การรับประทานอาหารแบบแอตกินส์ ผลดี ผลเสีย? เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน?

ปัจจุบันปัญหาในเรื่องของความอ้วนเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการวิจัยออกมาเกี่ยวกับในเรื่องของการหาวิธีลดน้ำหนัก ไม่ว่าจะใช้วิธีลดคาร์โบไฮเดรต ลดไขมัน หรือวิธีอื่นๆ อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูงก็กำลังเป็นที่นิยม

มีหนังสือเล่มหนึ่งครับซึ่งเป็นของ นพ. แอตกินส์ ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1973 และได้รับความนิยมจนตีพิมพ์เรื่อยมาจนถึงปี 2002 เป็นหนังสือลดน้ำหนักเล่ม ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในโลกเล่มหนึ่ง ( หากใครยังไม่ได้อ่าน ผมแนะนำให้อ่านเอาแนวคิดนะครับ แต่ผมไม่สนับสนุนให้ทำตาม ส่วนตัวของผมอ่านจบแล้วครับ )

อ้วน เนื่องจากว่าหนังสือเล่มนี้เป็นที่นิยม แต่ไม่มีการวิจัยมารองรับ แต่จากการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าสามารถลดน้ำหนักได้เร็วครับประมาณ 8.3 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัวใน 8 สัปดาห์

ดังนั้น จึงเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ครับ ซึ่งเป็นการศึกษาใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่าอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูง สามารถทำให้น้ำหนักลดลงได้จริงหรือไม่ และสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตันเปรียบเทียบกับการควบคุมแคลอรี่แบบธรรมดาทั่วไป

อ้วน เป็นการนำอาสาสมัครจำนวน 63 ราย ( หญิง 43 คน ชาย 20 คน ) ทุกคนได้รับการตรวจร่างกาย และเจาะเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด โดยที่จะสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ว่าจะอยู่ในกลุ่มอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูง หรืออยู่ในกลุ่มควบคุมแคลอรี่แบบธรรมดา

กลุ่มอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูง

อาสา สมัคร 33 ราย ได้รับการจำกัดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่รับกประทานเข้าไปเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์แรกเหลือเพียง 20 กรัมต่อวันเท่านั้น ( ตาม Induction Phase ใน Atkins' Diet ) หลังจากนั้นค่อยๆ ตามโปรแกรมหนังสือ ( อาสาสมัครจะได้รับหนังสือ Dr. Atkins' New Diet Revolution แจกเพื่อให้ทำตามได้อย่างถูกต้อง )

กลุ่มจำกัดแคลอรี่ทั่วไป

อ้วน อาสาสมัคร 30 รายที่ได้รับการสุ่มให้เข้าโปรแกรมนี้จะได้รับการพบกับนักโภชนาการก่อนเริ่ม โปรแกรม และจะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ลดแคลอรี่ลงเหลือเพียง 1,200 ถึง 1,500 กิโลแคลอรี่ต่อวันสำหรับผู้หญิง และ 1,500 ถึง 1,800 กิโลแคลอรี่ในผู้ชาย โดยที่จะได้รับสัดส่วนแคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรต 60% 25% จากไขมัน และ 15% จากโปรตีน

และได้รับการสอนให้ทำการนับแคลอรี่ ตาม The LEARN Program for Weight Management หนังสือเล่มนี้ใช้ในงานวิจัยหลายครั้งแล้วครับ และเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการรับประทานอาหารที่ต่างประเทศใช้ ( แนะนำว่าควรอ่านครับ )

ผลลัพธ์

อ้วน ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูง จะลดน้ำหนักได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้วิธีการควบคุมอาหารเป็นระยะเวลา 3 ถึง 6 เดือนแรก แต่ไม่แตกต่างชัดเจนที่ 12 เดือน

มี จำนวน 49 รายที่สามารถทำตามโปรแกรมได้จนถึงสิ้นส่วนเดือนที่ 3 และลดลงเหลือ 42 รายที่สามารถทำตามโปรแกรมจนถึงเดือนที่ 6 และเหลือ 37 รายที่สามารถทำตามโปรแกรมได้จนครบ 12 เดือน จำนวนอาสาสมัครที่ไม่สามารถทำตามโปรแกรมในช่วง 3 ถึง 6 เดือนแรกมักจะเป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูงมากกว่า แต่ไม่แตกต่างกันที่ 12 เดือนในทั้งสองกลุ่ม

อ้วน ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูงจะมีคีโตนออกมาทางปัสสาวะสูงกว่าในช่วงแรก ( ถ้าได้อ่านหนังสือของ Atkins จะบอกว่าคีโตนที่ออกมาเป็นตัวชี้ว่าร่างกายใช้ไขมันในการเผาผลาญ ) แต่ไม่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่มภายหลังจาก 3 เดือนแล้ว

ความดันโลหิตลดลงทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ( สังเกตนะครับ ถ้าคุณลดน้ำหนักความดันโลหิตก็จะลดลงตามไปด้วย )

อ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงทั้งสองกลุ่ม แต่ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม ( และเช่นกันครับการลดน้ำหนักช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลงด้วย )

ระดับ โคเลสเตอรอลในเลือด ในช่วงแรกของกลุ่มคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูงจะมีโคเลสเตอรอลสูงกว่ามากครับ แต่หลังจากสิ้นสุดที่ 12 เดือนแล้วไม่แตกต่างกัน

อ้วน ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นนะครับว่า กลุ่มคาร์โบไฮเดรตต่ำ น้ำหนักลด ลงเร็วกว่าในช่วง 3 ถึง 6 เดือนแรกเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป 12 เดือน ผลลัพธ์ที่ได้ไม่แตกต่างเมื่อเทียบกับใช้วิธีการควบคุมแคลอรี่ด้วยวิธีปกติ และด้วยเหตุที่ไม่แตกต่างกันที่ 12 เดือนนั้นเป็นเพราะส่วนหนึ่งน้ำหนักได้ กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง การวิจัยนี้จึงบอกว่าแผนการรับประทานอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูง แบบแอตกินส์ไม่สามารถทำได้ในระยะยาว

ความแตกต่างของน้ำหนักที่ ลดลงของทั้งสองกลุ่มในช่วง 6 เดือนแรกเนื่องจากว่าการลดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตลง แม้ว่าจะไม่จำกัดปริมาณของโปรตีนกับไขมัน กลไกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกี่ยวกับเรื่องกลไกที่ส่งผลในเรื่องฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว - อิ่ม แต่ในงานวิจัยนี้บอกว่าระดับคีโตนที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้น้ำหนักลดลง เพราะข้อมูลไม่สัมพันธ์กันเลย และยิ่งไปกว่านั้นระดับคีโตนที่สูงขึ้นจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไปหลังจาก 6 เดือน

การลดน้ำหนักสามารถ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ว่าจะใช้วิธีการรับประทานอาหารแบบ คาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูง หรือใช้วิธีการควบคุมพลังงาน แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากว่าการศึกษานี้ทำในช่วงระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น อาจต้องมีการศึกษาในระยะยาวเพิ่มเติมอีก

อ้วน สิ่งที่แพทย์กังวลมากที่สุดก็คือการรับประทานอาหารแบบแอตกินส์ อาหารที่ถูกควบคุมคือ คาร์โบไฮเดรต แต่จะไม่ได้ควบคุมปริมาณของโปรตีนและไขมันเลย ดังนั้นการรับประทานอาหารประเภทไขมันที่มากเกินไปนั้นจะเป็นความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่? จากการศึกษานี้พบว่าปริมาณของโคเลสเตอรอลชนิด LDL จะขึ้นสูงในช่วง 3 เดือนแรกในกลุ่มที่รับประทานอาหารแบบแอตกินส์ แต่ลดลงในกลุ่มที่ควบคุมแคลอรี่ ในระยะยาวกลับไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม

ใน ทางตรงกันข้ามครับ ปริมาณไขมันไตรกลีเซอไรด์นั้นสูงมากในกลุ่มการรับประทานอาหารแบบ คาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตันได้ครับ แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์นี้ยังไม่แน่นอน เนื่องมาจากการติดตามด้วยระยะเวลาที่สั้นเพียงแค่ 12 เดือน สั้นเกินกว่าที่จะบอกว่าอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ - โปรตีนสูงทำให้เป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจมากขึ้น เพราะทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นเพียงแค่อย่างเดียว แต่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือด โคเลสเตอรอลชนิด LDL ไม่ได้สูงขึ้นตาม ตรงกันข้ามกลับลดลงเสียด้วยซ้ำ

แต่ การวิจัยที่ผ่านๆ มาการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและใยอาหารต่ำสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตันได้แล้วครับ ซึ่งณ ขณะนี้ยังมีข้อมูลไม่มากพอที่จะบอกได้ครับว่าการรับประทานอาหารแบบแอตกินส์ จะได้รับผลดี ( ในเรื่องของการลดน้ำหนัก ) มากกว่าผลเสีย ( เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน ) หรือไม่

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘