องค์ประกอบของ Computer

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. Hardware หรือที่แปลเป็นไทย ว่า ครุภัณฑ์ คือตัวอุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้ เช่น ตัวมอนิเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์ เคส ฯลฯ
2. Software หรือ ลหุภัณฑ์ คือตัวโปรแกรมที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows โปรแกรม Microsoft word ฯลฯ เป็นต้น
3. Peopleware หรือผู้ใช้(น่าแปลกที่ไม่มีบัญญัติเป็นภาษาไทย) ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ที่สุดในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพราะหากว่ามีเครื่องหรือโปรแกรมดีแค่ไหนแต่ถ้าผู้ใช้ไม่มีความชำนาญหรือ เชี่ยวชาญในการใช้งานละก็ คอมพิวเตอร์ก็คงไม่ต่าง จากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปอย่างโทรทัศน์หรือวิทยุเท่านั้นเอง
Hardware
Hardware ถูกจัดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำงานในรูป แบบ สัญญาณ ดิจิตอล คือ ประกอบไปด้วยสัญญาณไฟฟ้า 2 รูปแบบ คือ เปิดและ ปิด ( 0-1) hardware จะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. CPU (Central processing Unit) หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ ประมวลผล
ทุก ๆ คำสั่งที่เข้ามาทางคอมพิวเตอร์ ถ้าจะให้เปรียบกับร่างกายมนุษย์ ก็คงจะเหมือนกับสมองของคนหนั่นเอง หากไร้อุปกรณ์ตัวนี้คอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานใด ๆ ได้

ประเภทของ CPU
CPU ถูกแบ่งออกเป็นประเภทตามแต่บริษัทผู้ผลิต คือ เป็น 3-4 ยี่ห้อด้วยกันแต่ในปัจจุบันนี้ที่
แข่งขันกันในตลาด (ระดับ microcomputer) มีอยู่ด้วยกัน 2 ยี่ห้อ คือ
1. CPU จากค่าย Intel เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ใช้งาน คอมพิวเตอร์ทั่วไป ข้อดีของ CPU ตระกูลนี้
คือ ความมีเสถียรภาพในการทำงาน ไม่ร้อน ไม่(ค่อย) มีปัญหากับโปรแกรมต่าง ๆ แต่มีราคาค่อนข้างแพง รุ่นราคาถูก ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะไม่มากนักเมื่อเทียบกับรุ่นราคาถูก ของ AMD CPU Intel เหมาะสำหรับการใช้งานในระดับสูงเช่น งาน graphic หรือ ตัดต่อ VDO
2. CPU จากค่าย AMD (America Micro Device) เป็นCPU ที่เคยผลิต CPU แบบ เข้ากันได้
(Compatable) กับของ Intel คือ ซื้อเทคโนโลยีบางส่วนของอินเทลมาพัฒนา ทำให้ก้าวตามหลัง Intel 2 ก้าวเสมอ แต่ในปัจจุบัน AMD ได้ออกแบบและพัฒนา CPU ของ ตนเอง จนมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ Intel แต่มีราคาที่ถูกกว่า ส่วนข้อเสียของ CPU ตระกูลนี้ก็คือ เรื่องของความร้อน และการไม่เข้ากันกับบางโปรแกรมที่เขียนมาเฉพาะกับ CPU Intel CPU AMD ปัจจุบันนี้เหมาะสำหรับ งานทั่วไปเช่น office หรือผุ้ใช้ตามบ้านแต่จากการทดสอบแล้ว CPU AMD ใช้เล่นเกมส์ได้ ดีกว่าของ Intel ในรุ่นราคาประหยัด เหมาะสำหรับทำร้านเน็ทร้านเกมส์ ช่วยลดต้นทุนต่อเครื่องได้พอควร



cpu

สงครามชิงเจ้า CPU ศึกนี้ไม่มีวันจบ

Mainboard
Mainboard หรือ mother board ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญไม่แพ้กับ CPU เพราะหน้าทีหลัก ๆ ของเมนบอร์ดก็คือเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่าง CPU และ อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น Ram ,VGA card ,soundcard ดังนั้นเมนบอร์ดที่ดีจึงควรมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่เร็ว ยิ่งเมนบอร์ดเร็วมากก็จะส่งผลให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นตามไปด้วย
ชนิดของเมนบอร์ด
เมนบอร์ดจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ แบบ AT และ ATX มีข้อแตกต่างกันตรงที่เมนบอร์ดแบบ AT จะไม่มีพอร์ตต่าง ๆ ต้องต่อสายแพให้ระโยงรยางค์ส่งผลให้เวลาติดตั้งเมนบอร์ดแล้วทำให้การระบาย อากาศใน Case ทำได้ไม่ดี เป็นเมนบอร์ดยุคกลางปัจจุบันนี้ไม่ใช้กันแล้ว ใช้กับ CPU ในรุ่น 80386-pentium classic )
เมนบอร์ดแบบ ATX เป็นเมนบอร์ดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เพราะได้รวมเอาพอร์ตต่าง ๆ ไว้ในตัวทำให้ในเครื่องไม่มีสายแพมากนักจึงทำให้การระบายอากาศของตัว คอมพิวเตอร์ดีกว่าบอร์ดแบบ AT
บอร์ดแบบ ATX จะมีช่องเสียบกับ power supply แบบหัวเดียว 20เข็มทำให้เวลาติดตั้งไม่ต้องกังวล
ว่าจะเสียบหัวไฟเลี้ยงผิดแบบเมนบอร์ดแบบ AT

atboard

เมนบอร์ด แบบ ATใช้กับ CPU รุ่นเก่า ๆ

atx board

เมนบอร์ดแบบ ATX ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


องค์ประกอบของเมนบอร์ด


เมนบอร์ดจะมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ดังนี้คือ
1. Chip set chipset เปรียบเสมือนกับตัวช่วยลดภาระในการทำงานของ CPU เช่น ช่วยควบคุม
อุปกรณ์ต่าง ๆ (harddisk ,floppydisk) ช่วยควบคุมการติดต่อระหว่าง AGP และ RAM ฯลฯ หากไม่มี chipset บนเมนบอร์ด CPU จะต้องทำงานทุกอย่างด้วยตัวเองส่งผลให้ CPU ทำงานช้ามากหรืออาจจะทำงานไม่ได้เลย
2. Slot ต่าง ๆ slot คือช่องที่ใช้เสียบอุปกรณ์ขยายเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ computer เช่น AGP
slot เอาไว้เสียบการ์ดแสดงผล หรือ PCI slot เอาไว้เสียบ การ์ดเสียง ,โมเด็ม เป็นต้นหากคอมพิวเตอร์ไม่มี slot ต่าง ๆ แล้วก็จะมีผลทำให้เราไม่สามารถ Upgrade คอมพิวเตอร์ได้ในอนาคต
3. port ต่าง ๆ port คือช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ ภายนอก เช่น Key board ,mouse Printer port จะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น Port สำหรับต่อกับ keyboard จะมี 2 แบบ คือ แบบ Din ใหม่ จะมี 5 ช่องเสียบใช้กับ เมนบอร์ดแบบ AT และ port แบบ Din เล็ก หรือ PS/2 ที่ใช้กับ keyboard แบบ ATX
port serial หรือ พอร์ตอนุกรม เป็นพอร์ตที่มีความเร็วต่ำใช้กับmouse แบบserial เท่านั้น ปัจจุบันนี้ไม่ใช้แล้ว
port parareal หรือ LPT พอร์ต LPT เป็นพอร์ตที่ผลิตขึ้นมาเพื่อนใช้กับ printer และ scanner เป็นพอร์ตที่มีความเร็วสูงมากกว่า พอร์ต serial แต่สำหรับอุปกรณ์ในปัจจุบันก็ยังถือว่าช้าอยู่ดี ปัจจุบันนี้จึงไม่เป็นที่นิยมใช้

port

พอร์ตต่าง ๆ ที่อยู่บนบอร์ดแบบ ATX


3. Slot สำหรับ RAM
Slot หรือ ช่องเสียบของ ram นั้น จะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของ
ram ที่ Mainboard นั้น ๆ รองรับ เช่น Slot แบบ SD-RAM ก็จะใส่ได้เฉพาะกับ Ram แบบ SD หรือ slot แบบ DDR1 ก็จะใส่ได้ แต่ RAM แบบ DDR1 เท่านั้น เพราะฉะนั้นเวลาไปเลือกซื้อ RAM เพื่อที่จะ UPGRADE คอมพิวเตอร์ ก็ให้ดูด้วยว่าเมนบอร์ดของเรามี Slot RAM แบบใดจะได้ซื้อไม่ผิด ถ้าไม่แน่ใจก็ถอดแรมเก่าออกไปให้ร้านดูด้วยก็ได้
ขา เป็นต้น slot แบบ SD ก็มีไว้สำหรับ หน่วยความจำแบบ SD Ram เป็นต้น

4. BIOS (Basic Input/Output System)

ไบออส คือ ชิพประเภท ROM (Read only memory) หรือ
ชิพที่ใช้ในการอ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว หน้าที่ของ BIOS คือ การเก็บค่ามาตรฐานต่าง ๆ ของ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ เช่น วัน,เดือน,ปี ขนาดของ ฮาร์ดดิสก์ที่ต่ออยู่ ไดร์ฟอ่านข้อมูลที่ต่ออยู่ ค่าของพอร์ตต่าง ๆ ในเครื่อง ค่าความเร็วบัส และตัวคูณสัญญาณ CPU เป็นต้น แต่เพราะความที่ BIOS เป็น Chip ที่ใช้อ่านอย่างเดียว (เพื่อป้องกันการเขียนทับ) ข้อมูลใน BIOS จึงต้องการไฟเลี้ยงตลอดเวลา ไฟเลี้ยงตัวนี้มาจากแบตเตอรี่แบบ แบน ขนาด 3.3 V ที่อยู่บน BIOS นี้เอง หากแบตเตอรี่นี้หมด BIOS ก็จะไม่สามารถเก็บค่าใด ๆ ที่ Save เข้าไปได้ ทุกครั้งที่เปิดเครื่องจึงต้อง Set ค่าใน BIOS ใหม่ทุกครั้ง

bios
BIOS ส่วนประกอบสำคัญอีกชิ้นของคอมพิวเตอร์


5. Port IDE (Intigrate Drive Electronic)
พอร์ต IDE เป็นพอร์ต มาตรฐานที่มากับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์แบบ Micro เกือบทุกรุ่น
หน้าที่ของพอร์ต IDE คือใช้ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ อ่านเเขียน ข้องมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ , ซีดีรอม พอร์ต IDE จะถูกติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดด้วยกันทั้งหมด 2 ชุดด้วยกัน คือ IDE 1 และ IDE 2 แต่ละชุดจะสามารถต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัว ดังนั้นในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ จะสามารถต่ออุปกรณ์แบบ IDE ได้สูงสุดเพียง 4 ตัวเท่านั้น หากต้องการอุปกรณ์เพิ่มมากกว่านี้จะต้องใช้การเชื่อมต่อ ที่เรียกกันว่า SCSI (Small computer system Interface) การใช้อุปกรณ์ SCSI จะทำให้ผู้ใช้สามารถต่ออุปกรณ์ได้ถึง 7 ชิ้นต่อ SLOT SCSI 1 SLOT และมีความเร็วมากกว่า พอร์ต IDE ประมาณ 5 เท่า แต่ความเร็วที่ได้มาก็ต้องแลกกับราคาที่แสนแพงเสมอ ดังนั้นอุปกรณ์ แบบ SCSI จึงมีใช้แต่ในเครื่องรุ่นใหญ่ ๆ ที่ต้องการความเร็วสูง ๆ อย่าง SERVER หรือเครื่องที่ใช้งานด้าน Graphics ใหญ่ ๆ เท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้พัฒนาไปมาก การมาถึงของพอร์ตแบบ SATA (serial ATA) ได้ช่วยเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้ทั้งเรื่องของราคาและความเร็ว มาตรฐานปัจจุบันของ SATA คือ SATA II ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่เร็วมากก็ช่วยให้การทำงานโดยรวมของระบบ เร็วขึ้นด้วย (คอยพบกับ SATAIII ที่จะเปิดตัวกลางปี 2010 ที่จะมีความเร็วมากกว่า II ถึง 10 เท่า

sata

ช่องต่อ sata

6. FDC (Floppy Drive Controler) FDC ก็ตามชื่อแหละครับ คือตัวควบคุมที่ใช้ต่อกับ Floppy drive
ในบอร์ดตัวหนึ่ง ๆ จะมี FDC เพียงช่องเดียว และสามารถต่อ Drive ได้ 2 ตัว

7. พอร์ต USB (Universal Serial Bus) พอร์ต UPS ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้เพราะ ความสะดวกรวดเร็วและความยืดหยุ่นในการใช้งาน กล่าวคือคุณสามารถเสียบอุปกรณ์เข้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถใช้งาน ได้ทันทีโดยไม่ต้อง Restart เครื่อง และยังสามารถต่ออุปกรณ์ USB ได้ถึง 127 ชิ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง สำหรับพอร์ต USB นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ 1.1 และ 2.0 แบบ 1.1 สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ประมาณ 2 MB ต่อวินาที และแบบ 2.0 สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ 20 MB ต่อวินาที เร็วกว่า IEEE394 ถึง 1 เท่า การเลือก ซื้อเมนบอร์ด นั้นผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดของเมนบอร์ดรุ่นนั้น ๆ ให้ดี ๆ ว่าใช้กับ CPU ประเภทใด Ram ชนิดใด และ Support อุปกรณ์ชนิดใดบ้าง เพราะถ้าหากซื้อมาแล้วบางครั้งอาจมีปัญหาในเรื่องของการไม่เข้ากันของ hardware การที่จะดูว่า Main board นั้นสนับสนุน CPU ยี่ห้อใด ความเร็วสูงสุดได้เท่าใดนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดคือดูจากคู่มือที่แถมมากับ บอร์ดนั้น เมนบอร์ด ที่แนะนำควรจะเป็นของทีมียี่ห้อ เช่น MSI GIGABYTE ASUS ,Asrock จะเลือกรุ่นใดก็แล้วแต่งบประมาณและความต้องการในการใช้งาน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘