อานิสงส์การบวช

พระเจ้าอชาตศัตรูทูลถามพระพุทธเจ้าว่า

"บุคคลในโลกนี้เขามีอาชีพแตกต่างกัน เป็นทหาร
เป็นข้าราชการ
เป็นคหบดี มีอาชีพเป็นช่างต่างๆ
เป็นชาวนา
เป็นชาวไร่ ชาวสวน
หรืออาชีพช่างไม้ต่างๆ
บุคคลที่ประกอบอาชีพเหล่านี้
เมื่อประกอบ
อาชีพแล้วก็สามารถจะสร้างตัวได้
เลี้ยงตัวได้ในปัจจุบันแล้วก็มีเงินทองเลี้ยงดู
บุตรภรรยาของตน
และก็ทำบุญ ทำทาน
ก็มีโอกาส
ไปเกิดบนสวรรค์ อยากจะถามว่า

ในพระพุทธศาสนานี้
พระองค์
ตรัสความเป็นสามัญผล คือ

ผลที่จะได้จากการบวช ของกุลบุตร
ในศาสนานี้ไว้อย่างไรบ้าง
?
"

พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า
"ผู้ที่บวชเข้ามาในศาสนานี้
ย่อมได้
อานิสงส์ถึง ๑๔ ประการ"

สามัญญผล ๓ หมวด

สามัญญผล หรือ ผลของความเป็นสมณะ
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นี้
สามารถจัด
ออกได้เป็น ๓ หมวด คือ

หมวดที่ ๑ ทำให้พ้นจากฐานะเดิม
คือ พ้นจากความเป็นทาส
เป็นกรรมกร เป็นชาวนา
ได้รับการปฏิบัติดีแม้จากพระมหากษัตริย์
นี้ คือ ผลข้อที ๑ และข้อที่ ๒

หมวดที่ เมื่ออบรมจิตใจเป็นสมาธิ
เป็นเหตุให้ได้ฌานที่ ๑ ถึงที่๔
อันทำให้กิเลสอย่างกลางสงบลงได้
คือ
ผลข้อที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖

หมวดที่ ทำให้ได้วิชชา ๘
เริ่มตั้งแต่ข้อที่ ๗ คือ ได้วิปัสสนาญาน
จนถึงข้อที่ ๑๔ คือ อาสวักขยญาณ

ในข้อแรก

พระพุทธองค์ตรัสถามพระเจ้าอชาตศัตรูว่า :

"ก็คนที่เป็นทาสกรรมกรของพระองค์
เคยรับใช้พระองค์อยู่ ตื่นก่อนนอนทีหลัง

ทาสกรรมกรเหล่านั้นมาพิจารณาว่า
พระมหากษัติย์เจ้านายของเรานี้
ทรงมี
บุญญาธิการ มีบุคคลแวดล้อม
มีทรัพย์สินนานัปการ มีอำนาจยิ่งใหญ่
พระองค์ก็เป็น
มนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์
เพราฉะนั้น เราจะต้องออกบวชเสียดีกว่า
เมื่อออกบวชแล้ว
ประพฤติพรหมจรรย์
ต่อมาพระองค์ได้พบทาสกรรมกร
ของพระองค์นั้น พระองค์จะ
เรียกบุคคลนั้น
ให้มาทำงานรับใช้พระองค์
ให้ตื่นก่อนนอนทีหลังอีกหรือเปล่า
? "

พระเจ้าอชาตศัตรูทูลตอบว่า

"ไม่อย่างนั้น แต่ข้าพระองค์จะเคารพ
กราบไหว้ผู้นั้น ให้ความคุ้มครองตามธรรม"


พระพุทธองค์ตรัสว่า
นี่แหละคืออานิสงส์ของการบวช
ข้อที่ ๑ ที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน


ต่อจากนั้น

พระพุทธองค์ตรัสว่า
"มีคนที่ทำนาของพระองค์ มาพิจารณาว่า
พระเจ้าแผ่นดินของ
เรามีอำนาจวาสนา
มีบุญใหญ่ พระองค์ก็เป็นมนุษย์
เราก็เป็นมนุษย์
ไฉนหนอ
เราจึงจะ
ได้ออกบวชประพฤติพรหมจรรย์
และในที่สุด ท่านผู้นั้นก็ได้ออกบวชประพฤติ

พรหมจรรย์ เมื่อพระองค์ทรงพบภิกษุ
ที่เคยเป็นชาวนานั้นเข้า จะตรัสเรียกท่านผู้นั้น
ให้
มาทำนาให้แก่พระองค์อีกหรือ ?"

พระเจ้าอชาตศัตรูทูลตอบว่า


"ไม่อย่างนั้น แต่ข้าพระองค์จะเคารพ
กราบไหว้ ให้ความคุ้มครอง ถวายปัจจัย ๔

ให้การคุ้มครองด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้นั้น"

พระพุทธองค์ตรัสว่า
นี่เป็นสามัญญผล คือ ผลที่เห็นได้ชัด
จากการบวชข้อที่


พระพุทธเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า
คหบดีหรือ กุลบุตรในแว่นแคว้นของพระองค์นี้
มา
พิจารณาเห็นว่า พระเจ้าแผ่นดินของเรานั้น
เพียบพร้อมไปด้วยความสุข มีความรุ่งเรือง

ก็เรานี้เห็นว่าการครองเรือนเต็มไปด้วยความทุกข์
เป็นที่คับแคบ ส่วนบรรพชาเป็นช่อง
ว่าง
การที่อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริสุทธิ์สะอาดดุจดั่งสังข์ขัดนั้นทำได้
ยาก
เพราะฉะนั้น เขาจึงออกบวช
ประพฤติพรหมจรรย์ สมบูรณ์ไปด้วยศีล

คือ จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล
(คือ ศีลขนาดเล็ก ขนาดกลาง และศีลมาก)
ต่อจาก
นั้นภิกษุนั้นสำรวมอินทรีย์
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มีสติสัมปชัญญะ ละบาปอกุศล

มีสันโดษ ยินดีด้วยปัจจัย ๔
ออกป่าบำเพ็ญสมาธิ ละนิวรณ์ ๕ ได้
ในที่สุดก็ได้
บรรลุฌานที่ ๑
ได้ประสบความสุขอันเกิดจากฌาน

นี้ คืออานิสงส์ของการบวช
หรือสามัญญผล ข้อที่


ต่อจากนั้น ท่านผู้นั้นก็บำเพ็ญสมาธิจน
บรรลุฌานที่ ๒
ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔
บรรลุฌานที่
ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่
บรรลุฌานที่
ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่

ต่อจากนั้น
ท่านก็น้อมจิตไป
เพื่อเจริญวิปัสสนา โดยพิจารณา
พระไตรลักษณ์ จนจิตของตนเข้าถึง

วิปัสนาญาน แยกรูปแยกนาม
พิจารณานามรูป เห็นตามความเป็นจริง
ก็เป็นเหตุให้
ท่านผู้นั้นสามารถ

บรรลุญาณทัสสนะ อันเป็นวิปัสสนาญาน


พระพุทธเจ้าตรัสว่า
นี้คือ อานิสงส์ของการบวชข้อที่ ๗

ต่อจากนั้นก็สามารถบรรลุ มโนมยิทธิ
คือ ฤทธิ์ทางใจ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ได้

เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๘

ต่อจากนั้นก็ได้บรรลุ อิทธิวิธิ
คือแสดงฤทธิ์ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน
ดำไปในดิน ดำไปใน
น้ำได้
ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๙


เมื่อปฏิบัติต่อไปก็สามารถได้ ทิพโสต
คือ หูทิพย์ ได้ยินเสียงจากที่ไกล
เกินวิสัยของหูมนุษย์ธรรมดา

เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑o

เมื่อปฏิบัติต่อไปก็สามารถได้
เจโตปริยญาน คือ รู้ใจคนอื่น
คือ สามารถทายใจคนอื่นได้

(แม้ในปัจจุบันก็มีพระบางรูปที่
สามารถรู้ใจคนอื่นได้
เรียกว่า เจโตปริยญาน)

การได้เจโตปริยญาณ
เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๑

บางท่านก็ระลึกชาติได้ ที่เรียกว่า
บุพเพนิวาสานุสสติญา
คือ ระลึกชาติหนหลังได้
เป็นจำนวนมาก
อาจจะเป็นจำนวนหลายๆชาติ

หรือชาติจำนวนมากที่ผ่านมาในอดีต

การระลึกชาติหนหลังได้นี้
เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๒

บางท่านก็ได้ทิพจักษุ หรือ จุตูปปาตญาณ
คือ ญาณรู้จุติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลาย
คือ
สามารถรู้เห็นสัตว์ทั้งหลาย
ที่เกิดและที่ตายด้วยตาทิพย์

การได้ทิพจักษุนี้
เป็นอานิสงส์ของการบวชข้อที่ ๑๓

ในที่สุดก็ได้บรรลุอาสวักขยญาณ คือ ทำกิเลสให้สิ้นไป
ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๔

พระพุทธองค์ทรงสรุป ในที่สุดแห่งทุกข้อว่า
เป็นผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบัน
ว่าสูงกว่ากันไปตามลำดับ คือ ตั้งแต่
ขั้นแรก
แล้วบรรลุสูงขึ้นๆ ไปตามลำดับ
ซึ่งเป็นอานิสงส์ของการบวช ที่เห็นได้ชัด
เช่น ผู้ที่
ได้บรรลุฌานที่ ๒ ก็ประเสริฐกว่าฌานที่ ๑
ได้บรรลุฌานที่ ๓ ประเสริฐกว่าฌานที่ ๒
ได้
บรรลุฌานที่ ๔ ประเสริฐกว่าฌานที่
และการบรรลุต่อๆ ไป ก็สูงขึ้นตามลำดับ


วิชชา ๘ คืออะไร?

วิชชา ๘ ก็คือ

๑. วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา

๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ

๓. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้

๔. ทิพโสต หูทิพย์

๕. เจโตปริยญาณ รู้ใจคนอื่น

๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

๗. ทิพจักขุ ตาทิพย์

๘. อาสวักขยญาณ ทำอาสวะ คือ กิเลสให้สิ้นไปได้


ผู้บวชย่อมได้อานิสงส์แห่งบุญจากการบวช
ได้ฝึกฝน อบรมตนเองตามพุทธวิธี
แม้
เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็สามารถนำพา
ชีวิตให้พบกับเป้าหมายอันสูงส่ง และย่อมได้

อานิสงส์มากมาย ยากที่จะนับจะประมาณได้
เพราะความตั้งใจอัน มั่นคงที่จะบวช

ฝึกฝนตนเอง ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติ
อย่าง เคร่งครัด ย่อมได้อานิสงส์
ดังนี้

.) เป็นผู้รู้จักบริหารเวลา
คือรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
เรียกว่า ความเป็นผู้รู้กาล

ซึ่งเป็นคุณธรรมข้อหนึ่งที่ทำให้ เป็นสัปบุรุษ

.) แม้ช่วงเวลาจะสั้น แต่ถ้าลงปฏิบัติอย่างจริงจัง
ก็จะได้ ลิ้มรสความสุข จากความ
สงบตั้งแต่ยังเยาว์

.) มีโอกาสได้ศึกษาหลักธรรมไว้กำกับความรู้
จะได้ใช้
ความรู้ ไปในทางที่ถูกที่ควร

.) ได้ฝึกวินัยและเข้าใจวัฒนธรรมใน
การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะถ้าบรรพชาแล้ว
ตั้งใจ
ฝึกฝนอบรมตนเองอย่างจริงจัง
ต่อไปจะเป็นคนรักระเบียบวินัย


.) ได้ฝึกสมาธิ ทำจิตให้สงบ
ซึ่งเป็นผลดีต่อการเรียน


.) เกิดความปลื้มปิติยินดีที่ได้ทำความดี
ตั้งแต่ยังเยาว์ความปิตินี้เองที่จะเป็น
เครื่อง
หล่อเลี้ยงหัวใจอยู่เสมอ

.) ทำให้มีความอดทน ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ

.) ทำให้รู้จักตนเองนั่นคือรู้ว่าตนเอง
มีความรู้ความสามารถคุณธรรมแค่ไหนเพียงใด

เพื่อที่จะได้พัฒนาปรับปรุง ตนเองให้ดียิ่งขึ้น

.)ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มถากถางหนทางไปพระนิพพาน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘