จดสิทธิบัตร ไม่ยากอย่างที่คิด

หลังจากที่ทราบกันไปแล้วว่า สิทธิบัตรคืออะไร หลายท่านคงตระหนักถึงความสนใจ ที่จะใช้ประโยชน์จากการจดสิทธิบัตรมากขึ้น ขอสรุปอย่างคร่าวๆว่า สิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือ ออกแบบผลิตภัณฑ์




กระบวนการ ขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตรไม่ยากเลย แต่กระบวนการพิจารณาอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย เพราะต้องทำตามขั้นตอนที่กฏหมายกำหนดไว้ วิธีการขอจดนั้น ท่านต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้



หลัง จากที่ยื่นเอกสารทุกอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอ ชำระค่าธรรมเนียมประกาศโฆษณา ในหนังสือประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร โดยขั้นตอนต่อจากนี้จะแตกต่างกันอยู่นิดหนึ่งสำหรับการขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้น เมื่อมีการประกาศโฆษณาแล้ว ผู้ขอจะต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ โดยใช้แบบ สป./003-ก ภายใน 5 ปี นับแต่วันประกาศโฆษณาด้วย ในขณะที่การขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นไม่ต้อง และถ้าเกิดจะมีการคัดค้านหรือโต้แย้งการยื่นขอจดสิทธิบัตร ก็จะกระทำในขั้นตอนนี้นี่เอง การยื่นคัดค้านจะต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณา แต่ถ้าไม่มีการคัดค้านในประเด็นใดๆ ก็จะผ่านไปถึงการตรวจสอบขั้นสุดท้าย ซึ่งถ้าเห็นว่าถูกต้องตามกฏหมาย และสั่งให้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ ก็จะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียม แล้วออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอต่อไป ซึ่งการยื่นขอจดสิทธิบัตรจะเร็วหรือช้า ก็จะขึ้นอยู่กับการเตรียมเอกสาร และ การเขียนคำขอเป็นส่วนสำคัญด้วย



ในส่วนของการเขียนคำขอ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่สนใจ โดยการจัดให้มีการอบรมการเขียนคำขอเป็นประจำทุกวันอังคาร และ พฤหัสบดี สามารถติดต่อได้ที่สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 3 โดยการอบรมแบ่งเป็นกลุ่มตามประเภทของสิทธิบัตรที่ประสงค์จะจดทะเบียน หากมีข้อสงสัยประการใดโทรศัพท์สอบถามได้ที่ 0-2547-4621-5 ต่อ 1405



  • แบบพิมพ์คำขอ (สป/สผ/อสป/001-ก)
  • รายละเอียดการประดิษฐ์ หรือ คำอธิบายรูปแบบของผลิตภัณฑ์แล้วแต่กรณี
  • ข้อถือสิทธิ์
  • รูปเขียน (กรณียื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น ที่สามารถใช้ภาพถ่ายได้)
  • บทสรุปการประดิษฐ์ (เฉพาะกรณียื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์)
  • เอกสารประกอบคำขอ เช่น


    1. เอกสารหลักฐานการแสดงสิทธิในการขอรับสิทธิบัตร
    2. หนังสือรับรองการแสดงการประดิษฐ์ หรือออกแบบแล้วแต่กรณี
    3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
    4. เอกสารนับวันยื่นคำขอในต่างประเทศเป็นวันยื่นคำขอในประเทศไทย
    5. ต้นฉบับ หนังสือรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือนนับจนถึงวันยื่นขอ กรณีเป็นนิติบุคคล ยื่นหลายคำขอในวันเดียวกัน ใช้ต้นฉบับและสำเนาหนังสือรับรอง โดยรับรองสำเนาถูกต้องด้วย
โดยท่านสามารถยื่นคำขอจดสิทธิบัตรได้ที่ สำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘