มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - บุญคุณต้องทดแทน



มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
บุญคุณต้องทดแทน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกˆอนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้ เป็นภูมิของสัตบุรุษ

ความสุขเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน เพราะถ้ากาย และใจของเราไม่มีความสุขแล้ว จะประกอบภารกิจการงานอันใด ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเรา ที่จะแสวงหาความสุขที่แท้จริงให้ แก่ตนเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนให้พุทธบริษัทรู้จักแสวงหาความสุขให้แก่ตนเอง ด้วยการหมั่นชำระใจให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ด้วยการเจริญภาวนา ทำใจหยุดนิ่งในหนทางสายกลางซึ่งอยู่ภายในตัวของเรา นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงสั่งสอนให้เราเห็นความสำคัญของการฝึกฝนใจว่า ใจที่ผ่องใส ย่อมนำมาซึ่งความสุข เป็นทางมาแห่งมหากุศล เป็นเครื่องนำพาสัตวโลกทั้งหลายไปสู่สุคติภูมิ และนำทุกชีวิตไปสู่เป้าหมาย อันสูงสุด คือมรรคผลนิพพาน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า

สปฺปุริโส จ โข ภิกฺขเว กตญฺญู โหติ กตเวที สพฺภิเหตํ ภิกฺขเว อุปญฺาตํ ยทิทํ กตญฺญุตา กตเวทิตา เกวลา เอสา ภิกฺขเว สปฺปุริสภูมิ, ยทิทํ กตญฺญุตา กตเวทิตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกˆอนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้ เป็นภูมิของสัตบุรุษŽ

ความกตัญญูรู้คุณที่คนอื่นทำแล้ว และมุ่งตอบแทนคุณ เป็นคุณธรรมของคนดี ใครๆ ก็อยากคบค้าสมาคม และให้ความช่วยเหลือ เพราะความช่วยเหลือที่หยิบยื่นให้นั้น จะไม่มีวันกลายเป็นหอกเป็นดาบที่ย้อนกลับมาทิ่มแทงเราในภายหลัง ความกตัญญู จึงเป็นวิสัยของเหล่าบัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย คือ เมื่อรู้ว่าใครได้ทำความดีต่อตนแม้เพียงน้อยนิด ก็คิดหาหนทางที่จะตอบแทนคุณอยู่เสมอ แต่คนพาลมักจะหาทางปกปิดความดี ที่คนอื่นทำไว้ เหมือนพยายามเอาใบบัวมาปิดบังภูเขา จะพยายามปิดอย่างไรก็ปิดไม่มิด คนพาลเมื่อเห็นผู้อื่นทำความดีแล้ว จะรู้สึกขัดเคือง เหมือนมีหนามมาทิ่มตำนัยน์ตา เหมือนความมืด เป็นปฏิปักษ์ต่อความสว่าง

ฉะนั้น เราควรฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีดวงตาที่มองเห็นคุณธรรมของทุกคนที่ทำความดีกับเรา แล้วมุ่งตอบแทนคุณ

*เหมือนในสมัยอดีต พระเจ้าพรหมทัตทรงมีพระราชโอรสพระนามว่า ทุฏฐราชกุมาร ซึ่งมีนิสัยหยาบคาย คือ ในวันใดที่ไม่ได้ด่า ไม่ได้ทุบตีใคร ก็จะรู้สึกหงุดหงิด พระราชกุมาร จึงเป็นที่หวาดผวา และไม่เป็นที่รักของพวกพ้องบริวาร วันหนึ่งพระกุมารได้เสด็จไปสรงสนานในแม่น้ำพร้อมกับข้าราชบริพาร บังเอิญว่าในวันนั้นเกิดลมพายุโหมกระหน่ำ แต่พระกุมารก็ยังว่ายออกไปกลางแม่น้ำ คลื่นได้พัดพาพระองค์ให้ลอยไปตามน้ำ ทำให้พวกข้าราชบริพารไม่สามารถช่วยได‰

เมื่อพระกุมารถูกกระแสคลื่นพัดไปอย่างโดดเดี่ยว ได้ลอยไปเกาะท่อนไม้ท่อนหนึ่ง ในครั้งนั้น เศรษฐีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งฝังทรัพย์ไว้ถึง ๔๐ โกฏิ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อตายไปเนื่องจากหวงแหนในทรัพย์มาก จึงเกิดเป็นงูเฝ้าสมบัติ แล้วมีเศรษฐีอีกคนหนึ่งฝังทรัพย์ ๓๐ โกฏิ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อตายไปแล้ว เพราะความหˆวงทรัพยŒจึงเกิดเป็นหนูตัวใหญ่เฝ้าสมบัติ เมื่อน้ำท่วมที่อยู่ของสัตว์ทั้งสอง จึงว่ายตัดกระแสน้ำไปอาศัยท่อนไม้เดียวกัน กับพระกุมาร นอกจากนี้ ยังมีลูกนกแขกเต้าซึ่งอาศัยอยู่บนต้นงิ้วตัวหนึ่ง เมื่อต้นงิ้วถูกน้ำเซาะราก ทำให้โค่นล้มลงมา ลูกนกแขกเต้าจึงมาเกาะอีกด้านหนึ่งของท่อนไม้นั้น

ในสมัยนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ในแคว้นกาสี เมื่อเจริญเติบโตแล้ว ได้ออกบวชเป็นฤๅษีอาศัยที่คุ้งน้ำตอนล่าง ในวันนั้นฤๅษีได้ยินเสียงร้องของพระกุมาร จึงว่ายตัดกระแสน้ำไปฉุดท่อนไม้ช่วยพระกุมาร และสัตว์ทั้งสามให้รอดพ้นจากความตาย ฤๅษีได้ก่อไฟให้สัตว์ทั้ง ๓ ก่อน ส่วนพระกุมารก่อให้ทีหลัง แม้แต่การให้อาหาร ท่านจะให้กับสัตว์ทั้ง ๓ ก่อน เพราะคิดว่าสัตว์ทั้ง ๓ นั้นอ่อนแอกว่า แต่พระกุมาร กลับคิดว่า ตนเองเป็นถึงลูกของพระราชา ฤๅษีนี้ไม่ได้ให้เกียรติตน จึงได้ผูกอาฆาตพยาบาท

ครั้นผ่านไปได้ ๒ - ๓ วัน พระกุมารและสัตว์ทั้ง ๓ สมบูรณ์แข็งแรงเป็นปกติ งูและหนูจึงได้กราบลาพระฤๅษี พร้อมกับปวารณาว่า ถ้าท่านต้องการทรัพย์ ให้ไปหาพวกเราได้ทุกเวลา เพียงแค่เรียกชื่อ พวกเราก็จะออกมาต้อนรับทันทีŽ ส่วนนกแขกเต้า ก็ปวารณาต่อพระฤๅษี ด้วยความสำนึกพระคุณว่า ข้าพเจ้าไม่มีทรัพย์แต่ถ้าหากท่านมีความต้องการข้าวสาลีแดง ข้าพเจ้าพร้อมหมู่ญาติจะนำข้าวสาลีมาให้ทันทีŽ

ส่วนพระกุมารคิดว่า ถ้าเราได้เป็นกษัตริย์แล้ว จะฆ่าพระฤๅษีองค์นี้ให้ได้ จึง กล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อกระผมได้ครองราชสมบัติแล้ว ขอให้ท่านไปหากระผม กระผมจะบำรุงอุปัฏฐากรับใช้ท่านอย่างไม่ให้ขาดตกบกพร่องเลยŽ แล้วก็ลากลับเมือง เมื่อพระกุมารกลับเข้าพระนครไม่นาน ก็ทรง ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา

ต่อมาไม่นาน พระโพธิสัตว์คิดจะทดลองสัตว์เหล่านั้น ได้ไปที่อยู่ของงูก่อน เมื่อไปถึงก็เรียกว่า ทีฆะŽ คำเดียวเท่านั้น งูก็เลื้อยออกมาไหว้พระฤๅษี แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดให้พระฤๅษี ท่านก็บอกว่า ฝากเอาไว้ก่อน เมื่อจำเป็นจะมาเอา
Ž
ฤๅษีก็ไปหาหนู หนูก็มอบสมบัติให้เช่นเดียวกัน แล้วฤๅษีก็ไปหานกแขกเต้า เพียงแค่เรียกว่า สุวะŽ นกแขกเต้าก็ออกมาต้อนรับมนัสการท่าน แล้วเรียนท่านว่า จะไปเอาข้าวสาลีแดงที่เกิดเองจากป่าหิมพานต์มาให้ ท่านก็บอกว่า ตอนนี้ยังไม่ต้องการ เมื่อต้องการค่อยรู้กันŽ

ต่อจากนั้นพระฤๅษีก็ไปเฝ้าพระราชา ในวันนั้นพระราชา ได้ทอดพระเนตรเห็นพระฤๅษีเดินมาแต่ไกล จึงดำริว่า ดาบสโกงนี้คงประสงค์จะมาพึ่งพิงเรา เราต้องให้ตัดศีรษะทันทีก่อนที่ท่านจะประกาศคุณที่ได้ทำไว้กับเรา จึงรับสั่งให้ราชบุรุษจับ พระฤๅษีมัดมือไพลˆหลัง ให้เฆี่ยนทุกๆ ทางสี่แยก แล้วจึงนำไปตัดศีรษะ เอาตัวเสียบหลาว ราชบุรุษก็ทำตามนั้น ท่านฤๅษีมิได้สะทกสะท้าน กลับกล่าวคาถาว่า เป็นความจริงที่เขาเล่ามาว่า คนบางคนในโลกนี้ ไม้ลอยน้ำยังประเสริฐกว่าการที่เราไปช่วยคนใจบาปนี้ให้รอดชีวิต แต่กลับนำความทุกข์ และความตายมาให้แก่เราเองŽ

เมื่อชาวเมืองได้ฟังคาถานั้น พวกที่เป็นบัณฑิตก็ไตร่ถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับท่าน พระฤๅษีจึงเล่าความจริงให้ฟัง ชาวเมือง ได้ฟังดังนั้น ก็พากันวิพากษ์วิจารณ์ว่า ถ้าเราอาศัยพระราชาผู้ประทุษร้ายมิตรนี้ พวกเราคงจะหาความเจริญรุ่งเรืองไม่ได้ เช่นเดียวกัน ด‰วยความโกรธแค‰นต่างก็ลุกฮือช่วยกันจับ พระราชาไปฆ่าทิ้ง และแต่งตั้งพระฤๅษีขึ้นครองราชสมบัติแทน

เมื่อพระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม แล้วได้เสด็จไปนำสมบัติของงู และหนูเข้ามาไว้ในท้องพระคลัง ทรงรับสั่งให้สร้างทะนานทอง ให้เป็นที่อยู่ของงู ให้สร้างถํ้าแก‰วผลึกเป็นที่อยู่ของหนู พระราชทานข้าวตอกคลุกน้ำผึ้งใส่จานทอง เลี้ยงดูเป็นอย่างดี ทรงสร้างกรงทองให้เป็นที่อยู่ของนกแขกเต้า ส่วนพระองค์เอง ทรงสั่งสมบุญอย่างเต็มที่ เมื่อละโลกไปแล้วทำให้ได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์

จะเห็นได้ว่า คนที่ไม่รู้บุญคุณคนนั้น แม้เราจะช่วยเหลือมากมายเพียงใด เขาก็มองไม่เห็นคุณความดีของเรา เหมือน คนตาบอดไม่สามารถเห็นแสงสว่างของพระอาทิตย์ ดังนั้นเมื่อเราจะช่วยใครต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน และที่สำคัญคือเราอย่าเป็นคนอกตัญญูเสียเอง คนที่มีคุณกับเราไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงไร เราต้องจดจำไว้ แล้วหาโอกาสทดแทนบุญคุณให้ได้ ความกตัญญูเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของคนดี ทำให้เราเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างงดงาม

บุคคลที่ควรแก่ความกตัญญูนั้นมีมากมาย โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากเราได้ศึกษา และรู้จักประวัติของพระพุทธองค์อย่างแจ่มแจ้ง เราจะซาบซึ้ง และเกิดความปีติว่า เราได้มาอยู่ใต้ร่มเงาบวรของพระพุทธศาสนา ได้อาศัยหลักธรรม คำสอนของพระองค์ มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ตั้งแต่ทรงชี้ให้เห็นว่า ชีวิตของมนุษย์ทุกคนดำรงอยู่บนพื้นฐานของความทุกข์ ทรงชี้ให้เห็นต้นเหตุแห่งทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ ด้วยการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง ใจหยุดนิ่งจนกระทั่งเข้าถึงความสุขที่แท้จริง ทำให้ชีวิตนี้มีคุณค่า เกิดมาได้พบสาระแก่นสารของชีวิต คือมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

พระสัมมาพุทธเจ้าจึงเป็นบุพการีที่สำคัญที่สุด สิ่งที่พระองค์ทรงหวังให้เราทำนั้น ก็ไม่มีสิ่งอื่นใดเกินกว่าการปฏิบัติบูชา คือมุ่งทำตนให้หลุดพ้นจากทุกข์ เข้าถึงแหล่งแห่งเอกันตบรมสุข คือได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เพราะฉะนั้นให้เราหมั่นฝึกฝนใจ ให้หยุดนิ่งเป็นประจำสม่ำเสมอ ฝึกกันไปทุกวัน จนกว่าจะเข้าถึง พระธรรมกายกันทุกคน
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)

*มก. สัจจังกิรชาดก เล่ม ๕๖ หน้าา ๑๘๙

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘