ดัชนีน้ำตาลแบบถ่วงน้ำหนัก (Glycemic Load) ความสำคัญคืออะไร

ในการลดน้ำหนักคุณต้องควบคุมระดับน้ำตาล ควบคู่ไปกับการควบคุมแคลอรี่ด้วย ด้วยเหตุ
ที่ว่าน้ำตาล จะกระตุ้นอินซูลิน และอินซูลินกระตุ้นเอนไซม์ที่มีชื่อว่า ไลโปโปรตีนไลเปส
ซึ่งจะทำให้คุณสะสมไขมันมากขึ้นครับ นอกจากนี้ยังกระตุ้นเอนไซม์ที่มีชื่อว่า HMG CoA
reductase ให้สร้างโคเลสเตอรอลชนิดเลวในตับเพิ่มขึ้นอีกด้วย

และตัวชี้วัดว่าอาหารแต่ละชนิดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเพียงใด คือ ดัชนีน้ำตาล
ครับ

ทีนี้ดัชนีน้ำตาลแบบถ่วงน้ำหนักคืออะไร ?

มีผู้ที่โทรมาหาผมถามเรื่องดัชนีน้ำตาล ถามว่า ผมลืมเขียนเรื่อง Glycemic Load หรือเปล่า ?
ผมต้องเรียนว่าผมไม่ได้ลืม แต่ผมต้องค่อยๆพูดทีละเรื่องครับ เพราะเนื้อหาเกี่ยวกับการลด
น้ำหนักมีเยอะมากครับ

ปัญหาของ Glycemic index หรือดัชนีน้ำาลอาหาร คือแต่ละอย่างมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตไม่
เท่ากันแล้วจะเทียบกันได้อย่างไร

เทียบกันไม่ได้อย่างแน่นอนครับ

เนื่องจากอาหารแต่ละอย่างมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น แตงโม 100 กรัม จะ
มาเทียบกับกล้วย 100 กรัมไม่ได้ครับ

ดังนั้นจึงมีแนวคิดดัชนีน้ำตาลแบบถ่วงน้ำหนักครับ นั่นคือที่มาของ Glycemic Load โดย
คำนวณจากปริมาณที่เรารับประทานในหน่วย กรัม คูณด้วยค่าดัขนีน้ำตาล หารด้วย 100

ผมยกตัวอย่างเช่น

แตงโมสไลด์ขนาด 100 กรัม มีค่าดัชนีน้ำตาล 72 จะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตอยู่ 5 กรัม

ดังนั้นค่าดัชนีน้ำตาลแบบถ่วงน้ำหนักจึงมีค่า 5 x 0.72 = 3.6

เทียบกับกล้วยขนาด 100 กรัม มีค่าดัชนีน้ำตาล 52 จะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตอยู่ 20 กรัม

ดังนั้นค่าดัชนีน้ำตาลแบบถ่วงน้ำหนักจึงมีค่า 52 x 0.20 = 10 เป็นต้นครับ

ค่าดัชนีน้ำตาลแบบถ่วงน้ำหนักจึงเป็นแนวคิดที่จะนำไปเปรียบเทียบปริมาณของน้ำตาลที่จะ
เข้าสู่ร่างกายครับ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือไม่ แต่ยังบอกด้วยครับ
ว่าคุณได้รับน้ำตาลมากเพียงใดด้วยครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘