ความรู้ในการบวชพระ

พระภิกษุ

พระ

มาจากคำว่า วร
แปลว่า ผู้ประเสริฐ ผู้ควรกราบไหว้บูชา
หมายถึงผู้ที่ผ่านการอุปสมบทแล้ว

ภิกษุ

แปลว่า ผู้ขอ
หมายถึง ผู้ขอ
ผู้เข้าถึงภิกษาจาร
ผู้สมัญญา
ผู้ปฏิญญา
ผู้ทรงแผ่นผ้าที่ถูกทำลาย
ผู้กำลังทำลายบาปอกุศลทั้งหลาย
ผู้ทำลายบาปอกุศลทั้งหลายแล้ว
ผู้ละกิเลสโดยจำเพาะส่วน
ผู้ละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน
ผู้เป็นพระเสขะ
ผู้เป็นพระอเสขะ
ผู้ไม่ใช่พระเสขะและไม่ใช่พระอเสขะ
ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศ
ผู้ประกอบด้วยธรรมอันงาม
ผู้บริสุทธิ์ผ่องใส
ผู้ประกอบด้วยธรรมอันเป็นสาระ
ผู้เป็นเอหิภิกขุ
ผู้อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์
ผู้อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม
ที่ไม่กำเริบควรแก่ฐานะโดยสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียง,

หมายถึง ผู้ละบุญและบาป
ประพฤติพรหมจรรย์ในโลก
ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป,

หมายถึง ผู้เที่ยวพิจารณาสังขารทั้งปวง,

หมายถึง ผู้ไม่มีความยึดถือในนามรูปว่า
เป็นของๆ เราโดยประการทั้งปวง
ผู้ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปนั้นไม่มีอยู่,

หมายถึง ผู้เห็นภัยในสงสาร
ผู้ทำลายกิเลสได้โดยประการทั้งปวง
ผู้ข้ามโอฆะ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา
แล้วตั้งอยู่ในนิพพาน,

หมายถึง ผู้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
สงบแล้ว ฝึกแล้ว มีคติแน่นอน
ประพฤติพรหมจรรย์
เว้นอาชญาในสัตว์ทั้งมวล,

หมายถึง ผู้ละความไม่ยินดี ความยินดี
ความวิตก ในเรือนโดยประการทั้งปวง
ไม่พึงทำป่าคือกิเลสในอารมณ์ไหนๆ
เป็นผู้ไม่มีป่าคือกิเลส
เป็นผู้ไม่น้อมใจไปแล้ว,

หมายถึง ผู้มีสำรวมกาย สำรวมวาจา
สำรวมตน ยินดีในธรรมอันเป็นในภายใน
มีจิตตั้งมั่น เป็นคนโดดเดี่ยว สันโดษ,

หมายถึง ผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ ผู้เบา
ปรารถนาประโยชน์ มีอินทรีย์สำรวม
พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง
ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป
ไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา
ไม่มีความหวัง
ผู้กำจัดมารได้แล้ว
เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว,

หมายถึง ผู้มีมายา มานะ ความโลภสิ้นไป
ไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา
ไม่มีความหวัง
ผู้ละความโกรธ มีจิตเย็น,

หมายถึง ผู้ทำลายธรรม ๗ ประการ,

หมายถึง ผู้ดับกิเลสด้วยมรรคที่
ตนอบรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว
เพราะความดับรอบกิเลส
ละแล้วซึ่งความเสื่อมและความเจริญ
คือวิบัติและสมบัติ
ความขาดสูญและความเที่ยง
บาปและบุญ
อยู่จบพรหมจรรย์
เป็นผู้มีภพใหม่สิ้นแล้ว เป็นผู้สงบ


คุณสมบัติผู้ขออุปสมบท
ตามกฏมหาเถรสมาคม
ฉบับที่ ๑๗
พ.ศ. ๒๕๓๖

ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์
หมวด ๓ หน้าที่พระอุปัชฌาย์

ข้อ ๑๓ พระอุปัชฌาย์ต้องพบและสอบสวน
กุลบุตรให้ได้คุณลักษณะก่อนจึงรับให้บรรพชา
อุปสมบทได้คุณลักษณะของกุลบุตรนั้น มีดังนี้

(๑) เป็นคนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบล
หรืออำเภอที่จะบวช และมีหลักฐาน
มีอาชีพชอบธรรม
หรือแม้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอื่น
แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า
เป็นคนมีหลักฐาน มีอาชีพชอบธรรม
มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งไม่ใช่คนจรจัด

(๒) เป็นสุภาพชน มีความประพฤติดี
ประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย
เช่น ติดสุรา หรือยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น

(๓) มีความรู้ อ่านและเขียนหนังสือไทยได้

(๔) ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ

(๕) เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ
และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้
ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถ
หรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ

(๖) มีสมณบริขารครบถ้วน
และถูกต้องตามพระวินัย

(๗) เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชา
อุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ

ข้อ ๑๔ พระอุปัชฌาย์ ต้องงดเว้น
การให้บรรพชาอุปสมบท แก่คนต้องห้ามเหล่านี้

(๑) คนทำความผิดหลบหนีอาญาแผ่นดิน

(๒) คนหลบหนีราชการ

(๓) คนต้องหาในคดีอาญา

(๔) คนเคยถูกตัดสินจำคุก
โดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ

(๕) คนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาด
ทางพระศาสนา


(๖) คนมีโรคติดต่อเป็นที่น่ารังเกียจ
เช่น วัณโรคในระยะอันตราย

(๗) คนมีอวัยวะพิการจน
ไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้


บาตรมีความสำคัญอย่างไร
ในการบรรพชาอุปสมบท


ในขั้นตอนพิธีการบรรพชา
นั้น
ไม่จำเป็นต้องมีบาตรก็ได้
แต่ในการอุปสมบทนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีบาตร
เพราะเป็น 1 ใน 4 สิ่งที่จำเป็น
คือ ผ้าไตรจีวร ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ
และ บาตรที่จะขาดมิได้ในอัฏฐบริขาร
หากขาดตกบกพร่องก็เป็นหน้าที่ของ
พระอุปัชฌาย์ที่จะต้องหาให้เสร็จสิ้น
ก่อนการอุปสมบท


การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์

ขั้นตอนการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์

ขั้นตอนการกราบมีทั้งหมด 3 ขั้นตอนหลัก
คือ อัญชลี (การพนมมือไว้ระหว่างอก)
วันทา (การพนมมือจรดศีรษะ) และ
อภิวาท (การก้มลงกราบ)

มีที่แตกต่างกัน 2 แบบคือ
สำหรับผู้ชาย เรียกว่า ท่าเทพบุตร
และผู้หญิง เรียกว่า ท่าเทพธิดา


ขั้นตอนที่ 1 ท่านั่ง

ท่านชาย

1. นั่งชันเข่า
2. ระหว่างเข่าห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ
3. นั่งหลังตรง




ท่านหญิง

1. นั่งคุกเข่าราบ
2. ระหว่างเข่าห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ
3. นั่งหลังตรง



ขั้นตอนที่ 2 ท่าอัญชลี

ท่านชาย และท่านหญิง

1. นำมือทั้ง 2 มาพนมบริเวณหน้าอก
ทำมุมเฉียง 45 องศา

2. มือทั้ง 2 ข้าง อูมเพียงเล็กน้อย
ไม่มากจนดูกลม หรือ แฟบจนดูแบน
เป็นสัญลักษณ์ของดอกบัวที่ใช้บูชาพระ

3. นิ้วทั้ง 5 เรียงชิดติดกัน





ขั้นตอนที่ 3 วันทา

ท่านชายและท่านหญิง

1. นำมือจรดศีรษะโดยนิ้วชี้จรด
ประมาณจอนผม นิ้วโป้งจรดประมาณหัวคิ้ว

2. ถ้าเป็นฝ่ายชายตั้งตรง
ฝ่ายหญิงค้อมคอลงเล็กน้อยพอประมาณ

3. จังหวะที่ใช้ท่าวันทานี้
หากใช้ขณะสวดมนต์ จะรอจนจบบทนั้นๆ
เสร็จก่อนจึงค่อยวันทา
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสวดมนต์บูชาพระ
ก็จะรอจนจบ "พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ"
ก่อน จึงค่อยวันทา แล้วเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4 ต่อไป






ขั้นตอนที่ 4 อภิวาท

ท่านชายและท่านหญิง

1. กราบโดยอวัยวะทั้ง 5 ส่วนสัมผัสกับพื้น
ได้แก่ ฝ่ามือทั้ง 2 ข้อศอก 2 หน้าผาก 1

2. ความห่างระหว่างฝ่ามือทั้ง 2 เท่ากับ
ความกว้างของบริเวณหน้าผาก
ไม่กว้าง หรือไม่แคบจนเกินไป


ท่านชาย
ข้อศอกต่อเข่า

ท่านหญิง
ข้อศอกแนบเข่า

3. อยู่ในท่าค้างนับประมาณ 3 วินาที
(ช่างภาพมักจะเก็บภาพในจังหวะนี้)
จึงค่อยขึ้นมาอยู่ในท่าอัญชลีเหมือนเดิม

4. เมื่อกราบครบ 3 ครั้ง
จึงค่อยค้อมศีรษะลงเล็กน้อยแล้วจบด้วยท่าวันทา
ถือเป็นการเสร็จแบบอย่างการกราบที่สมบูรณ์






ข้อควรทราบ

1. ในขณะที่อยู่ในพิธีกรรมซึ่งเป็นการประชุมสงฆ์
จำนวนมาก พระภิกษุทุกรูปต้องมี
ความพร้อมเพรียงกันในการกราบ
เพื่อให้เป็นต้นแบบและเป็นที่ตั้ง
แห่งศรัทธาของสาธุชน ถือได้ว่าเป็น
ความรับผิดชอบของหมู่คณะ ในการกราบ
ให้มีความพร้อมเพรียงกันได้นั้น
พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ
ได้เมตตาแนะนำไว้ว่า
ให้ “ลืมตากราบ”
“สังเกตจังหวะการกราบ” ของพระภิกษุรูปข้าง ๆ
และ “กราบตามการให้สัญญาณของพิธีกร”
“ไม่ควรหลับตากราบ”
เพราะจะเป็นเหตุแห่งการกราบไม่พร้อมเพรียงกัน

2. การกราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง
มีจุดมุ่งหมายว่า
ครั้งที่ ๑ เป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธ
ครั้งที่ ๒ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
ครั้งที่ ๓ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
เรียกว่า ยิ่งกราบยิ่งมีปัญญา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘