บทที่ 6.3 : บรรพชา

สิ่งแรกที่ควรพิจารณาก็คือ คำว่า บรรพชา

คำว่า บรรพชา โดยรากศัพท์เดิมแปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง หรือการทำให้ถึงซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐ

แต่เดิมที่เดียวคำว่า บรรพชาหมายความว่า บวช เช่น สิทธัตถราชกุมารเสด็จออกบรรพชาเป็นต้น แต่ใน

ปัจจุบันคำว่า บรรพชาหมายถึงบวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุใช้คำว่า อุปสมบทและมักจะใช้

ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบทหรือโดยทั่วไปมักนิยมพูดกันว่า บวชเมื่อบวชแล้วก็ได้ชื่อว่า บรรพชิต

บรรพชิตทั้งหลายที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ก็เพื่อเว้นความชั่วทุกอย่าง ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายาม

ปฏิบัติตนให้ถึงซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยการสร้างบุญกุศลทั้งปวงให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง นั้นหมายความว่า บรรพชิตหรือพระภิกษุ

ย่อมมีโอกาสประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ง่าย เมื่อเที่ยบกับฆราวาสหรือผู้ครองเรือน ทั้งนี้เพราะ

โดยพระวินัยแล้ว การเลี้ยงชีพของพระภิกษุต้องขึ้นอยู่กับฆราวาส ดังนั้น พระภิกษุจึงไม่ต้องกังวลด้วยเรื่อง

การทำมาหากินแบบฆราวาส ทำให้สามารถทุ่มเทเวลาและชีวิตเพื่อการศึกษา และปฏิบัติตามพระธรรมวินัย

ได้โดยบริบูรณ์ กรณีเช่นนี้ย่อมเอื้ออำนวยให้พระภิกษุห่างไกลจากกามคุณได้มากทีเดียว ซึ่งจะยังผลให้การ

ประพฤติพรหมจรรย์นั้นบริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชีวิตนักบวชมีโอกาสสร้างบุญกุศลทั้งปวง

สะดวกกว่าชีวิตฆราวาสมากนัก

อนึ่ง พระธรรมเทศนานี้ย่อมเป็นการบอกพระเจ้าอชาตศัตรูโดยนัยว่า สาวกของพระพุทธองค์ล้วนมีเป้าหมาย

ในการบวชทั้งสิ้น มิใช่บวชโดยไร้เป้าหมาย หรือบวชเพื่อหากินดังเช่นนักบวชบางจำพวก ทั้งนี้ย่อมเป็นการยก

ศรัทธาของพระเจ้าอชาตศัตรูต่อภิกษุสงฆ์ให้สูงยิ่งขึ้นไปอีกด้วย

ข้อปฏิบัติเบื้องต้นของพระภิกษุ

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงแรงจูงใจ และเป้าหมายของการบวชจบลงแล้ว ได้ตรัสต่อไปอีกว่า

เมื่อบวชแล้วสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียง

เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์

ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ

จากพระธรรมเทศนาดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมแสดงว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์จะให้พระเจ้า

อชาตศัตรูทรงทราบว่า ผู้ที่บวชเข้ามาเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว จะต้องปฏิบัติตนอย่างใดบ้าง

และจะต้องละเว้นการปฏิบัติอย่างใดบ้าง ซึ่งอาจแยกออกให้เห็นได้ง่าย ดังนี้

๑. สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์

๒. มีอาชีพบริสุทธิ์

๓. ถึงพร้อมด้วยศีล

๔. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

๕. ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ

๖. เป็นผู้สันโดษ

---------------------------

สามัญญผลสูตร ที.สี. ๙/๑๐๒/๘๓

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘