กาแฟลดน้ำหนัก คาเฟอีน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้น ! ฤๅจะสัมพันธ์กับเบาหวาน...?

กาแฟลดน้ำหนักที่ขายกันตามท้องตลาดคืออะไร ?

คือกาแฟ + A +B +C +D

โดยที่ A B C D อาจเป็น สารสกัดจากผลส้มแขก สารสกัดจากถั่วขาว L-Carnitine
โครเมียม ชาเขียว หรือสารสกัดจากธรรมชาติอื่นๆ ตามแต่สูตรของผู้ผลิต

โดยกาแฟนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเสริมลดน้ำหนัก ซึ่งผู้ผลิตคาดหวังว่าจะนำคา
เฟอีนมาทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันมากขึ้น และสร้างพลังงานความร้อน โดยที่แท้จริง
แล้ว ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า "กาแฟ" ที่มีคาเฟอีน

แต่วันนี้ผมจะไม่มาคุยเรื่องคาเฟอีนกับการสลายไขมันหรอกครับ แต่จะมาคุยเรื่อง คาเฟอีน
กับเบาหวาน

ความจริงคือ คาเฟอีนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้นชั่วคราวครับ และทำให้เกิด
ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

มีการศึกษาเปรียบเทียบครับ โดยการให้ผู้สมัครใจดื่มกาแฟแล้วรับประทานอาหาร
เปรียบเทียบกับไม่ได้ดื่มกาแฟ พบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟก่อนอาหารทำให้ระดับน้ำตาลขึ้นได้มาก
กว่า ร่วมกับมีการหลั่งอินซูลินมากกว่ากลุ่มที่ไม่ดื่มครับ

แต่อย่างไรก็ตามผลการทดลองนี้เป็นเพียงการทดลองในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งกาแฟ ทำให้
ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้น แต่ถามว่าทำให้เกิดเบาหวานได้ในระยะยาวหรือไม่ ยังไม่มีข้อ
พิสูจน์

ความจริงคือ คาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟเป็นตัวออกฤทธิ์ครับ และทำให้อะดรีนาลีนหลั่งมาก
ขึ้น และเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นไม่ใช่เพียงแค่กาแฟ แต่ยังรวมถึงเครื่องดื่มอื่นๆที่
มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ เช่น Yerba mate , กัวรานา อีกทั้งชาเขียว ด้วย

หลักฐานที่มีอยู่ตอนนี้เชื่อว่า คาเฟอีนในกาแฟทำให้ลดการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ
ครับ และทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้น

แม้ว่าคาเฟอีนจะมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินให้มากขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้ระดับน้ำตาลใน
เลือดลดลง แต่ว่าภาวะดื้อต่ออินซูลินมีมากกว่า จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น
ครับ โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน และเป็นเบาหวาน

ถามว่าในระยะยาวแล้วผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำจะเกิดเบาหวานได้ในอนาคตหรือไม่ ณ
เวลานี้ยังตอบไม่ได้ครับ หลักฐานที่มีอยู่ตอนนี้แค่ชี้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะขึ้นเพียงแค่
ชั่วเวลาที่มีคาเฟอีนอยู่ในกระแสเลือดเท่านั้น แต่การที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินอยู่ก็เป็น
สัญญาณว่าสามารถเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้มากขึ้นในอนาคตครับ

อ้างอิง
Coffee, diabetes, and weight control :American Journal of Clinical Nutrition, Vol. 84, No.
4, 682-693, October 2006

Thong FS, Graham TE. Caffeine-induced impairment of glucose tolerance is abolished by
beta-adrenergic receptor blockade in humans, J Appl Physiol 2002;92:2347–52.

Sawynok J, Yaksh TL. Caffeine as an analgesic adjuvant: a review of pharmacology and
mechanisms of action. Pharmacol Rev 1993;45:43–85.

Jungas RL, Ball EG. Studies on the metabolism of adipose tissue. XII. The effects of
insulin and epinephrine on free fatty acid and glycerol production in the presence and
absence of glucose. Biochemistry 1963;2:383–8.

Keijzers GB, De Galan BE. Caffeine can decrease insulin sensitivity in humans. Diabetes
Care 2002;25:364–9.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘