การติดตามแผนการรับประทานแบบ Mediterranean Diet ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต

Mediterranean Diet ถูกตีพิมพ์ขึ้นมาโดย นพ. วอลเตอร์ วิลเลตต์ ช่วงกลางปี 1990 ครับ โดยที่มี
ลักษณะของอาหารที่เน้นการรับประทานผัก และผลไม้ มีแหล่งไขมันหลักจากน้ำมันมะกอก
ปริมาณไขมันที่ประมาณ 25% แต่ไขมันอิ่มตัวประมาณ 8% เน้นการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่
ยังไม่ผ่านการขัดสี จำพวกธัญพืช รับประทานปลาในปริมาณปานกลาง เนื้อสัตว์อื่นอีกเล็กน้อย
ไข่ไม่เกิน 4 ฟองต่อวัน และรับประทานไวน์ในปริมาณเล็กน้อย

โดยตัวของ Mediterranean Diet นั้นมีองค์ประกอบของไขมันในระดับที่ค่อนข้างสูงครับ แต่ว่า
ไขมันส่วนใหญ่ก็ยังเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ที่ต้องคำนึงถึงก็คือเรื่องของแคลอรี่เป็นหลัก ที่ผม
แนะนำก็คือ อาจทำเป็น Modified (ดัดแปลง) Mediterean Diet โดยลดปริมาณสัดส่วนไขมันลง
ก็ได้ครับ

มีการศึกษาชนิดเอางานวิจัยหลายๆชิ้นมาทบทวน จาก 12 การทดลอง ครอบคลุมประชากร
ประมาณ 1.5 ล้านคนที่รับประทานอาหาร Mediterranean Diet เป็นประจำในช่วงระหว่าง 3-18 ปี
ครับ

พบว่าผู้ที่ติดตาม Mediterranean Diet เป็นอย่างดีจะลดอัตราการเสียชีวิตโดยรวม ลดอัตราการเสีย
ชีวิตจากโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตันได้ ลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งได้ และลดอัตราการ
เกิดโรคอัลไซเมอร์ และพาร์กินสันลงได้

และมีอีกงานวิจัยครับที่พบว่า Mediterranean Diet สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
ได้อีกด้วยครับ

มีการศึกษาในกลุ่มประชากรที่ไม่ใช่เบาหวาน 13000 ราย แล้วติดตามการพฤติกรรมรับประทาน
อาหารแบบ Mediterranean Diet เป็นระยะเวลา 4 ปี พบว่าผู้ที่ติดตามการรับประทานอาหารแบบ
Mediterranean เป็นอย่างดีลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ 83% เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่
ติดตามบ้างได้ 60% และนอกจากนี้ผู้ที่ติดตามการรับประทานอาหารแบบ Mediterranean ยังช่วย
รักษาระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดได้อีกด้วยครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘