สามัญญผล อานิสงส์ของความเป็นสมณะ

ความหายมัญผ

คำว่า “สามัญญผล” ในสามัญญผลสูตร หมายถึง ผลหรืออานิสงส์ของความเป็นสมณะ หรือผลดีของ

การเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ครองชีวิตเป็นนักบวชที่บริบูรณ์บริสุทธิ์อย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา

นั้นย่อมได้รับอานิสงส์มากมายนานัปการ

ตามธรรมดาของสิ่งต่างๆในโลกนี้ สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นมักจะมีโทษมหันต์แฝงอยู่เป็นของควบคู่กัน

แต่การเป็นนักบวชที่บริบูรณ์บริสุทธิ์อย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา จะบังเกิดแต่ผลดีเท่านั้น ไม่มีผลร้ายหรือ

โทษเลย

ผลดีที่นักบวชจะพึงได้รับนั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยลำดับ ที่เห็นได้ชัดเจนในทันทีก็คือ การได้รับความเคารพ

ยกย่องจากบุคคลโดยทั้วไป นอกจากนี้ การเป็นนักบวชยังทำให้เป็นผู้มีความสงบกาย วาจา ใจ มีสติสัมปชัญญะ

มีปัญญาพิจารณาไตร่ตรองเรื่องต่างๆ รอบคอบขึ้น มีความเข้าใจเรื่องโลกและชีวิตอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำ

ให้นักบวชสามารถเป็นกัลยาญมิตรให้กับตนเอง เพื่อการครองชีวิตโดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่ตกอยู่ใต้

อำนาจกิเลส และยังสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับผู้อื่น คือเป็นผู้ชี้ทางที่ถูกต้องดีงามให้แก่บุคคลรอบข้างและ

ชาวโลกได้อีกด้วย การเป็นนักบวชย่อมจะได้รับแต่ผลดียิ่งๆขึ้นไปเช่นนี้ จนกระทั่งบรรลุถึงผลขั้นสูงสุด คือ

มรรคผลนิพพาน

หากยังไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้ได้ ประสบการณ์ และบุญกุศลทั้งปวงที่นักบวชได้บำเพ็ญ

ไว้ในปัจจุบันชาติก็ไม่สูญเปล่า ย่อมสั่งสมไว้เป็นรากฐานหรือกองทุนเพื่อรอเวลาออกผลในภพชาติต่อๆไป สมดัง

พุทธภาษิตที่ว่า

“แม้หม้อน้ำ ย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยด ฉันใด ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญทีละน้อย

ย่อมเต็มไปด้วยบุญ ฉันนั้น”

เมื่อบุญเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ได้บรรลบุนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

ความย่

ในปลายสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ สวนอัมวันของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ในเขตกรุง

ราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ครั้งนั้นพระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธ ได้เสด็จไปเฝ้าพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบทูลถามปัญหาซึ่งค้างพระทัยพระองค์มานาน

ปัญหานั้นคือ “สมณพราหมณ์ หรือผู้ที่เป็นนักบวชทั้งหลายนั้น ได้รับประโยชน์อะไรจากการบวช ที่สามารถ

เห็นประจักษ์ในปัจจุบันชาติบ้าง”ทั้งได้กราบทูลด้วยว่า ก่อนหน้านี้พระองค์ได้เคยเสด็จไปถามครูเจ้าลัทธิทั้ง 6

ท่าน ซึ่งมีชื่อเสียงมากในยุคนั้นมาแล้ว แต่ได้รับคำตอบที่ไม่กระจ่างแจ้ง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงประโยชน์ หรือคุณค่าของการบวชตั้งแต่ประการแรกสุด ซึ่งจัดเป็น

สามัญญผลเบื้องต้น คือการยกฐานะของผู้บวชเอง โดยเปลี่ยนจากสถานภาพเดิมไปสู่สถานภาพของบุคคลที่

ควรแก่การบูชากราบไหว้ เรื่อยขึ้นไปจนถึงสามัญญผลเบื้องกลาง อันได้แก่การบรรลุสมาธิในระดับต่างๆ

ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ซึ่งล้วนทำให้จิตใจมั่นคงและสงบสุข และสามัญญผล

เบื้องสูงคือการบรรลุวิชชา 8 อันได้แก่ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ อิทธิวิธี ทิพยโสต เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสา

นุสสติญาณ จุตูปปาตญาณและ อาสวักขยญาณ ตามลำดับ

ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสถึงสามัญญผลเบื้องกลางและเบื้องสูงนั้น ได้ทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติ

ที่นักบวชต้องปฏิบัติให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ เพื่อการบรรลุสามัญญผลแต่ละขั้น ข้อปฏิบัติสำคัญที่ทรงแสดงไว้

ในพระสูตรนี้คือ

“การถึงพร้อมด้วยศีล การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย การมีสติสัมปชัญญะ การเป็นผู้

สันโดษ และการเจริญภาวนา”

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาจบลงพระเจ้าอชาตศัตรูทรงปฏิญาณพระองค์เป็นอุบสก ขอถึงพระ

รัตนตรัย เป็นที่พึ่งตลอดพระชนม์ชีพ ทั้งกราบทูลขอขมาในการที่ปลงพระชนม์ชีพพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็น

พระราชบิดา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสรับการขอขมานั้น

เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จกลับไปแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ถ้าพระเจ้า

อชาตศัตรูไม่ได้ปลงพระชนม์พระราชบิดา ก็จะต้องได้บรรลุธรรม เป็นพระโสดาบันในค่ำคืนนี้

ผู้มีส่นแห่งสมั

หรือผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการบวช

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยึดถือ “เหตุ” และ “ผล” เป็นหัวใจสำคัญ สามัญญผลอันจะบังเกิดแก่นักบวช

นั้น ใช้ว่าจะมีเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ดลบันดาลให้เกิดขึ้นก็หาไม่ นักบวชจะต้องประกอบเหตุด้วยตนเอง

จึงจะได้รับผลเป็นของตน เมื่อประกอบเหตุดี ย่อมจะต้องได้รับผลดี ดังพุทธภาษิตที่ว่า

“หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น”

ในสามัญญผลสูตรนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดข้อปฏิบัติอันเป็นทางแห่งการบรรลุมรรคผลไว้

อย่างชัดเจน ถ้านักบวชรูปใดปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่มีขาดตกบกพร่อง ไม่มีการพลิกแพลงดัดแปลงการ

ปฏิบัติให้ผิดเพื้ยนแตกต่างออกไป เพื่ออนุโลมตามความสะดวกหรือความพอใจของตน ก็ถือได้ว่าประกอบเหตุดี

ดังนั้น ผลดีคือสามัญญผลอันประณีต ก็ย่อมจะบังเกิดขึ้นแก่นักบวชผู้นั้น ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว

อย่างแน่นอน

นักบวชผู้มีส่วนแห่งสามัญญผล หรือผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการบวช จึงจำเป็นต้องขวนขวายในการ

ประกอบเหตุดี นำข้อวัตรปฏิบัติในพระธรรมวินัยมาเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง มิใช่เพียงแค่จำ

พระคัมภีร์ หรือแตกฉานในพระไตรปิฏกแต่มิได้นำมาปฏิบัติ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว นักบวชย่อมไม่ได้รับผลดีอันใด

แก่ตนเลย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า

“ หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่ง

สามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น”

พุทธศาสนสุภาษิตนี้มีความหมายว่า บุคคลที่สามารถจำพระธรรมคำสั่งสอนได้มากแต่ไม่ประพฤติธรรมนั้น

เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค รุ่งเช้าก็รับโคไปเลี้ยง เย็นลงก็นับโคไปส่งคืน แต่ไม่เคยได้ลิ้มรสนมโคหรือ

ผลิตภัณฑ์จากโคนมเลย เทียบได้กับผู้รู้ธรรมมาก แสดงธรรมได้มาก มีชื่อเสียงมาก แต่หากมิได้นำหลักธรรมไป

ปฏิบัติ ก็ย่อมไม่มีโอกาสบรรลุผลนิพานได้เลย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘