มาติดตั้ง eyeOS บน LinuxSIS5 กันเถอะครับ

ติดตั้ง eyeOS บน LinuxSIS 5 เพื่อใช้งาน Desktop ผ่าน Web Browser จากเครื่องลูกข่าย

เกริ่นนำ

สืบเนื่องจากการที่มีคนถามกันมามากว่า เครื่องแม่ข่ายหลายครั้งก็มี Spec ค่อนข้างสูง นอกจากจะมาติดตั้ง LinuxSIS 5 เพื่อให้บริการด้านเครือข่ายแล้ว ก็น่าจะนำมาใช้งานด้าน Desktop ได้ด้วย ซึ่งก็ได้มีการแนะนำไปหลายๆ วิธี โดยหลักๆ ก็จะแนะนำว่า สามารถติดตั้งได้ โดยใช้ apt-get หรือ synaptic เพื่อติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่ต้องการใช้งาน (อาจจะเขียนรายละเอียดเพิ่มในโอกาสต่อไป)

วันนี้ จะขอแนะนำอีกวิธีหนึ่งซึ่งผมลองทดสอบแล้ว ได้ผลดีครับ ก็คือ ติดตั้ง eyeOS ลงบน LinuxSIS 5 เพื่อให้ Client ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องแม่ข่ายได้เต็มที่

บทความนี้ จะแนะนำวิธีติดตั้งลงบน LinuxSIS 5 เพื่อให้มีความปลอดภัย และเหมาะกับการใช้งาน แต่ไม่ได้แนะนำวิธีใช้งานครับ (ถ้ามีโอกาส จะเขียนไว้ให้อีกครั้งครับ)

แนะนำ eyeOS

eyeOS เป็นโปรแกรม php ที่ทำงานบน Web server เพื่อทำหน้าที่เป็นเหมือน Desktop จำลอง ซึ่งเครื่องลูกข่ายใดๆ สามารถใช้ Web Browser เข้ามาใช้งานได้ การทำงานทั้งหมด จะอยู่ที่เครื่องแม่ข่าย และส่งหน้า Desktop ไปให้ Web Browser เพื่อให้ผู้ใช้ทำงาน

เนื่องจาก eyeOS เป็นระบบต่างหาก ไม่เกี่ยวกับระบบผู้ใช้ของ LinuxSIS ดังนั้น ระบบจะมีผู้ใช้ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบต่างหาก (ไม่เกี่ยวกับ "root" และ "admin" ของ LinuxSIS) รวมถึงพื้นที่ส่วนตัวของผู้ใช้ (home) ก็จะอยู่คนละที่กับ "/home" ใน Harddisk

Application (Software) ที่มีให้ใช้ ก็มีพวกโปรแกรม Offie (ทั้ง File Manager, Word, Sheet, Present, Calendar, Contract), Network (โปรแกรม FTP, Mail-Message chat) Accessories (โปรแกรมเครื่องคิดเลข และ QuickNote) Games และ System (ดู และจัดการ Process)

ผู้ใช้ที่เป็นผู้จัดการระบบทั้งหมด คือ "root" ซึ่งสามารถปรับแต่งระบบต่างๆ เช่น จัดการกลุ่มของผู้ใช้ จัดการผู้ใช้ อนุญาตให้ผู้ใช้สร้าง account เองได้หรือไม่ เป็นต้น

ผู้ใช้ในระบบ จะมีพื้นที่ส่วนตัวในการเก็บงานบนเครื่องแม่ข่าย (คนละที่กับ home ของผู้ใช้ในระบบ SIS

ดังนั้น สิ่งที่เครื่องลูกข่ายจะต้องมี (เพื่อจะใช้งานระบบ) ก็คือ WebBrowser

สิ่งที่จะทำให้ระบบเร็วพอใช้งานได้ นอกจากตัวเครื่องแม่ข่ายจะต้องมี RAM และ พื้นที่ Harddisk (ส่วนของ /var) และ CPU แล้ว ระบบเครือข่ายจะต้องดีด้วย (เพราะระบบทำงานผ่าน TCP 80)

การติดตั้ง

  • ใช้เครื่องลูกข่าย ไป Download โปรแกรม โดยไปที่ www.eyeos.org/?section=Downloads
  • เลือกที่ Current Version และเลือกที่เป็น Tar.gz|Web Installer
  • ส่ง file ไปที่ server โดยใช้คำสั่ง scp (หรือส่งผ่าน filezilla ถ้าใช้ Windows) โดยผู้ใช้ที่เป็น webmaster และให้ไปไว้ที่ /var/www/html
somdej@DejTLE9:~/Desktop/temp/Program/linux$ scp eyeOS_1.5.0.5.tar.gz 10.226.38.29:/var/www/html
somdej@10.226.38.29's password:
eyeOS_1.5.0.5.tar.gz 100% 1601KB 1.6MB/s 00:01
  • ssh เข้าไปที่ server โดยคำสั่ง ssh (หรือใช้ putty ถ้าใช้ Windows)
  • ใช้คำสั่ง su – และใส่รหัสผ่านของผู้ใช้ “root” เพื่อกลายเป็นผู้ใช้ “root”
[somdej@dej-sis ~]$ su -
Password:
[root@dej-sis ~]#
  • ย้ายไปที่โปรแกรมติดตั้ง (คือ /var/www/html) โดยคำสั่ง
[root@dej-sis ~]# cd /var/www/html/
  • แตกโปรแกรมออก โดยใช้คำสั่ง[
root@dej-sis html]# tar xvfz eyeOS_1.5.0.5.tar.gz
eyeOS/
eyeOS/install.php
eyeOS/index.php
eyeOS/eyeOS1505.eyepackage
eyeOS/README.txt
eyeOS/license.txt
eyeOS/img/
eyeOS/img/installText.png
eyeOS/img/logo.png
eyeOS/img/window.png
eyeOS/img/default.jpg
  • เปลี่ยนชื่อ directory ที่จะเก็บ (สมมุติว่าให้ชื่อ home) โดยใช้คำสั่ง mv
[root@dej-sis html]# mv eyeOS home
  • เปลี่ยนสิทธิเพื่อความปลอดภัย
[root@dej-sis html]# chown -R apache:apache home
[root@dej-sis html]# chmod -R 700 home
  • เรียกใช้งานโปรแกรมติดตั้ง โดยเปิด Web Browser แล้วเรียก http://sis-ip-address/home จะปรากฏหน้าติดตั้งโปรแกรม (ในกรณีที่เปลียน Directory เป็น home เหมือนตัวอย่าง)
  • ตัวโปรแกรมจะให้ใส่รหัสผ่านของ "root" ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นรหัสผ่านเดียวกับรหัสผ่านของ "root" ของ LinuxSIS
  • ใส่ชื่อ Hostname เพื่อเป็นชื่อเครื่อง เวลาที่ผู้ใช้ login เข้ามา
  • ตรง "Allow users to create accounts" นั้น ไม่ควรเลือก เพื่อเป็นการ ไม่อนุญาต ให้ผู้ใช้สร้าง account เองได้ (root เป็นผู้สร้างให้เท่านั้น)

การจัดการ

  • login เป็น "root" โดยการเปิด Web Browser แล้วเรียก http://sis-ip-address/home จะปรากฏหน้าติดตั้งโปรแกรม (ในกรณีที่เปลียน Directory เป็น home เหมือนตัวอย่าง)
  • กดปุ่ม "eyeOS" สีส้มด้านล่างตรงกลางจอ เพื่อเรียกเมนู แล้วเลือก System perferneces
  • เลือก General เพื่อปรับแต่งระบบทั่วไป เช่น อนุญาตให้ผู้ใช้สร้าง Account เอง, กำหนด Quota, เปลี่ยนรหัสผ่านของ "root"
  • เลือก Manage groups เพื่อจัดการกลุ่มผู้ใช้ (เช่น สร้างกลุ่มผู้ใช้ใดๆ)
  • เลือก Manage users เพื่อจัดการผู้ใช้ (เช่น สร้างผู้ใช้)
อย่าลืม logout ทุกครั้งหลังใช้งาน โดยเฉพาะผู้ใช้ root นะครับ สำคัญมาก

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘