Ubuntu : ร่วมมือกันเพื่อมวลมนุษยชาติ

ในวงการโอเพ่นซอร์สระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่กล่าวถึงกันมากมายหลาย ดิสโตรนั้น ในปัจจุบันจะมีชื่อ อูบุนตู (Ubuntu) ปรากฏอยู่ในแนวหน้าเสมอ คุณรู้จักและใช้งานกันหรือยัง?

คำขวัญที่ประกาศไว้ของ Ubuntu

เมื่อพูดถึง Ubuntu เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึง มาร์ค ชัตเติ้ลเวิร์ธ นักธุรกิจหนุ่มจากแอฟริกาใต้ ผู้ริเริ่มโครงการ ขึ้นมาในปี 2547 โดยจัดตั้งเป็นมูลนิธิอูบุนตูในปีถัดมาภายใต้การสนับสนุนเงินทุนเบื้องต้น 10 ล้านเหรียญจากบริษัท Canonical (บริษัทผู้ได้รับสิทธิในการดูแลโดเมนเนมทั่วโลก) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนผลักดันโครงการฟรี ซอฟต์แวร์ และ โอเพ่นซอร์ส ซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะ

ขายบริการสนับสนุนแบบครบวงจรให้กับผู้ใช้โอเพ่น ซอร์ส ซอฟต์แวร์ โดยมีอูบุนตูเป็นแกนกลาง โดยรูปแบบของบริษัทอาจจะคล้ายกับ เรดแฮท (RedHat) เพียงแต่แนวคิดและปรัชญาของ มาร์คชัตเติ้ลเวิร์ธ นั้นยึดหลักโอเพ่นซอร์ส อย่างเหนียวแน่น และออกแรงผลักดันอย่างแข็งขัน ด้วยความเชื่อว่า ซอฟต์แวร์ควรจะเป็นของฟรีที่ทุกคนเข้าถึงได้ ใช้งานได้จริง ยืดหยุ่นปรับแต่งได้ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคน

และ แบ่งปันสิ่งที่ต่อยอดมาได้ให้กับผู้อื่น ไม่ใช่เก็บเกี่ยวสิ่งที่ชุมชนโอเพ่น ซอร์สช่วยกันละไม้คละมือพัฒนาไปทำมาหากินลูกเดียว

Ubutu เป็นคำท้องถิ่นแถบ ซับ-ซาฮาร่า ที่หมายถึง การร่วมไม้ร่วมมือกันเพื่อผู้อื่น humanity for others

ผู้ก่อตั้ง Ubuntu

ปัจจุบัน มาร์ค ชัตเติ้ลเวิร์ธ มีชื่อเสียงเคียงคู่กับอูบุนตู ทว่าชื่อเสียงของเขามีมาก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปี 2545 ที่เขาเข้าร่วมเดินทางไปในอวกาศกับยานโซยุซ ของรัสเซีย ด้วยค่าใช้จ่าย 20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะความหลงใหลในการบินอวกาศมาตั้งแต่เด็ก

แต่ย้อนไปก่อนหน้านี้ขึ้นไปอีก ในปี 2538 ช่วงปีสุดท้ายระหว่างเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ ชัตเติ้ลเวิร์ธตั้งบริษัท Thawte มีความเชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต และ Digital Certificate เป็นบริษัทแรกที่จัดตั้ง e-Commerce Web Server ที่มีการเข้ารหัสระบบความปลอดภัยเต็มรูปแบบ ในวงการถือว่าเป็นบุคคลชั้นนำของโลกด้านนี้

เขาขาย Thawte ให้กับ Verisign (บริษัทผู้ให้การรับรองด้านการชำระเิงินด้วยบัตรเครดิตผ่านบริการอีคอม เมิร์ช) ไปในปีเดียวกัน ได้เงินมาราวๆ หมื่นกว่าล้านบาท แล้วก่อตั้งบริษัท HBD Venture Capital ขึ้นมาเพื่อบ่มเพาะธุรกิจและสนับสนุนเงินทุนแก่ธุรกิจใหม่ๆ

ความสนใจที่มีต่อโอเพ่นซอร์ส ซอฟต์แวร์ ของชัตเติ้ลเวิร์ธ นั้นมีมานานแล้ว เขาเป็นหนึ่งในจำนวนคนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา เดเบียน ลินุกซ์ ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ หลังจากเลิกวุ่นวายกับอวกาศ ก็กลับมาสู่วงจรของโอเพ่นซอร์ส อีกครั้งด้วยโครงการอูบุนตู

ในเวลาเพียงไม่กี่ปี อูบุนตู ก็ขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าของลินุกซ์ เป็นที่กล่าวขวัญและนำมาใช้งานกันมากมาย ทั้งในแวดวงธุรกิจและการศึกษา นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายในการซื้อหาซอฟท์แวร์มาใช้งานแล้ว ยังเป็นช่องทางของการร่วมพัฒนาซอฟท์แวร์ให้ตรงใจกับผู้ใช้งานได้มากที่สุด

ในโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี ผู้เขียนได้ปรับเปลี่ยนห้องปฏิบัติการทั้งหมดเป็น ห้องปฏิบัติการโอเพ่นซอร์ส จำนวน 186 เครื่อง ใช้งานมากว่า 1 เดือนไม่มีปัญหาอะไร ทุกคนใช้งานได้ดีมีความสุข ตอบสนองต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันได้ครับถ้วน ลดค่าใช้จ่ายเรื่องซอฟท์แวร์และที่สำคัญ ผมกล้าพูดได้เต็มปากกับนักเรียนว่า เราไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ผู้ใดเลย....

คาดกันว่าปีหน้าจะเป็นปีทองของลินุกซ์ หลังจาก เดลล์ คอมพิวเตอร์ขายคอมพิวเตอร์ที่ลงอูบุนตู พร้อมบริการหลังการขายในอเมริกา และยุโรปหลายประเทศ ตามด้วย เอชพี และ เลอโนโว ขณะที่ เทสโก้ก็ทำอย่างเกียวกันแต่ไม่รวมบริการหลังการขาย ในประเทศไทยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาติดตั้งลีนุกซ์มาพร้อมใช้งาน (เช่น eePC) แต่น่าเสียดายที่คนไทยยังภักดีต่อค่ายเล็กนิ่ม (Microsoft) ไม่เสื่อมคลาย จึงได้ฟอรืแมตเครื่องติดตั้งวินโดว์เอ็กซ์พีแทนเสียแล้ว... แปลกยิ่งกว่าคือผมพายามหาซื้อไม่ได้เลยทั้งๆ ที่ในสเป็กเครื่องจากบริษัทแม่ในต่างประเทศระบุว่าเป็นลินุกซ์แท้แน่นอน

มาร์ค ชัตเติ้ลเวิร์ธ เป็นคนที่น่าพูดถึงไม่ใช่เพราะความดัง ความสำเร็จอะไร แต่เพราะวิธีคิดและปรัชญา ความมุ่งมั่นของเขาที่ทุ่มเทให้กับโลกใบนี้

มูลนิธิ ชัตเติ้ลเวิร์ธในรูปข้างบนนั่นเป็นแค่ส่วนเดียวเท่านั้น แต่คำพูดที่ยกเอาไว้ในตอนต้นของบทความ น่าแปะติดข้างฝา เอาไว้คิดเล่นๆ

ไม่อยากให้ชื่อเสียงและเงินทองเป็นสรณะของชีวิตสำหรับ x-generation ในบ้านเราเหมือนกันละครับ

ท่านที่สนใจอยากได้ Ubuntu มาใช้งานสามารถดาวน์โหลดหรือขอแผ่นซีดีได้จาก http://www.ubuntu.com

หรือถ้ามีปัญหาการใช้งานอยากได้เทคนิคต่างๆ รวมทั้ง Ubuntu ที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมกับคนไทย ดูได้ที่ http://www.ubuntuclub.com

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘