กำแพงไฟ (Firewall) ป้องกันการบุกรุกจากผู้ไม่พึงประสงค์

การตรวจสอบจาก Firewall ก่อนที่จะทำการเชื่อมต่อออกสู่  Internetไม่ มีคอมพิวเตอร์เครื่องไหนที่ต่อเชื่อมเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว จะปลอดภัยจากการคุกคามของแฮกเกอร์ได้ 100 เปอร์เซนต์ อ้าว!!! ถ้างั้นก็ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซะก็สิ้นเรื่องน่ะซิ รับรองเครื่องคอมพิวเตอร์อันเป็นสุดที่รักยิ่ง ก็จะปลอดภัยจากไวรัสได้ 100% อะไรจะคิดได้ปานนั้นครับ เพราะยังไงก็พอมีหนทางป้องกันได้ในระดับต้นๆอยู่บ้างนั่นแหละ เช่น หมั่นดาวน์โหลดไฟล์ของไมโครซอฟท์เพื่ออัปเดตไฟล์ Windows Security Update และ Patchs เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้กับ Microsoft Windows ของคุณในระดับพื้นฐาน หรือ เมื่อติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ไม่ว่าค่ายใดก็ตามที ต้องหมั่น Update ข้อมูลไวรัสเป็นประจำ (สำหรับ McAfee จะออกมาให้ Update กันทุกวันพฤหัสบดีน่ะครับ หรือคุณอาจจะเลือก Update ที่นี่ก็ได้) เพื่อป้องกันโปรแกรมไวรัส Trojan Horse ที่มักจะแฝงตัวเข้ามากับ e-Mail รวมทั้งต้องระมัดระวังการเปิดอีเมล์ออกมาอ่าน จากคนที่คุณไม่รู้จัก นอกจากนี้ก็มีอีกวิธีหนึ่งที่ผมกำลังจะแนะนำให้ทุกๆท่านได้รู้จักก็คือ กาีรติดตั้งกำแพงไฟ (Firewall) ไอ้เจ้า Firewall เนี่ยมันก็คือโปรแกรม (Software) อย่างนึงที่ติดตั้งเอาไว้เพื่อบล็อก หรือ ป้องกันการทำงานของโปรแกรม แอพพลิเคชั่น ที่มีปัญหา เราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้โปรแกรมไหนที่อยู่ในฮาร์ดดิสต์ของคุณ สามารถนำไปใช้ในอินเทอร์เน็ตได้ พร้อมกับการเสริมมาตรการรักษาความปลอดภัยจากพวก SpyWare (โปรแกรมมันจะซุกซ่อนอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เพื่อนำข้อมูล เช่น ขโมยรหัสผ่านต่างๆ ส่งกลับไปยังผู้ที่เขียนโปรแกรมผ่านทางอินเทอร์เน็ต) หรือ อีเมล์ที่มีไฟล์โปรแกรมติดมาด้วย นอกจากนี้ก็ยังสามารถป้องกันบุตร หลาน ของท่านเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมเว็บที่ไม่เหมาะสม เช่น เว็ปไซต์ลามก หรือ เว็ปที่มีความรุนแรงต่างๆได้อีกด้วย


โปรแกรม Firewall เหล่านี้ ก็มีมากหลากหลายยี่ห้อเลยครับ
แต่ก็หน้าเก่าๆในแวดวงของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities)
ตามฟอร์มเดิมนั่นแหละ อันได้แก่ McAfee, Norton, Panda หรือ
ZoneAlarm การเลือกไปใช้งานก็ขึ้นกับผู้ใช้งานนั่นแหละครับ
ว่า จะชื่นชอบอันไหน ผมคงไม่ระบุหรอกครับว่าอันไหนดีกว่ากัน เพราะผมเองก็ลองทดสอบใช้มาหลายตัวแล้ว ประมาณว่ามันก็พอๆกันนั่นแหละครับ อยู่ที่ว่าโปรแกรมไหนจะรบกวนการทำงานของผู้ใช้มาก หรือ น้อยกว่ากันเท่านั้นเอง แต่สำหรับบทความนี้ผมก็จะลองยกตัวอย่างของ Personal McAfee Firewall (โดยส่วนตัวของผมค่อนข้างจะใช้โปรแกรมของค่ายนี้ถนัดมือหน่อย)
มาให้ท่านได้ลองเลือกใช้งานดูก็แล้วกันครับผม


กลุ่มบริษัท McAfee ได้ซื้อ Signal9's ConSeal Private Desktop ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัททางด้าน Firewall จาก Canada เพื่อเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บให้กับ Personal Firewall ของตัว McAfee นอกเหนือไปจาก Utilities Anti-Virus ที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เพื่อแข่งขันกับค่าย Norton ที่ออกชุด
Firewall มาตีตลาดไปล่วงหน้าแล้ว ชุดโปรแกรมของ McAfee ที่ผมได้ทดสอบและติดตั้งในทุกเครื่องที่ใช้งานอยู่นี้ ด้วยการติดตั้งโปรแกรม McAfee Virus Scan Professional Version 7.0 ซึ่งในโปรแกรมอัลบั้มชุดนี้ได้ผนึกเอา Firewall เข้ามาผสมโรงด้วยเป็นที่เรียบร้อย ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะติดตั้ง Firewall มันเข้าไปด้วยหรือไม่ โดยเราสามารถที่จะตรวจสอบการไหลเข้า หรือ ออกของข้อมูล ภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แม้แต่ในระดับต่ำก็ตามที ตัวโปรแกรมติดตั้งได้อย่างง่ายๆ (แบบ Next, Next ... Finish) ส่วนการเซตอัพค่อนข้างจะยุ่งยากกว่าซอฟท์แวร์ของค่ายอื่นๆ อยู่พอสมควร โดยคุณสามารถเข้าไปเซตอัพระบบป้องกัน ใน แบบ Manual ได้ 3 ระดับ คือ ระดับป้องกันทุกอย่าง (Block Everything) ระบบกลั่นกรองการไหลของข้อมูล (Filter Traffic) และระบบที่ปล่อยผ่านออกไปได้หมด (Allow Everything)



การใช้ Visual Trace เพื่อจำลองเส้นทางผ่านของผู้บุกรุกหลาย ต่อหลายคนที่ไม่ค่อยจะคุ้นเคยสักเท่าไรนักกับโปรแกรมของค่าย McAfee ก็มักจะบอกว่า เจ้าโปรแกรมตัวนี้ค่อนข้างจะใช้งานยากซะเหลือเกิน เมื่อเทียบกับ Norton อย่างไรก็ตามหากคุณเริ่มคุ้นเคยกับมันได้แล้ว การใช้งานก็คงจะไม่ยากเย็นอะไรนักหรอกครับ แต่ไม่ว่าจะใช้ค่ายไหนก็ตามที
คุณ ผู้ใช้งานที่ค่อนข้างใจร้อนแล้ว จะไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการใช้โปรแกรมประเภท Firewall เพราะว่าโปรแกรมเหล่านี้จำเป็นจะต้องทำหน้าที่ของมันอยู่ตลอดเวลา
ไม่ ว่าคุณจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ไม่ก็ตามที หากมีสิ่งผิดปกติ (หรือ ปกติดี) โปรแกรมจะทำการเตือนคุณทันทีทันใดว่าจะอนุญาตให้ใช้โปรแกรม (ที่ถูกเตือน) ตลอดไป หรือ ให้ใช้ได้เฉพาะขณะนี้ (หาก Log off ออกไปแล้ว และกลับเข้ามาใช้งานใหม่อีกครั้ง มันจะทำการเตือนอีก) หรือ บล็อกงานที่กำลังทำในขณะนั้นอยู่หรือไม่ (บางคนจะบอกว่า
มันน่ารำคาญ) อันที่จริงแล้ว เราจะลดปัญหา หรือ อุปสรรคตรงนี้ไปได้เยอะเลย หากว่าคุณทำการปรับแต่ง Configuration ของ Firewall เอาไว้ล่วงหน้าเสียก่อน ก็จะเป็นทางออกที่ดีในการใช้ประโยชน์ที่สูงสุดของโปรแกรมจำพวก
Firewall.


ดังภาพทางซ้ายมือนี้ เป็นการตรวจจับการบุกรุกโดยอาศัย Visual Trace เพื่อ Scan หรือ ค้นหา แล้วทำการจำลองเส้นทาง การผ่านเข้ามาของผู้บุกรุก ว่าเขา (หรือเธอ) ได้ใช้เส้นทางไหนบ้างที่อาศัยจุดอ่อนของระบบที่มีอยู่ อันจะทำให้เราสามารถทำการป้องกัน การเจาะข้อมูลเข้ามาสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไว้ล่วงหน้า ก่อนที่มันอาจจะขยาย หรือ เชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ทำการแชร์ไฟล์เอาไว้ ในระบบเครือข่ายที่เรากำลังต่อใช้งานอยู่อีกก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

แต่ สิ่งสำคัญที่เราต้องพึงระลึกอยู่อย่างเสมอ ไม่ว่าโปรแกรมจะดีเลิศเลอ หรือ สุดยอดโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ดีขนาดไหนก็ตามทีเถอะี หากว่าเราไม่รู้จักระมัดระวัง ป้องกัน และ รักษา หรือ มีระเบียบวินัย ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ (ประมาณว่าสำส่อนในการใช้คอมพิวเตอร์เกินไป) โปรแกรม Firewall หรือ Antivirus ก็แทบจะไม่มีประโยชน์เอาเสียเลย ติดตั้งเอาไว้ก็เปลืองพื้นที่ใน Hard Disk ซะเฉยๆ (ลบออกไปซะก็ดี) แถมทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ยังต้องทำงานได้ช้าอีก นอกเหนือไปจากนั้นคุณก็อาจเป็นคนนึงที่มีสิทธิ์ ที่จะเป็นคนปล่อยเจ้าไวรัส แพร่ออกไปสู่คนอื่นๆได้อีก (เดือดร้อนคนเดียวไม่พอ อย่างนี้ก็ต้องหาเพื่อนมาร่วมชะตากรรมกับตัวเองด้วย - 55555)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘