เบาหวาน : มากกว่าที่จะเป็นแค่ระดับน้ำตาลในเลือด

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ซับซ้อนครับ และมีความเข้าใจที่ผิดบ่อยมากครับ โรค
เบาหวานเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวกับการสร้างและการใช้อินซูลิน (อินซูลินเป็น
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ซึ่งโรคเบาหวานมีสาเหตุและ
ปัจจัยอยู่มากมายและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก โดยเฉพาะถ้าควบคุมระดับ
น้ำตาลได้ไม่ดี

เบาหวานมีอยู่ 2 ประเภทครับ แม้ว่าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้เหมือนกัน แต่
สาเหตุต่างกัน คือ เบาหวานประเภทที่ 1 (ผิดปกติที่การสร้างอินซูลิน) และเบาหวาน
ประเภทที่ 2 (ผิดปกติที่การใช้ ร่างกายสามารถนำอินซูลินไปใช้ได้น้อยลง)

ซึ่งผมขออนุญาตลงรายละเอียดเฉพาะโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เท่านั้นนะครับ

โรคเบาหวานประเภทที่ 2 คืออะไร

อย่างที่ผมบอกไปเมื่อตอนต้น โรคเบาหวานประเภทที่ 2 นั้นมีความผิดปกติที่ร่างกาย
ไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ ระบบทางเดินอาหารทำการย่อยแป้งให้กลายเป็นน้ำ
ตาล หลังจากนั้นจึงทำการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ในการเผาผลาญ

การทำงานของอินซูลินก็คล้ายๆกับจดหมาย ซึ่งจะถูกส่งออกไปตามกระแสเลือด ส่ง
ไปตามบ้านเซลล์ต่างๆ ซึ่งมีตู้ไปรษณีย์อยู่หน้าบ้าน เป็นตู้รับจดหมาย จดหมายอินซูลิน
ก็จะบอกให้บ้านเซลล์คอยต้อนรับน้ำตาลที่จะเข้ามา

ยิ่งน้ำตาลในเลือดยิ่งมาก ตับอ่อนก็จะยิ่งส่งจดหมายอินซูลินไปตามบ้านเซลล์มากขึ้น
เพื่อให้นำกลูโคสเข้าสู่บ้านเซลล์เพื่อเผาผลาญหรือ สะสมไว้ในรูปของแป้งที่เรียกว่าไกล
โคเจน

ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แม้ว่าร่างกายจะสร้างอินซูลินได้อยู่ แต่เปรียบเสมือนว่ามี
มือดีไปทุบตู้ไปรษณีย์หน้าบ้านพัง

นั่นคือ บ้านเซลล์ไม่ตอบรับจดหมายอินซูลินได้อีกต่อไป และแน่นอนครับ น้ำตาลก็
จะเข้าสู่เซลล์ไม่ได้ นั่นคือภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นผลให้น้ำตาลตกค้างอยู่ตามถนน
หนทาง(ตกค้างในกระแสเลือดมากขึ้น)และเกิดเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2

ร่างกายก็พยายามปรับตัวโดยการสร้างอินซูลินให้มากขึ้น โดยหวังว่าบ้านเซลล์จะ
ตอบจดหมายสักฉบับก็ยังดี แต่ด้วยตู้ไปรษณีย์ที่เสีย ทำให้บ้านเซลล์ไม่ฟังคำสั่งที่มีอยู่
ในจดหมายอินซูลินอีก

สาเหตุที่ทำให้ตู้ไปรษณีย์ที่ติดอยู่ที่หน้าบ้านเซลล์เสีย เกิดจากพฤติกรรมของพวกเรา
นี่แหละครับ

ซึ่งแพทย์จะตรวจวัดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดหลังการอดอาหารและน้ำตั้งแต่เที่ยง
คืนแล้วไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาลในตอนเช้า เพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดที่เรียก
ว่า ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร

ซึ่งในคนปกติจะมีค่าไม่เกิน 126 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มล. ถ้าพบว่ามีค่ามากกว่าปกติ
ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน ยิ่งมีค่าสูงมากเท่าไหร่ ก็แสดงว่ามีความรุนแรงมากขึ้น
เท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับเบาหวานประเภทที่ 2 มีอะไรบ้าง
ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 นั้นจะมีความผิดปกติของหลอดเลือดเป็นส่วนใหญ่ครับ

ความผิดปกติของหลอดเลือดยิ่งมีมากขึ้น ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ความผิด
ปกตินี้จะเกิดขึ้นในหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กๆตามอวัยวะที่สำคัญ เช่น หลอดเลือด
ขนาดเล็กที่ตา ที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและทำให้ตามัวลง และ
ตาบอดได้ในที่สุด หลอดเลือดขนาดเล็กที่ไต ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังได้ครับ และ
ส่วนใหญ่โรคไตวายเรื้อรังส่วนใหญ่มักเกิดจากเบาหวาน หลอดเลือดขนาดเล็กที่ปลาย
ประสาท ทำให้เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า และอีกทั้งทำให้แผลให้ช้ามากๆ
บางครั้งใช้เวลาแรมเดือนกว่าจะหาย หรือถ้าไม่หาย ก็จะมีการติดเชื้อซ้ำและรุนแรงจน
ไปถึงขั้นตัดขาได้เลยทีเดียว

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอีกอย่างก็คือทำให้ หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน เกิดโรค
อัมพฤกษ์(ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการตีบตัน)

นอกจากนี้ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นถ้ามีโรคความดันโลหิตสูง โรคโค
เลสเตอรอลในเลือดสูงร่วมด้วย (ซึ่งมักจะเกิดร่วมกันอยู่แล้ว)

คนส่วนใหญ่ไม่ตายจากเบาหวานหรอกครับ แต่จะตายเพราะไตวาย เพราะโรคหัวใจ
ต่างหาก

ยิ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเพียงใด ระดับน้ำตาลส่วนเกินก็จะไปเกาะกับโปรตีน
ต่างๆ(glycosylation) และทำให้เร่งการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด ทำให้ผนัง
หลอดเลือดตีบแคบลง

หลอดเลือดก็เหมือนถนนนั่นแหละครับ ถ้าถนนเรียบ การขนส่งสารต่างๆก็เป็นไปได้
อย่างราบรื่น แต่ถ้าถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ขรุขระ หรือถนนแคบ การขนส่งสารต่างๆ
และออกซิเจนก็จะแย่ลง

การรักษาโรคเบาหวาน
การรักษาเบาหวานอันดับที่หนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันครับ
ได้แก่การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายไม่ได้หมายความว่าให้คุณเข้าโรงยิม หรือ วิ่งมาราธอนนะครับ แค่
คุณวิ่ง หรือ เดินให้มากขึ้น เท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ

และการรับประทานยาก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้หยุดการออกกำลังกายนะครับ การ
รับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่พึงกระทำเสมอ

มีการรักษาโดยการใช้ยาอะไรบ้าง?
การรักษาในการใช้ยาเพื่อมุ่งหวังให้ควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีขึ้น แต่ไม่ได้ใช้ทดแทน
การออกกำลังกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนะครับ

ยาในกลุ่มแรกที่จะใช้ก็คือ ยากลุ่มที่ลดการดื้อต่ออินซูลิน (ยาที่ช่วยซ่อมตู้ไปรษณีย์)
ครับ เช่น Metformin

ยาในกลุ่มที่ 2 ก็คือยาในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย เป็นยาที่ทำให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินมากขึ้น
และควบคุมระดับน้ำตาลลง

ยาในกลุ่มต่อมาก็คือยาที่ลดการดูดซึมของแป้งและน้ำตาล หรือทำให้น้ำตาลถูกดูดซึม
ช้าลง

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังครับ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง และภาวะ
แทรกซ้อนมักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานมานาน โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง หรือ
ปล่อยปละละเลย

แต่ถ้าคุณควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ไม่ใช่เพียงแค่การใช้ยา แต่ถ้าคุณสามารถ
รู้จักเลือกการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย คุณก็จะลดความเสี่ยงจากโรค
เหล่านี้ลงได้ด้วยครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘