มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๓)



มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน
พระทัพพมัลลบุตร (๓)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์ โทมนัส มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าสรรเสริญ ที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการในปัจจุบัน คือ เธอมีศรัทธาในกุศลธรรม มีหิริ มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร และมีปัญญาในกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์โทมนัส มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าสรรเสริญที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการนี้แล

การตั้งใจทำความดีเป็นความคิดที่ประเสริฐสุด แต่บางครั้งอาจจะมีอุปสรรคต่างๆ บังเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เราจะต้องอดทน และมีกำลังใจที่เข้มแข็ง จึงจะเอาชนะอุปสรรคทั้งหลาย บรรลุถึงเป้าหมายอย่างน่าชื่นใจ ชีวิตของนักสร้างบารมีก็เป็นอย่างนี้ เพราะได้ก้าวลงสู่สมรภูมิรบอันยิ่งใหญ่ จะต้องทำสงครามรบกับกิเลสอาสวะภายในใจ ผู้ใดเอาชนะใจของตนเองได้ ผู้นั้นย่อมจะได้รับชัยชนะอันน่าภาคภูมิใจ และเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของมนุษย์ และเทวาทั้งหลาย

มีวาระแห่งพระบาลีที่ปรากฏใน สิกขสูตร ความว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์ โทมนัส มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าสรรเสริญ ที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการในปัจจุบัน คือ เธอมีศรัทธาในกุศลธรรม มีหิริ มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร และมีปัญญาในกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์โทมนัส มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าสรรเสริญ ที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการนี้แลŽ

นักสร้างบารมีผู้ตั้งใจจะทำพระนิพพานให้แจ้งนั้น จะ ต้องใช้กำลังใจอย่างสูงที่จะต่อสู้กับอาสวกิเลสที่สั่งสมอยู่ในใจ สิ่งใดที่อยากทำ บางครั้งต้องละเว้น ต้องหักห้ามใจ ไม่ตามใจกิเลส ยิ่งเป็นนักบวช ยิ่งต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะจะต้องต่อสู้กับกิเลสภายใน ที่คอยยั่วยวนใจให้ออกนอกเส้นทางของพระธรรมวินัย การเป็นนักบวชที่สมบูรณ์ได้ จึงเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ บัณฑิตทั้งหลายก็อนุโมทนาสรรเสริญ ดังเช่นพระดำรัสที่ได้นำมากล่าวข้างต้น

เมื่อตอนที่แล้วเล่าถึงเรื่องของพระทัพพมัลลบุตรซึ่งเป็นพระอรหันต์ ๗ ขวบ ที่ ท่านรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่ เป็นผู้จัดการแจกแจงเสนาสนะ และรับหน้าที่นิมนต์พระไปยังบ้านเจ้าภาพทั้งหลาย ท่านได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง จนกระทั่งมาถึงตอนที่ท่านนิมนต์พระเมตติยะ และพระภุมมชกะ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ทำทานมาน้อยในอดีต จึงไม่ค่อยได้ลาภสักการะเหมือนพระภิกษุรูปอื่น ครั้นรู้ตัวว่าจะได้ไปฉันที่บ้านของคฤหบดี ก็ดีใจมาก จึงออกบิณฑบาตมุ่งตรงไปยังบ้านของท่านคฤหบดีตั้งแต่เช้า

*เมื่อทาสีผู้รับมอบหมายจากท่านคฤหบดี เห็นพระภิกษุสองรูปนั้นกำลังเดินมาแต่ไกล ก็ปูลาดอาสนะไว้ที่ซุ้มประตู นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่จัดเตรียมไว้ พระเมตติยะและพระ ภุมมชกะคิดว่า เขาคงจัดเตรียมภัตตาหารยังไม่เสร็จ จึงให้เราทั้งสองนั่งรออยู่ที่ซุ้มประตู ครั้นถึงเวลา นางทาสีก็นำปลายข้าวกับน้ำผักดองมาถวาย พลางเชื้อเชิญว่า ขอนิมนต์พระคุณเจ้าทั้งสองฉันเถิด เจ้าข้าŽ ท่านจึงซักถามว่า ทำไมถึงเอาปลายข้าวมาถวายŽ นางทาสีจึงชี้แจงว่า ท่านเจ้าข้า ท่านคฤหบดีสั่งข้าพเจ้าให้รับรองพระคุณเจ้าทั้งสองที่นี่ และให้จัดอาหารเช่นนี้ถวาย ทั้งให้คอยปฏิบัติอยู่จนกระทั่งพระคุณเจ้าฉันเสร็จ เจ้าข้าŽ

พระเมตติยะและพระภุมมชกะ ต่างคิดในแง่ลบว่า เมื่อวานนี้ ท่านคฤหบดีเข้าไปหาพระทัพพมัลลบุตรเถระ สงสัยพระทัพพมัลลบุตรคงจะแกล้งเราเป็นแน่Ž คิดแล้วรู้สึกเสียใจ จนฉันอาหารไม่ลง ฉันพอเป็นพิธีเท่านั้น และรีบลากลับด้วยความไม่พอใจ โดยไม่ได้นึกถึงตนเองว่า ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการประพฤติอันไม่ตั้งอยู่ในพระธรรมวินัยของตนนั่นเอง

เมื่อกลับไปถึงวัด ทั้งสองเก็บบาตรและจีวรพลางนั่งทอดถอนใจไม่ยอมพูดจากับใคร ขณะเดียวกันนั่นเอง นางเมตติยาภิกษุณีผู้มีความคุ้นเคยกัน ได้มาเยี่ยมพระเมตติยะและพระภุมมชกะ นางได้พูดทักทายหลายหน แต่ท่านทั้งสองกลับไม่ยอมปราศรัยด้วย ยังคงนั่งหน้าบอกบุญไม่รับ นางนึกแปลกใจ กลัวว่าจะทำอะไรให้พระทั้งสองขัดใจ จึงเรียนถามว่า ดิฉันทำผิดอะไรหรือพระคุณเจ้าถึงไม่ยอมพูดจาด้วยŽ

ด้วยความที่ท่านทั้งสองยังมีอารมณ์ค้างอยู่ในใจ จึงพูดกับนางว่า เราทั้งสองถูกท่านพระทัพพมัลลบุตรข่มเหงเอา ทำให้ได้รับความอับอายŽ นางเมตติยาภิกษุณีถามว่า ท่านพระทัพพะข่มเหงรังแกพระคุณเจ้าทั้งสองอย่างไร และจะให้ดิฉันช่วยทำอะไรได้บ้าง ขอให้พระคุณเจ้าทั้งสองจงบอกมาเถิดŽ พระเมตติยะและพระภุมมชกะ ตอบว่า ถ้าเธอจะช่วยพวกเรา เธอจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลใส่ร้ายพระ ทัพพมัลลบุตรว่า พระทัพพมัลลบุตรได้ประทุษร้ายเราทั้งสองŽ

ด้วยความเคารพเลื่อมใสในท่านทั้งสอง นางภิกษุณีรีบรับคำขอร้องนั้น และไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลฟ้องพระทัพพมัลลบุตรเถระผู้ไม่มีความผิด โดยหวังจะทำลายชื่อเสียงของพระทัพพมัลลบุตรให้มัวหมอง จะได้ลาสิกขาไป ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ทรงรู้ว่า พระทัพพมัลลบุตรจะไม่ทำเช่นนั้น แต่เพื่อป้องกันการครหานินทา จึงตรัสเรียกประชุมสงฆ์ทันที

เมื่อคณะสงฆ์พร้อมด้วยพระทัพพมัลลบุตรมาประชุมพร้อมกันแล้ว พระพุทธองค์ตรัสถามพระทัพพมัลลบุตรในท่ามกลางหมู่สงฆ์ว่า ดูก่อนทัพพะ เธอนึกได้หรือไม่ว่า เคยทำกรรมชั่วช้าอย่างที่นางภิกษุณีนี้กล่าวหาŽ พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เรื่องทั้งหมดพระองค์ทรงทราบอยู่แล้วมิใช่หรือ พระเจ้าข้าŽ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามซ้ำอีกเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อให้ท่านพระทัพพะตอบเองว่า ได้ทำหรือไม่ได้ทำ

พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลเหมือนครั้งแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า การกล่าวแก้ตัวของพระทัพพมัลลบุตรเถระไม่กระจ่างแจ้ง จึงตรัสว่า ดูก่อนทัพพะ บัณฑิตทั้งหลาย ไม่กล่าวแก้อธิกรณ์เหมือนเธอ หากเธอเคยกระทำ จงกล่าวว่าได้ทำ หากเธอไม่ได้ทำจงกล่าวว่า ไม่ได้ทำ นี่เป็นความงามในพระธรรมวินัยŽ

พระทัพพมัลลบุตรเถระจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค นับตั้งแต่ข้าพระองค์เกิดมา แม้แต่เพียงจะฝันไปว่า ได้เสพเมถุนธรรม ก็ยังไม่เคยเลย ไม่ต้องกล่าวถึงตอนที่ตื่นอยู่ ว่าข้าพระองค์จะทำกรรมอันลามกถึงปานนี้ ข้าพระองค์ไม่เคยกระทำ และไม่เคยคิดด้วย พระเจ้าข้าŽ

พระบรมศาสดาทรงพอพระทัยในคำให้การของพระทัพพมัลลบุตร แม้พระพุทธองค์จะทรงรู้เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น แต่เพื่อให้ความจริงกระจ่างแจ้งแก่ปุถุชน และหวังอนุเคราะห์ผู้ไม่รู้ไม่ให้มีบาป จึงทรงกระทำเช่นนั้น พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้พระภิกษุผู้ทรงธรรมมาไต่สวนทบทวนหาข้อมูล แล้วเสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าสู่พระคันธกุฎี ฝ่ายพระภิกษุทั้งหลายได้ช่วยกันสืบหาพระภิกษุผู้เป็นต้นเรื่องตามพระพุทธ ดำรัส ในที่สุดก็รู้ว่า พระเมตติยะ และพระภุมมชกะเป็นผู้เสี้ยมสอนนางเมตติยาภิกษุณีให้กุเรื่องนี้ขึ้น

จากเรื่องนี้ เราจะเห็นได้ว่า แม้เราจะทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ที่สุด ก็อาจเกิดการเข้าใจผิดกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้ว ฉะนั้น การเข้าใจผิดจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย และพร้อมจะเกิดขึ้นเสมอในสังคมโลกปัจจุบัน เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ พวกเราทุกคนควรนำไปเป็นข้อคิดว่า เมื่อเราหรือบุคคลใกล้ชิดเกิดเรื่องราวใดๆ เราควรใช้สติปัญญา พินิจพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ ต้องมีโยนิโสมนสิการ พิจารณาให้แยบคายละเอียดถี่ถ้วน ก่อนที่จะตัดสินใจ เพราะจะทำให้เกิดผลเสียหายภายหลังได้ ความผิดพลาดแม้น้อยนิด ก็สามารถเป็นแผลร้ายในใจได้ตลอดไป เพราะฉะนั้น ให้เราหมั่นเจริญสมาธิภาวนา เราจะได้คิดดี พูดดี และทำดี ประกอบด้วยสติปัญญากันทุกคน
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
*มก. พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เล่ˆม ๓ หน้‰า ๔๕๐

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘