มีดวงปัญญาตรองเห็นคุณงามความดีของผู้มีอุปการะ คุณธรรมในตัวของเรา จึงเพิ่มพูนขึ้นมาในจิตใจ และจะเป็นทางมาแห่งคุณธรรมอื่นๆ อีกมาก เป็นเหตุให้สามารถบรรลุธรรม ได้โดยง่าย โดยเร็วพลัน

ความดีหรือบุญกุศลที่เราทำทั้งหมดนั้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์อื่น แต่เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน เพื่อไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรม และแหล่งกำเนิดของบุญ หรือความดีทั้งหลายจะปรากฏอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ดังนั้นเราจะต้องฝึกฝนใจของเรา ให้มาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้ อย่างสม่ำเสมอ ในทุกๆ วัน ทุกๆ อิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

*มก. สาลิเกทารชาดก เล่ม ๖๐ หน้า ๓๔๙

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘