กรณีศึกษา การประยุกต์ใช้งาน LinuxSIS 5 ในสำนักงานขนาดกลางและเล็ก

บทความนี้ ตั้งใจเขียนให้ละเอียดเพื่อเป็นแนวทางอันจะนำไปใช้งานอย่างจริงจังได้ บทความนี้ เป็นกรณีศึกษา การประยุกต์ใช้ LinuxSIS 5.0 ในสำนักงานขนาดกลางและเล็ก แบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรก ใช้งานทุกอย่างในเครื่องเดียว กรณีที่สอง ใช้งานบางอย่างในเครื่อง (มี Server หลายเครื่อง)

กรณีแรก ใช้ LinuxSIS 5 ตัวเดียว ทำแทบทุกอย่าง

สถานการณ์สมมุติ มีสำนักงานขนาดเล็ก ต่อ Internet (อาจจะโดยใช้ ADSL) แล้วต่อสาย LAN ให้สามารถใช้งานกันได้ ต่อมา ต้องการปรับปรุงระบบ IT เพื่อรองรับการขยายงาน ต้องการเครื่องแม่ข่ายมาเพื่อจัดการระบบเครือข่าย และระบบอื่นๆ ที่จะสามารถทำได้

สิ่งที่สามารถคาดหวังได้ เมื่อใช้งาน LinuxSIS 5.0 เป็นเครื่องแม่ข่าย

1. ระบบจัดการเครือข่าย:

1.1 DHCP Server -> สามารถแจก IP ให้เครื่องลูกข่ายได้ ทำให้ไม่ต้องปรับแต่งค่าเครือข่ายที่เครื่องลูกข่าย

1.2. Internet Sharing -> LinuxSIS สามารถแจก Internet ให้เครื่องลูกข่ายได้ โดยสามารถเปิด-ปิด ระบบนี้ได้โดยง่าย

1.3 Firewall -> LinuxSIS มีระบบ Firewall เพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายภายใน สามารถปรับแต่งได้โดยง่าย

1.4 Proxy -> สามารถควบคุมการออกเน็ตของเครื่่องลูกข่ายได้ โดยระบุ ip, Mac Address หรือ user ที่สามารถเล่น net ได้ รวมถึงกำหนดว่า ไม่ให้ไป website ที่ไม่เหมาะสมได้

2. Web Server:

2.1 Web Site สำเร็จรูป -> LinuxSIS 5.0 มีโปรแกรมทำ WebSite สำเร็จรูป สามารถทำ WebSite ของหน่วยงานได้โดยง่าย

2.2 Gallery -> LinuxSIS 5.0 มีโปรแกรมนำเสนอรูปภาพ ซึ่งสะดวกแก่การนำรูปภาพของหน่วยงานขึ้นมานำเสนอได้ง่าย (อาจจะใช้ในการแสดงภาพของสินค้า หรือกิจกรรมของสำนักงาน)

2.3 Virtual host -> สามารถทำ Website หลายๆ Website ในเครื่องเดียวกันได้

2.4 Web site ส่วนตัว -> ผู้ใช้แต่ละคนสามารถมี web site ส่วนตัวได้

3. File Server:

3.1 File Sharing -> สามารถสร้าง Directory ที่จะเก็บ file ข้อมูลร่วมกันได้

3.2 ความปลอดภัย -> Directory ที่ใช้งานร่วมกันนั้น สามารถกำหนดสิทธิได้ว่า ผู้ใช้คนใดมีสิทธิอ่าน คนใดมีสิทธิเขียน

4. mail server:

4.1 Intranet mail server -> สร้าง mail server ไว้ใช้งานภายในองค์กรอย่างง่ายๆ

4.2 Internet mail Server -> มี mail server จริงๆ ของหน่วยงานได้ทันที


5. Backup-Restore:

5.1 Backup -> ง่ายๆ ด้วยการสำรองข้อมูลใส่ไว้ในแผ่น CD ซึ่งมีราคาประหยัด

5.2 Restore -> ง่ายๆ ใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงในการทำเครื่องแม่ข่ายเครื่องใหม่ เพื่อใช้งานทดแทนเครื่องเดิม ด้วยการ restore ข้อมูลจากเครื่องเดิมใส่ลงเครื่องใหม่ ทันที่ที่ติดตั้งเครื่องใหม่เสร็จ


วิธีทำ .... หลังจากติดตั้งแล้ว

set Network ของ sis ให้ทำงานก่อน

โดยปรกติ eth0 จะต่อเข้าภายใน (intranet) และ eth1 ต่อออกภายนอก (internet) โดยครั้งแรกนี้ อาจจะ set dns+gateway ตามที่ได้รับมา

เปิด share net และ proxy (และ dhcp server ถ้าต้องการ)

แล้วทดสอบก่อนว่าเครื่อง client ออก net ได้ตามปรกติ

เริ่ม set dns server

สร้าง zone โดย webadmin

(SIS 5.0 ยังไม่มี ต้อง Upgrade WebAdmin ก่อนครับ)

เพิ่ม hostname เป็น www และ mail

โดยระบุ ip เป็นขานอก และเพิ่ม mx เป็น mail (mail server ชื่อ mail.mydomain.co.th)

ทดสอบ

โดยใช้เครื่อง client ชี้ dns มาที่เครื่อง sis แล้ว ping ชื่อดูก่อนว่า ตอบ ip ถูกไม้ เช่น ping www...... แล้วตอบเป็น ip ที่ตั้งไว้หรือไม่

แก้ไข file ของ zone control

(webadmin มักจะสร้างเป็นชื่อเดียวกับ zone) โดยเพิ่ม "* IN A ipaddress" และ " IN A ipaddress" (อันหลังเนี่ย ต้องมีเว้นวรรค 1 เคาะนะครับ ไม่ใช่ใส่ IN ติดขอบซ้ายเลย .. อย่างนั้นไม่เวิร์คครับ)

ต้องระวังนิดนึงนะครับ ตอนแก้มือเองเนีย อาจจะผิดพลาดได้ง่าย แนะนำให้ backup โดยการ cp ไว้ก่อนที่จะแก้ไข ถ้าแก้แล้ว restart dns ไม่ได้ ก็เอาอันก่อนแก้มาทับ แล้วลอง restart dns ใหม่ดูครับ

ทดสอบจากเครื่องลูกข่าย

(ที่ชี้ dns มาที่เครื่อง sis) อีกครั้งว่า ping ชื่อเหล่านี้ได้ถูกไม้ (ต้องตอบ ip ได้ถูกต้อง) คือ www.mydomain.co.th, mail.mydomain.co.th และmydomain.co.th

แก้ไข dns ของ SIS

โดยอยู่ที่ /etc/resolv.conf (หรืออาจจะใช้ WebAdmin แก้ก็ได้) โดยให้บรรทัดแรกชี้ตัวเอง และบรรทั้ดอื่นๆ ชี้ตามที่ ISP กำหนด

ทดสอบอีกครั้ง

ดังข้อ 3.5 โดยทดสอบที่เครื่อง SIS ดูว่าตรงหรือไม่

restart squid

แล้วดูว่าเครื่องลูกข่ายเข้า Web ได้หรือไม่ (ตอนแรกทดสอบ DNS ด้วยการ ping ตอนนี้ทดสอบว่า Squid ทำงานได้ถูกต้องหรือไม่)

จัดการ mail server โดย

เปิดบริการ internet mail server

โดยระบุชื่อ server ตามที่ต้องการ เช่น mydomain.co.th

ทดสอบด้วยการใช้ webmain ส่งจากเราไปข้างนอก (เช่น yahoo)

อย่าลืม cc หาตัวเองด้วยนะครับ แล้วไปดูที่ yahoo ว่าได้รับหรือไม่ ได้รับจากใคร ใช่จาก user@mydomain.co.th หรือไม แล้วลอง reply ดู

ทดสอบอีกครั้ง ด้วย mail client อื่นๆ

เช่น thunderbird โดยระบุ imap (แทน pop3) และ smtp เป็น mail.mydomain.co.th

ลองดูนะครับ ;)

กรณีที่สอง ใช้ LinuxSIS 5 เป็น Server ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสำนักงาน

กรณีนี้ แบ่งเป็นหลายกรณีย่อย แล้วแต่การนำไปใช้งาน แต่ที่แน่ๆ มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันคือ การปรับแต่งค่าเครือข่ายสำหรับเครื่องแม่ข่าย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘