แอปเปิ้ลไซเดอร์สามารถช่วยลดน้ำหนักและบำรุงสุขภาพได้หรือไม่

เดี๋ยวนี้เริ่มมีการแอบอ้างว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์ว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพกันแล้ว และขายเป็นอาหาร
เสริม (กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน) บางที่กล่าวว่าเป็นยาแผนโบราณ แต่ผมลองไปดูในฐานข้อมูลวิจัย
แล้วครับว่ามีการศึกษาเพียงเล็กๆเท่านั้นที่บอกว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์ "น่าจะ" ช่วยในเรื่องในเรื่อง
เบาหวาน และลดความอ้วน

แล้วการรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์สามารถช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือ ?

แอปเปิ้ลไซเดอร์เป็นอาหารหมักดองครับ ซึ่งน้ำตาลถูกเปลี่ยนให้เป็นแอลกอฮอลล์โดยแบคทีเรีย
และยีส และคุณก็จะได้แอลกอฮอลล์เป็นผลลัพธ์ นั่นก็คือเหล้าหรือไวน์ดีๆนี่เองครับ เป็นเหล้า
ไวน์ที่ทำมาจากแอปเปิ้ลครับ

ผมได้ไปหาต้นตอว่าคำกล่าวที่ว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์ สามารถรักษาโรคได้สารพัดมาจากที่ไหน แล้ว
พบว่า มาจากหนังสือเล่มหนึ่งครับ มีชื่อว่า "Folk Medicine: A Vermont Doctor's Guide to Good
Health" เขียนโดย D.C. Jarvis ซึ่งเขียนในขณะที่การแพทย์ทางเลือกกำลังบูมใหม่ๆ และแอป
เปิ้ลไซเดอร์กลายเป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ถ้าคุณไปดูที่เวบไซด์ อินเตอร์เนต ในฉลากอาหารเสริม คุณจะพบคำกล่าวอ้างอยู่มากมายครับว่า
แอปเปิ้ลไซเดอร์ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ช่วยรักษาโรคได้สารพัด ช่วยบำรุงสุขภาพ ช่วยกำจัดสารพิษ
ช่วยให้ย่อยอาหารง่าย

แต่ว่าไม่มีหลักฐานที่เป็นงานวิจัยอย่างเป็นชิ้นเป็นอันว่าแเอปเปิ้ลไซเดอร์ช่วยได้ตามคำกล่าวอ้าง
นะครับ แต่ที่แน่ๆ แอปเปิ้ลไซเดอร์ใช้รักษาเหาได้นะครับเพราะมีการศึกษามาแล้ว และก็ไม่
สามารถกำจัดเชื้อโรคในฐานะยาฆ่าเชื้อแต่อย่างใด

หลักฐานทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับแอปเปิ้ลไซเดอร์

มีคำกล่าวอ้างว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์สามารถช่วยในภาวะดังกล่าวต่อไปนี้ครับ

เบาหวาน : มีการศึกษาในปี 2007 ครับในกลุ่มผู้ทดลองประมาณ 11 คนที่เป็นเบาหวาน โดยให้
รับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนโต๊ะ พบว่าสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลลงได้ในตอนเช้า 4-6%


ความดันโลหิตสูง : อีกการศึกษาหนึ่งทำในหนูนะครับ ไม่ใช่คน พบว่าหนูที่รับประทานแอป
เปิ้ลไซเดอร์สามารถลดความดันโลหิตลงได้ แต่ว่าเนื่องจากการทดลองนี้ไม่ได้ทำโดยมนุษย์ ผม
จึงให้น้ำหนักงานวิจัยนี้ต่ำนะครับ เพราะช่วยในหนู ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยในคน ครับ

มะเร็ง : มีการวิจัยอยู่ 2-3 ครั้งที่กล่าวว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง แต่แปลกมากนะ
ครับ ผมกลับพบว่ามีงานวิจัยที่ว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์เพิ่มโอกาสเป็นโรคมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ

(ความจริงคือการดื่มเหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ทุกชนิดก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอยู่
แล้วนะครับ อ้างอิง: Alcohol Consumption and the Risk of Cancer A Meta-Analysis
อ้างอิง)

ลดน้ำหนัก : จากการศึกษาเมื่อปี 2005 ครับ โดยเปรียบเทียบในคน 12 คน พบว่าผู้ที่ดื่มไวน์ขาว
ช่วยให้อิ่มได้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม แต่ว่าการศึกษานี้เป็นเพียงแค่งานวิจัยขนาดเล็กมากๆเบื้องต้น
เท่านั้น แล้วก็ไม่ได้ใช้แอปเปิ้ลไซเดอร์ด้วยซ้ำ แต่ใช้ไวน์ขาวแทน ดังนั้นเชื่อมากไม่ได้ครับ ต้อง
รอให้มีงานวิจัยที่มีขนาดใหญ่มาสนับสนุนหรือหักล้างอีกทีครับ

แอปเปิ้ลไซเดอร์มีความเสี่ยงอะไรหรือไม่

ความเสี่ยงดูเหมือนจะน้อยนะครับ ถ้าคุณดื่มไม่มาก อย่างไรเสียแอปเปิ้ลไซเดอร์ก็คือเครื่องดื่มที่มี
แอลกอฮอลล์อย่างหนึ่ง ดังนั้นความเสี่ยงย่อมมีอยู่อย่างแน่นอน ถ้าคุณดื่มในปริมาณที่มาก

  • แอปเปิ้ลไซเดอร์ มีฤทธิ์เป็นกรดที่ค่อนข้างแรง เพราะว่ามีกรดอะซิติกอยู่ เหมือนกับ
    น้ำส้มสายชูครับ และคุณต้องผสมน้ำก่อนที่จะดื่มเข้าไป แอปเปิลไซเดอร์เข้มข้นสามารถ
    กัดกร่อนเยื่อบุช่องคอและฟันได้ครับ มีการศึกษาที่พบว่ามีผู้ที่รับประทานแอปเปิ้ลไซเด
    อร์เข้าไปแล้วติดอยู่ในคอ สามารถกัดกร่อนเยื่อบุหลอดอาหารได้ครับ

  • การรับประทานแอปเปิ้ลไซเดอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถทำให้ระดับโพแตสเซียมใน
    เลือดต่ำและสามารถทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ครับ

  • แอปเปิ้ลไซเดอร์ในทางทฤษฎีนั้นมีปฎิกริยากับยารักษาโรคหัวใจครับ และนอกจากนี้แอป
    เปิ้ลไซเดอร์ยังมีโครเมียม ซึ่งอาจเกิดปฎิกริยากับยารักษาเบาหวานที่รับประทานอยู่ ดังนั้น
    ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนครับ

ตอนนี้ก็ได้มีแอปเปิ้ลไซเดอร์มาสกัดเป็นอาหารเสริมชนิดเม็ดแทนที่จะรับประทานในรูปของ
ของเหลว อาหารเสริมไม่เหมือนกับยานะครับ อาหารเสริมมักไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มข้น
เช่นเดียวกับยา ดังนั้นก่อนซื้ออาหารเสริมใดๆ ให้ เลือก อาหารเสริมที่บอกส่วนประกอบที่แท้จริง
และบอกปริมาณด้วยครับ ( ไม่ได้สักแต่ว่าบอกส่วนประกอบโดยไม่บอกปริมาณเหมือนอาหาร
เสริมส่วนใหญ่ )

ถ้าคุณต้องการใช้แอปเปิ้ลไซเดอร์ในฐานะน้ำสลัด ผมไม่ว่าอะไรครับ แต่ระวังครับ ถ้าคุณใช้แอป
เปิ้ลไซเดอร์เป็นอาหารเสริมที่คุณใช้รับประทานทุกวัน ค่อนข้างเสี่ยงนะครับ ยังต้องรองานวิจัยอีก
มากนะครับ อะไรก็ตามที่ยังไม่ทราบและยังไม่เป็นที่ยืนยัน... นั่นแหละครับ ความเสี่ยง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘