ส่วนประกอบอาหารเสริมลดน้ำหนักที่พบได้บ่อย

ผมเข้าใจครับ ว่าผู้ที่มีน้ำหนักมักต้องการลดน้ำหนักแบบ "ทันใจ" ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาอาหาร
เสริมที่อ้างว่ามีสรรพคุณช่วยในการลดน้ำหนัก และจากการที่ผมได้มานั่งดูส่วนประกอบอาหาร
เสริม 50+ชนิด และมากกว่า 125 ยี่ห้อที่วางขายอยู่ในท้องตลาด ไม่มีบริษัทไหนที่ผมแนะนำเลย
ครับ

แม้ว่าจะมีที่ใช้ได้ผลคือ ส่วนประกอบของ เอฟรีดราบวกกับคาเฟอีน ที่สามารถลดได้จริง แต่ก็ยัง
มีผลข้างเคียงที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ โครเมียมก็เป็นอีกอันหนึ่งที่ยังไม่รับประกันครับว่าจะลด
น้ำหนักได้จริง ไคโตซานตามทฤษฎีก็บอกว่าช่วยดูดซับไขมันจากทางเดินอาหาร แต่เอาเข้าจริง
กลับไม่ช่วยลดน้ำหนักเลย ไม่ว่าจะเป็นกลูโคแมนแนน ชาเขียว สารสกัดจากผลส้มแขก L-
Carnitine ไพรูเวท ก็ไม่มีประสิทธิผลและข้อมูลก็ยังขัดแย้งกันอยู่เลยครับ

โดยปกติอาหารเสริมที่ใช้ลดน้ำหนักมักจะมีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างมารวม
เข้าด้วยกันแล้วแต่สูตรของบริษัทครับ และโดยทั่วไปแล้วการผ่านอย. มักจะบอกแค่ว่าปลอดภัย
ในองค์ความรู้ที่มีอยู่เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกถึงประสิทธิผล หรือผลลัพธ์ใดๆทั้งสิ้น

ส่วนประกอบอาหารเสริมและสมุนไพรกว่า 50 ชนิดที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเสริมลด
น้ำหนักในแต่ละบริษัท ในแต่ละอย่างมักมีส่วนประกอบตั้งแต่ 5 อย่างขึ้นไป ซึ่งอ้างในทฤษฎีว่า
ช่วยลดน้ำหนักได้ในกลไกที่ต่างๆกัน พูดง่ายๆครับ เอามายำรวมกันนั่นเอง และมากกว่าครึ่งไม่
เคยมีรายงานการวิจัยในมนุษย์ บางอย่างอาจอยู่ในขั้นตอนของหลอดทดลองและการทดลองใน
สัตว์ด้วยซ้ำ

จุดที่ตกม้าตายของผู้ที่หลงเชื่อในงานวิจัยที่บริษัทนำไปแอบอ้างครับ คือมักเป็นงานวิจัยในหลอด
ทดลอง และงานวิจัยในสัตว์ครับ
การทดลองในสัตว์ย่อมแตกต่างจากคนครับ ได้ผลในสัตว์ไม่
ได้หมายความว่าจะได้ผลในมนุษย์
การทดลองในมนุษย์ต่างหากถึงจะบอกประสิทธิภาพในการ
ลดน้ำหนักในมนุษย์อย่างแท้จริง

โดยทั่วไปส่วนประกอบของอาหารเสริมลดน้ำหนักแบ่งแยกได้เป็นกลุ่มๆดังต่อไปนี้

กลุ่มที่อ้างว่าเพิ่มการสร้างพลังงาน เช่น เอฟีดรา กัวรานา คาเฟอีน เยอร์บาเมต
กลุ่มที่อ้างว่าปรับการควบคุมแป้งและน้ำตาล เช่น โครเมียม
กลุ่มที่อ้างว่าช่วยให้อิ่ม เช่น กลูโคแมนแนน
กลุ่มที่อ้างว่าช่วยในการลดการสร้างไขมัน เช่น L-Carnitine สารสกัดจากผลส้มแขก ชาเขียว ไพรูเวท
กลุ่มที่อ้างว่าช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่ย่อยอาหารทำให้ดูดซึมน้อยลง เช่น Hibicus (กระเจี๊ยบ) , papaya (มะละกอ)
ลดการดูดซึมไขมัน เช่น ไคโตซาน
ขับน้ำปัสสาวะ (ซึ่งไม่ใช่การลดไขมัน แต่เป็นน้ำหนักที่ลดลงจากการสูญเสียน้ำ) เช่น แดนดีเลียน แคสคารา
อื่นๆ เช่น สไปรูไลนา

ซึ่งผมได้ทำการดูรายละเอียดรายตัวและอ้างอิงถึงรายงานการวิจัยครับ ไม่ใช้ข้อเขียนของใครคน
ใดคนหนึ่งซึ่งอาจมีอคติ การเอาต้นฉบับการวิจัยมาอ้างอิงจะทำให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่า
ครับ

ผมขอแบ่งออกทั้งในด้านความปลอดภัย และประสิทธิผลดังนี้ครับ

แคสคารา ความปลอดภัย : ยังขาดความชัดเจน ประสิทธิผล : ยังขัดแย้งกันอยู่ คำแนะนำ : ใช้ด้วยความระมัดระวัง
แอปเปิ้ล ไซเดอร์ ยังขาดความชัดเจน ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
ไคโตซาน ปลอดภัย ไม่มีประสิทธิผล ไม่แนะนำให้ใช้
โครเมียม ยังขาดความชัดเจน ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
กรดไลโนลีอิก ยังขาดความชัดเจน ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
แดนดีเลียน ยังขาดความชัดเจน ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
กัวร์กัม ปลอดภัย ไม่มีประสิทธิผล ไม่แนะนำให้ใช้
กักกูล ยังขาดความชัดเจน ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
ส่วนผสมของเอฟีดราและคาเฟอีน
ไม่ปลอดภัย ลดน้ำหนักได้จริง ไม่แนะนำให้ใช้
กลูโคแมนแนน ปลอดภัย ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
ชาเขียว ปลอดภัย ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
L-Carnitine ปลอดภัย ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
สไปรูไลนา ยังขาดความชัดจน ไม่มีประสิทธิผล ไม่แนะนำให้ใช้
Syllium ปลอดภัย ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
สารสกัดจากผลส้มแขก ยังขาดความชัดเจน ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง
Hibicus (กระเจี๊ยบ) ยังขาดความชัดเจน ยังขัดแย้งกันอยู่ ใช้ด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำทั่วไป :

-ส่วนผสมของเอฟีดรากับคาเฟอีน นั้นมีหลักฐานว่าช่วนในเรื่องของการลดน้ำหนัก แต่ไม่
ปลอดภัย ดังนั้นไม่แนะนำให้ใช้ครับ

- ไคโตซานและกัวร์กัม ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าช่วยในการลดน้ำหนักได้จริง จึงไม่แนะนำให้
ใช้

-ให้ระวังเรื่องการใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของโครเมียม กลูโคแมนแนน ชาเขียว สาร
สกัดจากผลส้มแขก ไพรูเวท เนื่องจากหลักฐานที่บ่งบอกถึงความปลอดภัยยังไม่ชัดเจน และ
ประสิทธิผลในการลดน้ำหนักยังไม่แน่นอนครับ

อ้างอิง

1. Therapeutic Research Faculty. Natural Medicines Comprehensive Database. Accessed online August 18, 2004,
at: http://www.naturaldatabase.com.

2. DeBusk RM. A critical review of the literature on weight loss supplements. Integrative Medicine Consult 2001;3:
30-1.

3. Boozer CN, Daly PA, Homel P, Solomon JL, Blanchard D, Nasser JA, et al. Herbal ephedra/caffeine for weight
loss: a 6-month randomized safety and efficacy trial. Int J Obes Relat Metab Disord 2002;26:593-604.

4. Shekelle PG, Hardy ML, Morton SC, Maglione M, Mojica WA, Suttorp MJ, et al. Efficacy and safety of ephedra
and ephedrine for weight loss and athletic performance: a meta-analysis. JAMA 2003;289:1537-45.

5. Haller CA, Benowitz NL. Adverse cardiovascular and central nervous system events associated with dietary
supplements containing ephedra alkaloids. N Engl J Med 2000;343:1833-8.

6. Bent S, Tiedt TN, Odden MC, Shlipak MG. The relative safety of ephedra compared with other herbal products.
Ann Intern Med 2003;138:468-71.

7. U.S. Food and Drug Administration. FDA announces plans to prohibit sales of dietary supplements containing
ephedra. Accessed online August 18, 2004, at: http://www.fda.gov/oc/initiatives/ephedra/december2003/.

8. Anderson RA. Effects of chromium on body composition and weight loss. Nutr Rev 1998;56:266-70.

9. Althuis MD, Jordan NE, Ludington EA, Wittes JT. Glucose and insulin responses to dietary chromium
supplements: a meta-analysis. Am J Clin Nutr 2002;76:148-55.

10. Bahadori B, Wallner S, Schneider H, Wascher TC, Toplak H. Effect of chromium yeast and chromium picolinate
on body composition of obese, non-diabetic patients during and after a formula diet [German]. Acta Med Austriaca
1997;24:185-7.

11. Pasman WJ, Westerterp-Plantenga MS, Saris WH. The effectiveness of long-term supplementation of
carbohydrate, chromium, fibre and caffeine on weight maintenance. Int J Obes Relat Metab Disord 1997;21:1143-
51.

12. Crawford V, Scheckenbach R, Preuss HG. Effects of niacin-bound chromium supplementation on body
composition in overweight African-American women. Diabetes Obes Metab 1999;1:331-7.

13. Anderson RA, Cheng N, Bryden NA, Polansky MM, Cheng N, Chi J, et al. Elevated intakes of supplemental
chromium improve glucose and insulin variables in individuals with type 2 diabetes. Diabetes 1997;46:1786-91.

14. Vincent JB. The potential value and toxicity of chromium picolinate as a nutritional supplement, weight loss
agent and muscle development agent. Sports Med 2003;33:213-30.

15. Cerulli J, Grabe DW, Gauthier I, Malone M, McGoldrick MD. Chromium picolinate toxicity. Ann Pharmacother
1998;32:428-31.

16. Martin WR, Fuller RE. Suspected chromium picolinate-induced rhabdomyolysis. Pharmacotherapy 1998;18:
860-2.

17. Sotaniemi EA, Haapakoski E, Rautio A. Ginseng therapy in non-insulin-dependent diabetic patients. Diabetes
Care 1995;18:1373-5.

18. Pittler MH, Ernst E. Guar gum for body weight reduction: meta-analysis of randomized trials. Am J Med 2001;
110:724-30.

19. Vita PM, Restelli A, Caspani P, Klinger R. Chronic use of glucomannan in the dietary treatment of severe
obesity [Italian]. Minerva Med 1992;83:135-9.

20. Walsh DE, Yaghoubian V, Behforooz A. Effect of glucomannan on obese patients: a clinical study. Int J Obes
1984;8:289-93.

21. Cairella M, Marchini G. Evaluation of the action of glucomannan on metabolic parameters and on the sensation
of satiation in overweight and obese patients [Italian]. Clin Ter 1995;146:269-74.

22. Rodriguez-Moran M, Guerrero-Romero F, Lazcano-Burciaga G. Lipid- and glucose-lowering efficacy of
Plantago Psyllium in type II diabetes. J Diabetes Complications 1998;12:273-8.

23. Lowenstein JM. Effect of (-)-hydroxycitrate on fatty acid synthesis by rat liver in vivo. J Biol Chem 1971;246:
629-32.

24. Mattes RD, Bormann L. Effects of (-)-hydroxycitric acid on appetitive variables. Physiol Behav 2000;71:87-94.

25. Heymsfield SB, Allison DB, Vasselli JR, Pietrobelli A, Greenfield D, Nunez C. Garcinia cambogia (hydroxycitric
acid) as a potential antiobesity agent: a randomized controlled trial. JAMA 1998;280:1596-600.

26. DeLany JP, Blohm F, Truett AA, Scimeca JA, West DB. Conjugated linoleic acid rapidly reduces body fat
content in mice without affecting energy intake. Am J Physiol 1999;276(4 part 2):R1172-9.

27. Blankson H, Stakkestad JA, Fagertun H, Thom E, Wadstein J, Gudmundsen O. Conjugated linoleic acid reduces
body fat mass in overweight and obese humans. J Nutr 2000;130:2943-8.

28. Dulloo AG, Duret C, Rohrer D, Girardier L, Mensi N, Fathi M, et al. Efficacy of a green tea extract rich in
catechin polyphenols and caffeine in increasing 24-h energy expenditure and fat oxidation in humans. Am J Clin
Nutr 1999;70:1040-5.

29. Armanini D, De Palo CB, Mattarello MJ, Spinella P, Zaccaria M, Ermolao A, et al. Effect of licorice on the
reduction of body fat mass in healthy subjects. J Endocrinol Invest 2003;26:646-50.

30. Scali M, Pratesi C, Zennaro MC, Zampollo V, Armanini D. Pseudohyperaldosteronism from liquorice-containing
laxatives. J Endocrinol Invest 1990;13:847-8.

31. Kalman D, Colker CM, Wilets I, Roufs JB, Antonio J. The effects of pyruvate supplementation on body
composition in overweight individuals. Nutrition 1999;15:337-40.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘