Plawan Central Log

1. ความสามารถของโปรแกรม

- ระบบจัดการและเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Traffic Data Log file Management)
- ระบบพิสูจน์การมีตัวตนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Authentication)
- ระบบกรองข้อมูล (Content Filtering Module)
- ระบบการบล็อคเว็บตามรายการ (URL Blacklist ) พร้อมระบบอัพเดตอัตโนมัติ Subversion control - Auto Update
- ระบบป้องกันการค้นหาคำ(keyword)ไม่เหมาะสม (Content Keyword Blacklist module)
- ระบบเครือข่ายส่วนบุคคล (VPN : Virtual Private Network for Setup/Update)
- ระบบสําหรับการกําหนดเวลาให้ตรงกับเวลาจริงโดยอิงเวลาสากล (Global Time Synchronization)
- ข้อมูลสรุปสถานะการทำงานของ Plawan Central Log (Summary Status)
- สามารถตั้งค่าและจัดการระบบตามความต้องการ (Systems / Network / Object / Services Customized Module)
- ระบบ Firewall ป้องการบุกรุกจากผู้ไม่หวังดี (Firewall Packet Filtering and Redirect)
- ระบบจัดการผู้ใช้งานในเครือข่าย (User / Group Management)
- ระบบบริหารความเร็วอินเทอร์เน็ต (Traffic Shaping)
- ระบบจัดการพร็อคซี่ (HTTP Proxy)
- ระบบแชร์ไฟล์ (File Servers)
- สามารถติดตั้ง Module ที่ต้องการเพิ่มเติมได้ (Easy Installation Module)

2. ความต้องการระบบ

1. คอมพิวเตอร์พีซี (สเปคยิ่งสูงยิ่งดี)
- CPU 1 GHz ขึ้นไป
- RAM 256 MB ขึ้นไป
- Harddisk(ควรมีขนาดใหญ่เพราะต้องใช้เก็บ Log)
- CD-ROM Drive (เฉพาะตอนติดตั้ง)
- LAN Card จำนวน 2 ตัว (หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับการใช้งาน)

2. แผ่นซีดีโปรแกรม Plawan Central Log

3. ดาวน์โหลดโปรแกรม
สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Plawan Central Log ได้ที่

http://www.plawan.com/download/plawan-8.04tls-beta2.iso
ftp://wiki.plawan.com/plawan-8.04tls-beta2.iso
http://www.plawan.com/download/plawan-8.04tls-beta2.iso%5Bteratracker.com%5D.torrent

4. ลักษณะการทำการงาน

อธิบายการทำงานโดยสังเขปการวางเครื่องPlawan Central Log สามารถวางในวงNetwork ได้หลายวิธีแต่วิธีที่ปลอดภัยและได้ผลดีที่สุดคือวางคั่นระหว่างเครื่องข่าย สาธารณะ(Internet)กับเครือข่ายภายใน(LAN : Local Area Network) โดยLAN Card ขานอก(eth0) จะเชื่อมต่อกับRouterและต้องตั้งค่าIP Addressให้อยู่ในRangeเดียวกันกับRouterส่วนLAN Card ขาใน(eth1)โดยปกติจะตั้งไอพีเป็น 127.0.0.2 และจ่ายไอพีอัตโนมัติให้กับเครื่องลูก ส่วนเครื่องลูกในเครือข่ายให้ตั้งค่าเป็นDHCP (Obtian an IP address automatically)

5. การติดตั้ง Plawan Central Log

1. หลังจากดาวน์โหลดไฟล์ Plawan Central Log มาเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการบันทึกลงแผ่น CD (เนื่องจากเป็นไฟล์สกุล .iso)

2. เริ่มต้นติดตั้งด้วยการBootจากแผ่นPlawan Central Logจะปรากฏหน้าต่างดังรูป ให้เลือกตัวเลือกแรกแล้วกดปุ่ม Enter

3. แสดงสถานะการสำรวจทรัพยากรระบบก่อนติดตั้ง ให้รอสักครู่

4. รอจนกระทั่งแสดงหน้าต่างติดตั้ง Plawan Central Logดังรูป จากนั้นให้คลิกเลือก ภาษาไทย และคลิกปุ่ม ถัดไป

5. คลิกปุ่ม ถัดไป

6. คลิกเลือก Thailand จากนั้นให้คลิกปุ่ม ถัดไป

7. จัดเตรียมพื้นที่ในฮาร์ดดิส(ยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งดี) เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม ถัดไป

8. ตั้งชื่อและรหัสผ่านสำหรับผู้ดูแลระบบจากนั้นคลิกปุ่ม ถัดไป

9. คลิกปุ่ม Install

10. แสดงสถานะการติดตั้งให้รอสักครู่


11. คลิกปุ่ม รีสตาร์ทเดี๋ยวนี้

12. ระบบจะทำการรีสตาร์ทใหม่ ให้รอสักครู่

13. จะเข้าสู่หน้า Login ให้ผู้ใช้ใส่Username ที่ได้ตั้งไว้ในขั้นตอนข้อที่ 8

14. ใส่Password ที่ได้ตั้งไว้ในขั้นตอนข้อที่ 8

15. เข้าสู่หน้าต่าง Plawan Central Log ดังรูป

6. วิธีตั้งค่า Network

1. คลิกเมาส์ขวาบริเวณหน้าจอ จากนั้นคลิกเลือกเมนู Application > Network > Web Browser > Firefox 3 Browserดังรูป

2. หากเห็นข้อความ Address Not Found ก็อย่างเพิ่งตกใจครับให้เข้าสู่ส่วนของการตั้งค่า Plawan Central Log โดยเข้าที่https://127.0.0.1/eboxดังรูป

3. จากนั้นคลิกที่ลิงค์Or you can add an exception

4. คลิกที่ปุ่ม Add Exception…

5. คลิกที่ปุ่ม Get Certificate

6. คลิกที่ Confirm Security Exception

7. จากเข้าสู่หน้า Login ก่อนเข้าสู่ส่วนจัดการของโปรแกรม Plawan Central Log ให้ผู้ใช้พิมพ์รหัสผ่าน ซึ่งรหัสผ่านก็คือpasswordตรงส่วนนี้ผู้ใช้สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงภายหลังได้

8. เข้าสู่ส่วนจัดการในโปรแกรม Plawan Central Log หากผู้ใช้ต้องการให้จดจำรหัสผ่านจากขั้นตอนข้อที่ 7ก็ให้คลิกปุ่ม Remember แต่ถ้าไม่ต้องการให้จดจำก็ให้คลิกที่ปุ่ม Never for This Site (เพื่อความปลอดภัยควรคลิกปุ่มนี้)

9. ทำการตั้งค่าหมายเลขไอพีของ LAN Card โดยคลิกที่เมนู Network > Interface จากนั้นให้ตั้งค่าดังนี้

- eth0 (LAN Card ขานอก) เซ็ตหมายเลข IPและNetmaskให้อยู่ในRangeเดียวกับ Router

- eth1 (LAN Card ขาใน) เซ็ตหมายเลข IP เป็น 127.0.0.2และNetmaskเป็น 255.255.255.252ดังรูป เรียบร้อยแล้วคลิกที่ปุ่ม Change




10. จากนั้นคลิกปุ่ม
Save changes (ปกติหลังปรับเปลี่ยนค่าทุกอย่างที่อยู่ใน Plawan Central Log จะต้องคลิกปุ่ม Save changes)

11. ระบบจะทำการเตือนว่ามีการบันทึกข้อมูลการแก้ไขให้ผู้ใช้คลิกเครื่องหมายถูก ดังรูป

12.คลิกปุ่ม Save อีกครั้ง

13.ระบบกำลังทำการตั้งค่าให้รอสักครู่

14. ทำการตั้งค่า DNSซึ่งจะเป็นค่า DNS ของ ISP ที่ใช้ เช่น ทรู เป็น 203.144.207.29, 203.144.207.49 หรือ ไอเน็ต เป็น 203.150.213.1, 203.150.218.161 เป็นต้นให้ผู้ใช้เข้าที่เมนู Network > DNS>Add new ดังรูป

15. ใส่ค่า DNS จากนั้นคลิกที่ Add

16. คลิกที่ Save changes เพื่อบันทึกค่า

17. คลิกที่ปุ่ม Save อีกครั้ง

18. การตั้งค่าเสร็จเสร็จสมบรูณ์

19. ตั้งค่า Gateway ให้เครื่อง Plawan Central Log ให้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต โดยคลิกที่เมนูNetwork > Gateways > Add new

20. ใส่หมายเลขไอพี Gatewayของ Router ผู้ใช้งานสามารถ Limitความเร็วอินเทอร์เน็ตได้ในช่อง Upload และ Download จากนั้นคลิกปุ่ม Add และทำการ Save changes ตามปกติ เป็นอันสิ้นสุดการตั้งค่า Network

7. เพิ่ม User ในระบบ (สำหรับ Authentication)

1. คลิกเมาส์ขวาบริเวณหน้าจอ จากนั้นคลิกเลือกเมนู Application > Network > Web Browser > Firefox 3 Browserดังรูป

2. ให้เข้าสู่ส่วนของการตั้งค่า Plawan Central Log โดยเข้าที่ http://127.0.0.1 หรือhttp://127.0.0.2/ ดังรูป

3. ให้เข้าสู่ส่วนส่วนของการจัดการ User (เพื่อการ Authentication) และส่วนแสดงReport Logใน Plawan Central Logซึ่ง Username = adminและ Password = password

3. คลิกเลือกเมนู Plawan > Plawan Radius

4. คลิกที่แท็บ Add User > ทำการเพิ่มชื่อและรหัสผ่านให้กับUserที่จะใช้งานอินเทอร์เน็ต เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม Submit ครับ

5. ตรวจสอบ User ที่ได้ Add เข้าไปในระบบได้โดยคลิกที่แท็บ User


8. วิธีการตั้งค่าเครื่องลูก(Clients)

1. สำหรับเครื่อง User ให้ทำการตั้งค่าเป็น DHCP โดย ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Local Area Connection ดังรูป

2. คลิกที่ปุ่ม Properties


3. ดับเบิ้ลคลิกที่ Internet Protocol (TCP/IP)


4. ในแท็บ General ให้คลิก Optain an IP address automatically และ Optain DNS Server address automatically จากนั้นคลิกปุ่ม OK> OK> และ Close การตั้งค่าสำหรับ User เสร็จสมบรูณ์




9. Authentication User เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องลูกเข้าอินเทอร์เน็ต

1. เมื่อ User เปิดBrowser เข้าเล่นอินเทอร์เน็ต ก็จะปรากฏหน้าต่าง Plawan GW Authentication ดังรูป ให้ใส่ Username และ Password (ที่ได้ผู้ดูแลระบบได้ Add ไว้ในหัวข้อที่ 7 เพิ่ม User ในระบบ



2. เมื่อ Authentication ผ่านระบบจะแสดงสถานะของตัวผู้ใช้งานดังรูป ถึงตอนนี้ User ก็สามารถที่จะเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ตามปกติ



10. วิธีดู Report ของ User

1. คลิกเมาส์ขวาบริเวณหน้าจอ จากนั้นคลิกเลือกเมนู Application > Network > Web Browser > Firefox 3 Browserดังรูป



2. ให้เข้าสู่ส่วนของการตั้งค่า Plawan Central Log โดยเข้าที่
http://127.0.0.1 หรือ http://127.0.0.2/ ดังรูป



3. ให้เข้าสู่ส่วนส่วนของการจัดการ User (เพื่อการ Authentication) และส่วนแสดงReport Log ใน Plawan Central Log



4. คลิกที่เมนู Plawan> Plawan Report ดังรูป



5. เข้าสู่ Plawan Report จากตัวอย่างทดสอบด้วยการ Filter Mac Address ของ User ผู้ดูแลระบบสามารถ Export เป็นออกมาเป็นไฟล์ CSV และ PDF ได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘