ผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ต้องออกกำลังกาย จริงหรือ ??

ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นที่ระบบหัวใจและหลอดเลือดและกำลังเพิ่มขึ้นทุก
ขณะ แม้ว่าการรักษาทางการแพทย์จะลดอัตราการเสียชีวิต และลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ช่วย
เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นก็ตาม

อาการของโรคหัวใจนั้นประกอบด้วย อาการเหนื่อย และจำกัดกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ใน
สมัยก่อนเมื่อสัก 20 ปีที่แล้ว แพทย์มักจะแนะนำผู้ป่วยว่า "อย่าออกกำลังกาย" แล้วผลลัพธ์ที่ได้คือ
คุณภาพชีวิตกลับแย่ลงไปอีก ( ความรู้ด้านวิชาการมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้แต่ในปัจจุบัน
สิ่งที่เรารู้ในตอนนี้ก็อาจเปลี่ยนแปลงอีกในอนาคตครับ สิ่งที่ผมกล่าวในวันนี้ เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจ
เป็นสิ่งที่ผิดก็ได้ครับ)

การศึกษาเก่าๆ ที่ศึกษาเรื่องการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจพบว่า เกิดภาวะแทรกซ้อนค่อนข้าง
น้อย ในทางกลับกัน การออกกำลังกายอาจจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้อีก ลดอัตราการเสีย
ชีวิต และลดอัตราการนอนโรงพยาบาล

ยังมีคำถามอยู่ครับ ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจควรออกกำลังกายหรือไม่ แม้ว่าการออกกำลังกายจะ
เสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้มากขึ้นมากกว่า 100 เท่า และทำให้เสียชีวิตทันที
มากขึ้น 50 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติ

AHA (American Heart Association) ได้เคยกำหนดแนวทางการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจไว้
ครับ โดยใช้การศึกษาหนึ่งที่มีขนาดเล็กๆเท่านั้น ไม่มากพอที่จะยืนยันได้ครับว่าการออกกำลังกาย
เป็นประโยชน์ หรือเป็นโทษในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

การศึกษาชิ้นนี้ครับ เป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว กับการออกกำลังกายแบบ
เผาผลาญ ว่าสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่หัวใจ
บีบเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง (HF-ACTION trial : Heart Failure A Controlled Trial
Investigating Outcomes of Exercise Training)

การศึกษานี้จะศึกษาในผู้ป่วย 2331 รายที่มีการบีบตัวสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยกว่า 35%
และมีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมเบา จนไปถึงเหนื่อยแม้แต่นอนอยู่เฉย ๆ และได้รับการรักษา
ทางการแพทย์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ครับ แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มออกกำลังกาย
และกลุ่มที่ไม่ได้รับการออกกำลังกาย

โปรแกรมการออกกำลังกายที่ใช้

ผู้ป่วยจะได้รับการสอนการออกกำลังกายภายใต้การดูแลเป็นระยะเวลา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยวิธีการ
เดินหรือปั่นจักรยาน โดยเริ่มต้น 15-30 นาทีต่อครั้งที่อัตราการเต้นของหัวใจที่ 60% ของอัตราการ
เต้นของหัวใจสูงสุด และหลังจากเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์จึงเพิ่มการออกกำลังกายเป็น 30-35 นาทีต่อ
ครั้งที่อัตราการเต้นของหัวใจ 70% ของอัตรการเต้นของหัวใจสูงสุด

หลังจากนั้นจึงให้กลับไปออกกำลังกายต่อที่บ้าน เป็นจำนวน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 40 นาที ที่
อัตราการเต้นของหัวใจ 60-70% ของอัตราการบีบตัวของหัวใจสูงสุด และติดตามผู้ป่วยทางโทร
ศัพท์

เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี อัตราการเสียชีวิตลดลงในกลุ่มที่ออกกำลังกาย หรืออัตราการนอนโรงพยาบาล
ลดลง

เส้นประคือไม่ได้ออกกำลังกาย ส่วนเส้นทึบคือออกกำลังกายครับ ซึ่งลดอัตราการเสียชีวิตและอัตรา
การนอนโรงพยาบาลได้ราวๆ 13%

สรุป

การออกกำลังกายในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวที่มีการบีบตัวให้เลือดออกไปเลี้ยงร่างกายได้น้อย
ลง ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และลดอัตราการนอนโรงพยาบาล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘