DOS เบื้องต้นสำหรับงานซ่อมคอม

หากจะกล่าวถึง DOS กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในยุคหลัง ๆ ที่เพิ่งเริ่มใช้มาซัก 5-6 ปี นี้อาจจะพากันพูดว่า “อะไรอ่ะ ไม่รู้จัก”
หรือ “เก่าแล้วจะเอามาเล่าทำไม” หรือ “ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรเลย หน้าตาก็เชย คำสั่งก็จำยาก” ฯลฯ แต่คุณ ๆ รู้ไหมครับว่า
DOS เนี่ยถือได้ว่าเป็นเครื่องมือระดับเทพที่ใช้ในการซ่อมคอมพิวเตอร์ที่แผ่น Windows ไม่สามารถเทียบเคียงได้ ดังนั้นในบทความนี้จะขอตามใจตัว(ผม)เองนำเสนอเรื่องราวคำสั่ง Dos เบื้องต้นเพื่อใช้ในการ ซ่อมคอมพิวเตอร์กันนะครับ

DOS ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฏิบัติการที่คิดค้นขึ้นโดย Microsoft ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการของ PC ในยุคแรก ๆ ผู้ใช้ที่จะใช้ DOS ได้จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้คำสั่งของ DOS ซะก่อน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

คำสั่งภายใน (Internal command) และคำสั่งภายนอก (External command)

คำสั่งภายใน คือคำสั่งที่ไม่มีตัวตนอยู่ในรูปแบบของไฟล์ถูกโหลดขึ้นมาพร้อมกับไฟล์ที่มีชื่อว่า Command.com เป็นคำสั่งพื้น
ฐานที่ใช้จัดกาารไฟล์หรือ Directory มีหลัก ๆ อยู่ 5 คำสั่งคือ

1. Dir (Directory)
ค่ำสั่ง DIR นี้เป็นคำสั่งพื้นฐานที่สุดของ DOS เพราะเป็นคำสั่งที่ใช้ในการขออูรายชื่อ File ที่มีอยู่ใน Disk นั้น ๆ
วิธีใช้ ที่ A: หรือ C: พิมพ์ ว่า DIR แล้วกด Enter จะปรากฏข้อมูลดังภาพ นอกจากนี้คำสั่ง Dir ยังมีคำสั่งย่อยหรือที่เรียกกันว่า พารามิเตอร์ (Parameter) ดังนี้ คือ
1.1. Dir/W การใส่ /W คือการขอดูข้อมูลในแนวกว้างทีละ หนึ่งหน้าจอ
1.2. Dir/S คือการขอดูข้อมูลทั้งหมด ที่มีอยู่ใน Disk นั้น ๆ
1.3. Dir/ah ขอดูข้อมูลที่ถูกซ่อนอยู่ทั้งหมด
1.4. DIR/p ขอดูข้อมูลทีละ 1 หน้าจอ

dos

หน้าจอแสดงผลเมื่อเราพิมพ์ Dir แล้วกด Enter

เมื่อเพิ่มพารามิเตอร์ DIR?W

dos

DIR/AH ใช้สำหรับแสดงไฟลที่ซ่อนอยู่(hidenfile)ทั้งหมดเราสามารถใช้คำสั่งนี้ให้การค้นหาไฟล์ประเทภไวรัสได้
(จะแนะนำในบทต่อๆไป)


2.คำสั่ง CD (Change Directory)
คำสั่ง CD เป็นคำสั่งที่ใช้ในการขอเข้า Directory เพื่อเข้าไปดูข้อมูลที่มีอยู่ใน Directory นั้น ๆ ตัวอย่างการใช้คำสั่ง ที่ A:\ หรือ C:\ พิมพ์ CD [ชื่อห้องที่ต้องการเข้า] [ชื่อห้องที่ต้องการเข้า] ดูได้จากคำสั่ง Dir เช่นเราต้องการเข้าไปใน Directory Windows ก็พิมพ์ว่า CD (เคาะแป้น space bar) CD Windows และกด Enter เราก็จะเข้าไปสู่หน้า Directory Windows จะเห็นว่าใน Directory Windows นั้นจะมี Sub directory ย่อย ๆ อยู่อีกมากมาย เช่น Command ,System ,INI หากคุณต้องการเข้าไปใน Sub Directory พวกนี้ก็ให้คุณ พิมพ์ CD (เคาะวรรคด้วยแป้น Space bar) และพิมพ์ชื่อ SuB directory ที่คุณต้องการเข้าไปดูลงไป ตัวอย่าง คุณต้องการเข้าไปใน Sub Directory ที่มีชื่อว่า Command ก็ให้คุณพิมพ์ดังนี้
C:\>windows cd system แล้วกด Enter คุณก็จะเข้ามาสู่ด้านในของ Subdirectories system เป็นต้น แต่ถ้าหากคุณต้องการออกจาก Subdirectories ststen เพื่อกลับไปที่ Directory windows ก็ให้คุณพิมพ์ CD.. แล้วกด Enter แต่ถ้าหากคุณต้องการออกไปที่ C:\> ให้คุณพิมพ์ CD\
dos cd

.คำสั่ง CD สามารถใช้ซ้อน ๆ กันไปเรื่อย ๆ เพื่อเข้าไปยัง sub directory ต่าง ๆ ได้

doscd
ออกมาทีละ Directory พิมพ์ CD..

04
ออกมาที่ Root เลย พิมพ์ cd[

3.คำสั่ง MD (Make Directory)
คำสั่ง MD เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้าง Directory ใหม่เพื่อไว้ใช้เก็บข้อมูลใด ๆ ก็แล้วแต่เหมือนกับการใช้คำสั่ง File\new\folder ของ Windows รูปแบบการใช้คำสั่ง MD ก็ง่ายมาก เพียงแต่คุณพิมพ์ MD (เคาะวรรค) [ชื่อห้องที่ต้องการ
สร้าง] เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ Directory ใหม่ขึ้นมา แต่มีข้อแม้ว่าคุณจะต้องไม่สร้าง Directory ที่มีชื่อซ้ำกับ ที่มีอยู่แล้วมิเช่นนั้นคุณจะสร้างไม่ได้

4. คำสั่ง RD (eRase Directory)
คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบห้องที่สร้างด้วย MD หรือห้องที่ถูกสร้างอยู่ก่อนแล้ว รูปแแบบการใช้คำสั่งเหมือนกับ RD แต่ห้องที่คุณต้องการลบจะต้องเป็นห้อง ที่ไม่มีข้อมูลอะไรอยู่เลยเท่านั้น

5. คำสั่ง Copy
คำสั่ง Copy เหมือนกับชื่อนั่นแหละครับ เป็นการ Copyข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่นในกรณีที่คุณต้องการคัดลอกข้อมูลจาก Drive A: ที่เป็น Floppy Disk ไปไว้ใน Drive C: ที่ Sub directory ที่มีชื่อว่า My room ให้คุณพิมพ์ดังนี้ A:\> Copy *.* c:\myroom แล้วกด Enter ข้อมูลที่อยู่ใน Floppy A: ทั้งหมด ก็จะถูก Copy ไปใน Driectory ที่มีชื่อว่า Myroom แต่ถ้าคุณต้องการแค่เพียงบาง File ก็ให้คุณพิมพ์ Copy (ชื่อไฟล์ที่ต้องการ.นามสกุลของไฟล์ที่ต้องการ) c:\myroom
ตัวอย่าง A:\> copy mydoc.doc c:\myroom Enter ข้อมูลที่มีชื่อว่า mydoc.doc ก็จะถูก Copy ไปไว้ใน directory ที่มีชื่อว่า Myroom
นี่คือ คำสั่ง ภายในทั้ง 5 คำสั่ง ต่อไปเรามาดูคำสั่งภายนอกกันบ้างครับ

คำสั่งภายนอก
คำสั่งภายนอกคือคำสั่งที่มีตัวตนในรูปแบบของไฟล์ครับ เช่น Format.com edit.com Fdisk.com
คำสั่งพวกนี้จะถูกโหลดและเก็บลงใน Vistual Drive ที่แผ่น Boot Dos สร้างขึ้นโดยคำสั่งหลัก ๆ ที่สำคัญก็จะมีดังนี้ครับ

1.FDISK
Fdisk เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแบ่ง พาร์ติชั่นของ Harddisk ครับเป็นคำสั่งหลักที่ช่างคอมพิวเตอร์ระดับโปรทุกคนต้องรู้เพราะ
Fdiskคือสุดยอดโปรแกรมที่ใช้แบ่งพาร์ติชั่นได้ดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะมี Utility อย่าง PQmagic หรือโปรแกรม
อื่นแต่ Fdisk ก็ยังคงมีประสิทธิภาพดีที่สุดครับ (ส่วนโปรแกรมอื่น ๆ เอาไว้ใช้แก้ไขปัญหาดีกว่า)
วิธีการใช้ Fdisk จะนำเสนอในหัวข้อการแบ่ง พาร์ติชั่นนะครับ ไม่งั้นบทนี้มันจะยาวเกินไป

2.Format
คงคุ้นเคยกันดีนะครับสำหรับคำสั่’Format นั่นก็คือคำสั่งที่ใช้ในการล้างและเตรียมพื้นที่สำหรับลงข้อมูลใหม่เอาไว้ใช้ใน
กรณ๊ที่ Drive นั้น ๆ มีอาการผิดปกติมาก ๆ จนเกินเยียวยาเช่น Drive C: ติดไวรัสจนเข้า windows ไม่ได้ก็จำต้อง Format มันทิ้งไปครับรูปแบบการใช้คำสั่ง
Format c:หรือ Drive ที่ต้องการแล้วกด Enter จะปรากฏดังภาพด้านล่าง ให้เรากด Y โปรแกรมก็จะทำการ format ให้
ส่วน Paramiter /q หรือ quick format นั้น ไม่ควรใช้เพราะเราจะไม่ทราบเลยว่า hdd ตัวนั้น มีความบกพร่องหรือเปล่าถ้าเราใช้
Quick Format (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของคำสั่ง นี้ได้จากหัวข้อ การแบ่งพาร์ติชั่น)

format

3.ATTRIB (แอดทริบ)
คำสั่งนี้ใช้ในการสั่งให้ซ่อนหรือแสดงไฟล์(คล้าย ๆ กับการติ๊ก hidend และ Ready only ที่ File properties เป็นคำสั่ง
ที่ใช้ในการซ่อนหรือยกเลิกการซ่อนก็ได้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการกำจัดไวรัสที่ฝังตัวใน Harddisk หรือ handy drive ได้
รูปแบบการใช้คำสั่ง สมมุติว่าเราต้องการซ่อนไฟล์ที่ชื่อ sample.txt ที่อยู่ที่ c: เราก็สามารถทำได้โดย พิพม์ดังนี้

at1

ใช้คำสั่ง Dir ดูไฟล์ ที่ ชื่อ sample.txt จะพบว่ามันมีอยู่ขนาด 6 byte
at2
ให้ใช้คำสั่ง Attrib ดังภาพ
+H = Hide คือให้ซ่อนไฟล์
+R=Read only คือให้เป็นไฟล์แบบอ่านอย่างเดียว
+S = System คือให้ระบุไว้ว่าเป็นไฟล์ระบบ (ไฟล์สำคัญ)

และเมื่อเราสั่ง Dir ดูอีกครังจะพบว่าไม่มีไฟล์ชื่อ sample.txt อยู่อีกแล้ว

และ ด้วยหลักนี้เองจึงทำให้ ไวรัสสามารถแฝงและแอบซ่อนตัวอยู่ในเครื่องของคุณได้โดยที่คุณไม่รู้สึกตัว “ดูวิธีการกำจัดไวรัสด้วย คำสั่ง ATTRIB

4. Scandisk
คำสั่ง สแกนดิสก์ ถือได้ว่าเป็นคำสั่งเทพอีกตัวใน DOS เพราะมันสามารถตรวจเช็ค HDD ได้ว่าเสียหรือเปล่าคล้ายกับ
คำสั่ง Error-checking ของ windows แต่ขอบอกว่า Scandisk เทพกว่ามากเพราะมันสามารถซ่อมและย้ายข้อมูลที่อยู่ตรงบริเวณ
ที่เสียไปไว้ที่อื่นได้ด้วย แต่น่าเสียดายที่มันใช้ได้แค่กับ FAT 32 เท่านั้น
วิธีการใช้งาน
ถ้าคุณสงสัยว่า HDD ของคุณมีอาการแปลก ๆ เช่น อ่านข้อมูลช้า ๆ อืด ๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ลง Windows ใหม่แล้วก็ไม่หายก็ให้คุณลอง Scandisk ดู วิธีการคือ บูทเครื่องจาก แผ่น บูทแล้วพิมพ์

scandisk /surface/autofix c: (หรือ Drive ที่ต้องการ Scan)
scandisk

scandisk2
โปรแกรมจะเริ่มทำการตรวจสอบส่วนสำคัญ ๆ ก่อน

scandisk

และจะตรวจสอบอย่างละเอียดอีกที คุณสามารถดูความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ ทางด้านขวา

scandisk

ถ้าพบตัว B แดง ๆ แบบนี้แสดงว่า HDD ของคุณมีปัญหาแล้วหละครับ ดูบทความซ่อม HDD

ส่วนคำสั่งภายนอกอื่น ๆ ก็มีอีกมากครับเช่น Type เอาไว้ดูรายละเอียดไฟล์แบบ TXT หรือ Edit เอาไว้แก้ไขไฟล์
แบบ TXT แต่ตอนนี้เราไม่ค่อยได้ใช้กันแล้วครับจึงขอข้ามไปก่อนบทความหน้าเรามาดู เรื่อง Hdd และการแบ่ง patition กันครับ
Download file image BOOTDOS CD
ปล.ถ้า microsoft ไม่อนุญาตให้โหลดก็บอกได้นะครับจะเอาออกให้ แต่ตอนนี้หาซื้อ DOS ไม่ได้แล้วถือว่าเป็นวิทยทานแล้วกัน
นะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘