Harddisk และการแบ่งพาร์ติชั่น

ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อ ทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของ บริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็น ของตนเอง

โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ SSD

ฮาร์ดดิสก์ SSD


ประวัิติ

ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น «โดยใช้หน่วยการเปรียบเทียบเป็น บระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,024MB = 1GB» ในตอนแรกใช้ชื่อเรียกว่า 'ฟิกส์ดิสก์ fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ในบริษัท IBM เรียกว่า วินเชสเตอร์ส Winchesters

ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ จานบันทึกแบบแข็ง เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ จานบันทึกแบบอ่อน

ตั้งแต่ เข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีทรี, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา PDA จนกระทั่งภายใน โทรศัพท์มือถือ บางรุ่นตั้งแต่ภายในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาเช่นยี่ห้อ (โนเกีย และ ซัมซุง สองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์

หลักการทำงาน

หลักการ บันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้ สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก

สำหรับ เทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที ถ้าเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์ หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที

แผ่น เทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ข้อมูล ในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 ถึง 200 จิกะไบต์ ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ : ไบต์คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง โดยที่ไบต์จำนวนมากมาย รวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมา ผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ อัตราการไหลของข้อมูล (Data rate) คือจำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที
เวลาค้นหา (Seek time) เวลาที่ข้อมูลถูกส่งไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที

hdd
ภายในของ Harddisk


การเก็บข้อมูล

ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น


ลักษณะการเก็บข้อมูล
ขอบคุณข้อมูลตรงส่วนนี้จาก "วิกิ พีเดีย" ครับ

การแบ่ง Patition
แหม! อายจัง ไปลอกข้อมูลจาก วิกิพีเดียมาทั้งแท่งเลย ก็แบบว่าเค้าทำไว้ดีแล้วนี่ครับเลยไม่ต้องมาเขียนเองแต่ตรงส่วนนี้
เขียนเองนะครับเรามาดูกันดีกว่าว่าเหตุใดเราถึงต้องมีการแบ่ง patition กัน

การแบ่งพาร์ติชั่นคือ การแบ่งพื้นที่ ของ hdd 1 ก้อน ออกเป็นส่วน ๆ ประโยชน์เพื่อใช้ในการแยกเก็บข้อมูลไม่ให้มันกระจุกตัว
กันมากจนเกินไปจะส่งผลให้การค้นหาข้อมูลช้าลงและยังมีความสะดวกในด้านการเก็บรักษาข้อมูลในกรณีที่เราต้องลง OS ใหม่
ถ้าเราไม่แบ่งพาร์ติชั่น HDD ไว้เราก็ต้องถอด HDD ไปต่อกับเครื่องอื่นเพื่อ เก็บสำรองข้ำมูลในเครื่องซึ่งเป็นการเสียทั้งเวลาและ
ค่าใช้จ่าย

เอาหล่ะครับพอรู้ว่าการแบ่งพาร์ติชั่นสำคัญไฉนแล้ว เราก็มาเริ่มแบ่งกันเลยดีก่าว เริ่มต้นจากการซื้อ HDD กันก่อนเลยครับ
เมื่อเราซื้อ HDD มาแล้วเราต้องคิดในใจเลยว่าเราจะแบ่ง กี่ Drive ขนาดเท่าไหร่บ้าง วิธีที่ผมใช้หลัก ๆ ก็มีอยู่ 2 วิธีนะครับคือแบ่ง2 พาร์ติชั่นและ 3 พาร์ติชั่น พาร์ติชั่นแรกที่ เป็น c: นั้นผมจะแบ่ง ไม่เกิน 50 GB ครับ เอาไว้เก็บ windows กับโปรแกรมส่วนที่ 2 และ 3 คือไว้เก็บข้อมูลต่าง ๆ
ไว้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นถ้าผมซื้อ HDD ขนาด 500 GB มา Drive c: ก็ต้องคิดเป็น 10 เปอร์เซนต์ของทั้งหมด ก็คือ 50 GB(แต่ตามหลักแล้วไม่ถึงหรอกครับ อาจจะซัก 14-15 เปอร์เซนต์ก็ได้) และพื้นที่ ๆ เหลือ อีก 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ก็ให้เป็น D: และ E:นั่นก็เท่ากับ 450/2 =Drive ละ 225 GB ครับ (จริง ๆ ก็ ไม่ถึงหรอกครับอาจหาไปซักตัวละ 8-9 GB)

อันข้างบนคือตัวอย่าง คร่าว ๆ พอเข้าใจนะครับคราวนี้เรามาลองแบ่ง จริง กันจะได้ เห็ฯภาพ แต่ HDD ที่ผมเอามาแบ่งเป็นตัว
อย่างนี่ขนาดน้อยนิดนึงนะครับ 40 GB เพราะผมเหลือที่แบ่งได้เท่านี้จริง ๆ นอกนั้นใช้งานหมด ก็ลองเปรียบเทียบกันดูนะครับ

ริ่มต้น FDISK
ก่อนอื่นให้เพื่อนทำแผ่น BOOT CD ใส่ในเครื่องก่อนครับถ้าใครยังไม่มีโหลดได้เลย ที่นี่ โหลดมาเป็นไฟล์ .IMG ครับไรท์ด้วยโปรแกรมไรท์ CD ของคุณจากนั้น Restart computer เข้า BIOS เปลี่่ยน FIRST BOOT เป็น CD-ROM
bios

1. เปลี่ยน First boot เป็น CD-Rom ก่อนครับ (บทความหน้าจะเขียนวิธีเซทไบออสอย่างละเอียดนะครับ)จากนั้นใส่ CD-Rom ลงไปเพื่อให้เครื่องบูตจาก CD ครับ

dos
2. เมื่อ CD BOOT แล้วจะมีหน้าตาเช่นนี้ครับ ให้เพื่อน ๆ กดEnter ที่ 1 หรือ 2 ก็ได้ เพราะ CD แผ่นนี้ไม่มีอะไรติดมายกเว้น DOS ครับ

ap

3.เมื่อขึ้น A:\>_(อ่านว่า เอ พร็อม) ก็ให้คุณพิมพ์คำว่า FDISK แล้วกด Enter ครับ

ฟย

4.จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าคุณต้องการ enable large disk support หรือเปล่า นั่นหมายความว่าคุณต้องการที่จะใฃ้ FAT 32 หรือ เปล่า ตอบ YES ครับ ถ้าตอบ NO จะได้ FAT 16 (1 พาติชั่นจะแบ่งได้ไม่เกิน 2 GB เค้าไม่ใช้กันแล้วครับ)

fdisk

5.จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอของโปรแกรม Fdisk ครับ ถ้า Harddisk ที่คุณซื้อมาใหม่ ๆ ตอนนี้ ทางโรงงานเค้าจะสร้าง พาร์ติชั่นมาให้คุณ 1 พาร์ติชั่นครับคือ C: คุณจะต้องทำการลบมันออกไปก่อน แต่ HDD ตัวอย่างนี้มีการแบ่งไว้แล้ว 2 พาติชั่น
ครับดังนั้นผมจะบอกวิธีการลบ harddisk ที่มีมากกว่า 1 พาร์ติชั่นให้ซึ่งเป็นประโยชน์มากครับให้คุณ กด เลข 3 ครับเพื่อเลือกหัวข้อ Delete partition of logical dos drive
d

6.หลักในการลบพาร์ติชั่นคือคุณต้องลบจากส่วนย่อยที่สุดก่อนแล้วไล่มาเรื่อย ๆ ครับส่วนย่อยที่สุดก็คือ Logical dos drive ครับ (ส่วน Non-dos คือพาร์ติชั่นที่ ไม่ใช่ FAT16และ32 เช่น NTFS หรือ Linux ต้องลบด้วยคำสั่งนี้ครับ แต่ส่วนใหญ่จะลบ NTFS ไม่ค่อยได้เดี๋ยวผมจะได้นำเอา ฟรีแวร์ที่ใช้จัดการ พาร์ติชั่นมานำเสนอกันครับ) ตอนนี้ให้คุณกดเลข 3 แล้ว Enter
delpar

7.เมื่อเข้ามาปุ๊บโปรแกรมก็จะให้เราเลือกว่าเราจะลบ Drive อะไร ถ้าเพื่อนๆแบ่งหลาย Drive ก็จะขึ้นหลายอันแต่นี่แบ่งไว้ แค่ 1 เราก็ พิมพ์ D แล้วกด Enter ครับ



8.จากนั้นโปรแกรมจะถามย้ำอีกครั้งและให้คุณใส่ Volume Label ของ Drive ที่ต้องการจะลบครับ ก็ให้คุณใส่ให้ถูกด้วยนะครับ

9.เมื่อลบเสร็จโปรแกรมจะขึ้นว่า "NO LOGICAL DRIVES DEFIEND" แปลว่า ไม่มีโลจิโคลไดร์ฟแล้วครับให้เรากด ESC เพื่อที่จะกลับไปที่หน้าเมนูDELETE และให้เพื่อน ๆ ไปเลือกหัวข้อที่ 2 Delete Extended partition เพื่อลบส่วนของ Extended (ส่วนที่ครอบ Logical ทั้งหมดอยู่ ถ้าคุณลบ Logical ไม่หมดจะไม่สามารถลบ Extended ได้นะครับ)

del

10.จากนั้นเข้าสู่หน้าจอ การลบ Extended partition ก็ให้เพื่อน ๆ กด Y และกด ENTER

del

11.จ๊าง! Extended partition หายไปแล้ว ก็ให้คุณกด ESC ออกมาที่หน้าเมนู DELETE ได้เลยแล้วเลือกหัวข้อที่ 1 คือ Delete Primary dos partition ได้เลย อันนี้ละไว้นะครับเพราะลบเหมือนกับ EXTENDED เมื่อลบ Primary ได้แล้วก็ เท่ากับ HDD ของเราว่างเปล่าแล้วครับทีนี้เราก็มาเตรียมสร้างพาร์ติชัั่นที่เราต้องการกันได้เลย

การสร้าง พาร์ติชั่น
เราจะมาเริ่มสร้าง พาร์ติชั่นจากที่คำนวนไว้ในตอนต้นกันครับแต่ในเคสนี้ HDD มีพื้นที่น้อยดังนั้นผมจะแบ่งตามความเหมาะสมนะครับ



1.ย้อนกลับมาที่เมนูหลัก เลือกหัวข้อที่ 1 ครับ Create DOS partition~ เพืื่อเตรียมสร้างพาร์ติชั่นกันครับให้คุณเลือกหัวข้อ Create primary DOS partition (1) แล้ว กด Enter ครับ

primary

2.โปรแกรมจะทำการตรวจสอบ รอสักครู่ (ถ้า Hdd ใหญ่มากก็ต้องรอครู่ใหญ่ ๆ นะครับ)

pri2

3จากนั้นตรงนี้สำคัญที่สุดนะครับหลายคนพลาดมาแล้ว โปรแกรมจะถามว่าคุณต้องการนำพื้นที่ทั้งหมดมาทำเป็น Primeary หรือไม่ให้คุณตอบ N นะครับ ถ้าตอบ Y HDD ของคุณก็จะเหลือพาร์ติชั่นเดียวต้องมานั่งลบกันอีกรอบ)

pri3

4.จากนั้นโปรแกรมจะให้คุณใส่จำนวนพื้นที่ ๆ ต้องการจะให้เป็น Primary (C:) ให้คุณใส่เป็นเปอร์เซนต์ดีกว่าคำนวนง่ายดีในที่ นี้ 45% ของ HDD 40 GB ก็คือ 0.45X40=ประมาณ 18 GB ครับ เวลาใส่อย่าลืมตัว % ด้วยไม่งั้นหล่ะได้แค่ 45 MB ไม่รู้นะจากนั้นกด ESC ออกมาเลือกหัวข้อ ที่ 2 Create Extended partition ครับ

ext

5.เมื่อเข้ามาแล้วโปรแกรมจะสร้าง Extended ให้คุณโดยอัตโนมัติครับ รอครู่เล็กใหญ่ตามขนาด HDD ครับ



6.จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าคุณต้องการนำพื้นที่ที่เหลือทั้งหมดมาสร้างเป็น Extended หรือเปล่าคุณต้องใส่พื้นที่ทั้งหมดที่เหลือของ HDD ลงไปนะครับถึงแม้คุณจะต้องแบ่งหลายพาร์ติชั่นก็ตามเพราะ Extended คือส่วนที่ครอบทั้งหมดของ Logical ไว้หากคุณไม่เอาพื้นที่ ๆ เหลือทั้งหมดสร้าง Extended พื้นที่ส่วนที่ไม่ได้เป็น Extended ก็จะใช้ประโยชน์ไม่ได้ (ถ้างงอ่านอีกเที่ยวนะครับ) กด Enter โปรแกรมก็จะสร้าง Logical ให้คุณโดยอัตโนมัติครับตอนนี้แหล่ะถ้าคุณต้องการแบ่งมากกว่า 2 พาร์ติชั่นก็ให้มากำหนดช่วงนี้ให้คุณมองพื้นที่ ๆ เหลือทั้งหมด เป็น 100% คือตอนนี้เหลือประมาณ 21 GB ครับก็ให้แบ่งเอาว่าจะเอาDriveละเท่าไหร่ แต่ส่วนใหญ่ผมก็จะ 50/50 กันงง กันไป



7.เมื่อแบ่งแล้วก็จะได้ ตามภาพครับ จากนั้น กด ESC มาที่เมนเมนูเพื่อจะทำขั้นตอนสุดท้ายคือการ Set Active partition

8. เลือกหัวข้อที่ 2 ครับ Set active partition เพื่อบอกให้ OS ที่เราจะลงรู้ว่าควรลงที่ใดก่อน ก็ให้เซทที่ primary เสมอครับจากนั้น กด ESC หลาย ๆ ครั้งเพื่อออกจากโปรแกรมตรงนี้ก็สำคัญอีกครับคือเมื่อคุณออกจากโปรแกรมมาที่ A Prompt แล้วให้คุณกด CTRL+ALT+DEL เพื่อรีสตาร์ทเครื่องใหม่เป็นการยอมรับการแบ่งพาร์ติชั่นนะครับ ไม่งั้นสิ่งที่ทำมาทั้งหมดก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเชียว

เลือก FAT

ถึงเวลาตัดสินใจแล้วครับว่าจะเลือก FAT แบบไหนดีระหว่าง FAT32 และ NTFS ถ้าคุณเลือก FAT 32 ก็ให้คุณ Format โดยใช้คำสั่ง Dos ครับคือ เมื่อเครื่องRestary ขึ้น A:\: แล้วให้พิมพ์ Format c: แล้วกด Enter กด Y แล้วรอจนมัน Format เสร็จและทำกับ Drive ที่เหลือทั้งหมด
แต่ถ้าคุณต้องการให้เป็น NTFS คุณก็ใช้แผ่น Windos XP หรืออื่่น ๆ Format ได้เลยโดยคำสั่ง Format จะอยู่ในขั้นตอนการติดตั้งอยู่แล้ว ส่วน Drive อื่น ๆ ก็ไป Format กันใน Windows ครับ


ข้อดี-ด้อยของ FAT ทั้ง 2

FAT 32 ข้อดี -สามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการทั้งเก่าและใหม่เช่น DOS 6.22 Windows 95,98,MEและ XP
ง่ายต่อการจัดการหากมีปัญหาเช่นการติดไวรัสแบบ Autorun และง่ายต่อการ Backup
ข้อด้อย -มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของไฟล์ที่จะเก็บได้ (ไม่เกิน 4 GB ต่อ 1 ไฟล์) 1 patition ของ FAT 32 แบ่งได้ไม่เกิน 100 GB (จากประสบการณ์จริงที่เคยใช้มา)

NTFS ข้อดี -มีความปลอดภัยสูง ไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของไฟล์สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า Hdd แบบ FAT32 ในปริมาณพื้นที่ ๆ เท่ากัน
ข้อด้อย DOS มองไม่เห็นทำให้เวลาติดไวรัสประเภท Autorun กำจัดได้ยากกว่า และมักจะมีการ Formatผิด Drive บ่อย ๆ ในกรณีที่ใช้ Fat 32 และ NTFS ร่วมกัน คือถ้า เราใช้ C เป็น NTFS และ Dกับ Eเป็น FAT32 พอบูทด้วยแผ่น DOS จะไม่เห็น C และ D,E จะกลายเป็น C,D ตามลำดับ เราเลยFormat ผิด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘