การติดตั้งลินุกซ์ทะเล 9.0 (หัวหิน)

แหล่งข้อมูลที่จำเป็น

แหล่งดาวน์โหลดลินุกซ์ทะเลสามารถดาวน์โหลด จากแหล่งต่อไปนี้ แหล่งดาวน์โหลดลินุกซ์ทะเล


การเตรียมตัวก่อนติดตั้ง

การติดตั้งลินุกซ์ทะเล 9.0 "หัวหิน" จะมีขั้นตอนการติดตั้งเหมือนกับลินุกซ์ทะเล 8.0 "ป่าตอง" ซึ่งจะใช้ตัวติดตั้งของ Debian-Installer แบบ Text mode ผ่านทาง Ubuntu 7.10 alternate หลายคนอาจจะมีคำถามว่าทำไมยังใช้ตัวติดตั้งแบบนี้ คำตอบคือตัวติดตั้งแบบ Text mode ยังถือว่ามีความแน่นอนในการติดตั้งมากกว่า LiveCD อยู่มากพอสมควรซึ่งสามารถ boot และติดตั้งได้เกือบทุกเครื่อง เพราะสำหรับเครื่องที่ LiveCD ติดตั้งไม่ได้เราอาจจะแก้ไขได้หลังจากลงแบบ Text mode ไปแล้ว

เมื่อท่านได้แผ่นติดตั้งของลินุกซ์ทะเล 9.0 มาแล้วท่านต้องแน่ใจก่อนว่า

  • สามารถ boot ได้จาก CD-ROM
  • เตรียมเนื้อที่สำหรับลินุกซ์ทะเลอย่างน้อย 5GB + 2xRAM (แนะนำว่าไม่ต้องขี้เหนียว)
  • ถ้าต้องการลงคู่กับ Windows ให้ลง Windows ให้เรียบร้อย พร้อมกับแบ่งพื้นทื่ว่างให้พร้อม
  • ถอดอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอกพวก USB ออกให้หมดก่อน เช่น Flash Drive , External HDD etc.
  • ถ้าลงทับลินุกซ์เก่าให้แน่ใจว่ามีการสำรองข้อมูลจำเป็นไว้เสร็จแล้ว
  • ถ้ามีพาร์ทิชันหลายๆ พาร์ทิชัน ให้ท่านจดบันทึกไว้ให้เรียบร้อยว่าใช้เก็บข้อมูลอะไรบ้าง และ จะลงลินุกซ์ทะเลที่ไหน

การบู๊ตแผ่นติดตั้ง

เมื่อได้แผ่นมาเรียบร้อยแล้วให้ใส่แผ่นใน CD-ROM Drive แล้วทำการ Set Bios ให้ boot จาก CD-ROM หรือ กดปุ่มลัด (บางรุ่น) เพื่อเลือก boot ถ้า CD-ROM ของท่านยังทำงานได้อย่างถูกต้อง และ ท่าน Set ค่าได้ถูกต้องแล้วเมื่อ boot เครื่องขึ้นมาจะได้ดังรูปที่ 1.1 ซึ่งหน้านี้จะเป็นหน้าที่รอรับการป้อนค่าการ boot ของตัวติดตั้งถ้าเป็นการติดตั้งปกติก็สามารถกด Enter ผ่านไปได้เลย สำหรับที่มีความรู้พอสมควร หรือ เครื่องที่มีปัญหาอาจจะต้องใช้ Options พิเศษบาง Option ซึ่งท่านสามารถ กดปุ่ม F1 - F10 เพื่อดูว่ามี Option อะไรบ้าง ซึ่งแต่ละหน้าจะมีรายละเอียดดังรูป 1.2 - 1.11

รูปที่ 1.1 หน้า boot ตัวติดตั้ง
รูปที่ 1.1 หน้า boot ตัวติดตั้ง
รูปที่ 1.2 หน้า Option (F1)
รูปที่ 1.2 หน้า Option (F1)
รูปที่ 1.3 หน้า Option (F2)
รูปที่ 1.3 หน้า Option (F2)
รูปที่ 1.4 หน้า Option (F3)
รูปที่ 1.4 หน้า Option (F3)
รูปที่ 1.5 หน้า Option (F4)
รูปที่ 1.5 หน้า Option (F4)
รูปที่ 1.6 หน้า Option (F5)
รูปที่ 1.6 หน้า Option (F5)
รูปที่ 1.7 หน้า Option (F6)
รูปที่ 1.7 หน้า Option (F6)
รูปที่ 1.8 หน้า Option (F7)
รูปที่ 1.8 หน้า Option (F7)
รูปที่ 1.9 หน้า Option (F8)
รูปที่ 1.9 หน้า Option (F8)
รูปที่ 1.10 หน้า Option (F9)
รูปที่ 1.10 หน้า Option (F9)
รูปที่ 1.11 หน้า Option (F10)
รูปที่ 1.11 หน้า Option (F10)


การแบ่งพาร์ทิชัน

หลักการแบ่งพาร์ทิชันของลินุกซ์ทะเล 9.0 จะมีความเหมือนและคล้ายคลึงกับลินุกซ์ค่ายๆ อื่นๆ ที่มีอยู่ในขณะนี้ คือ อย่างน้อยท่านต้องแบ่งไว้จำนวน 2 พาร์ทิชัน คือ Root ("/") และ SWAP โดยอย่างน้อย / ควรจะแบ่งให้สัก 5 GB และ SWAP จำนวนสองเท่าของ RAM

ส่วนวิธีแบ่งนั้นจะมีให้สองแบบใหญ่ๆ คือ

  1. แบบอัตโนมัติ
  2. แบบแบ่งเอง

ขั้นตอนการแบ่งพาร์ทิชันจะเป็นขันตอนเดียวของการติดตั้งลินุกซ์ทะเล 9.0 ที่มีใน Text mode แต่ทั้งนี้ถ้าตัวติดตั้งไม่ดำเนินการตามแบบปกติอาจจะมีขั้นตอนอื่นๆ ขึ้นมาอีกก็ได้ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ หลังจากแผ่น boot ขึ้นมาได้แล้วให้ท่านนั่งรอ และ สังเกตุการทำงานของตัวติดตั้ง ถ้าไม่เกิดเหตุขัดข้อง รอสักครู่ก็จะถึงขั้นตอนแบ่งพาร์ทิชันโดยจะมีหน้าต่างแสดงขั้นตอนต่างๆ ก่อนหน้านี้วิ่งอย่างต่อเนื่อง ถ้าเกิดมีการหยุดนานเกินไปให้สันนิษฐานว่าไม่ปกติ ลองกด Alt+F4 ดูว่ามีข้อความ Error อะไรหรือไม่ ถ้าปกติก็ให้กด Alt+F1 กลับมาเหมือนเดิม ส่วน Alt+F2 และ Alt+F3 เป็นหน้า Shell ท่านสามารถใช้คำสั่งต่างๆ ได้ แต่ทั้งนี้ให้ท่านระวังว่ากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าทุกอย่างปกติจะขึ้นหน้าต่างดังรูปที่ 2.1 ครู่หนึ่ง

รูปที่ 2.1 เริ่มตัวแบ่งพาร์ทิชัน
รูปที่ 2.1 เริ่มตัวแบ่งพาร์ทิชัน

แบบอัตโนมัติ

การแบ่งแบบอัตโนมัตินั้นเมื่อขึ้นหน้าต่างถัดจากรูป 2.1 ให้เลือกเมนูแรก คือ

Guided - use entry disk  การติดนี้จะใช้พื้นที่บน harddisk ทั้งหมด ระวังข้อมูลหายครับ

ดูรูปที่ 2.2

รูปที่ 2.2 เลือกแบ่งแบบอัตโนมัติ
รูปที่ 2.2 เลือกแบ่งแบบอัตโนมัติ

หลังจากนั้นตัวติดตั้งจะถามว่าจะใช้ Hard disk ตัวไหนดังรูปที่ 2.3 จากรูป

รูปที่ 2.3 เลือก Hard Disk
รูปที่ 2.3 เลือก Hard Disk

ตัวอย่างมีลูกเดียวถ้าท่านมีหลายลูกให้สังเกตุให้ดีว่าจะลงลูกไหน เพราะข้อมูลสำคัญอาจสูญหายได้ และจากตัวอย่างเป็น Hard disk ว่างๆ ซึ่งจะง่ายมากเมื่อเลือก Hard disk แล้วก็จะผ่านไปหน้าต่างให้ยืนยันเลยว่าจะ format ที่แบ่งให้เลยไหม ดูรูปที่ 2.4

รูปที่ 2.4 ยืนยันการ format พาร์ทิชันที่แบ่ง
รูปที่ 2.4 ยืนยันการ format พาร์ทิชันที่แบ่ง

ถ้า Hard Disk ว่างๆ แบบตัวอย่างนี้จะง่ายมากสำหรับการแบ่ง และ ติดตั้งลินุกซ์ทะเล เท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ

แบบกำหนดเอง

การแบ่งแบบนี้เหมือนกับยากแต่จริงๆ แล้วมันยืดหยุ่นมาก สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนตามต้องการได้ แต่ก็ต้องระมัดระวังในกรณีที่มี windows หรือ Linux ตัวอื่นอยู่ก่อนแล้ว ก่อนที่จะติดตั้งทุกครั้งต้องจดไว้เสมอว่าอะไรอยู่ที่ไหน มีอะไรบ้างใน Hard Disk

เมื่อถึงขั้นตอนการแบ่งพาร์ทิชัน ให้ท่านเลือกเมนูสุดท้าย

Manual

ดูรูปที่ 2.5

รูปที่ 2.5 เลือกแบ่งแบบกำหนดเอง
รูปที่ 2.5 เลือกแบ่งแบบกำหนดเอง

หลังจากนั้นก็เลือก Hard Disk ให้ถูกว่าจะลงลูกไหน ในตัวอย่างจะมีลูกเดียว และเป็น Hard Disk ว่างๆ ยังไม่ผ่านการแบ่งพาร์ทิชันมาก่อน ตามรูป 2.6

รูปที่ 2.6 เลื่อนไปยังพื้นที่ว่าง
รูปที่ 2.6 เลื่อนไปยังพื้นที่ว่าง

เมื่อเลื่อนมาถึงที่หมายแล้วให้ทำการกด Enter หนึ่งครั้งก็จะขึ้นหน้าต่างมาดังรูปที่ 2.7


รูปที่ 2.7 เลือกว่าจะทำอะไรกับพื้นที่นี้
รูปที่ 2.7 เลือกว่าจะทำอะไรกับพื้นที่นี้

จากรูปข้างบนท่านยังเปลี่ยนใจใช้การแบ่งอัตโนมัติได้อีกนะครับในเมนูที่ 2 แต่ถ้าตั้งใจจะทำเองแล้วก็ กด Enter ในหัวข้อแรกได้เลย

หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างให้กรอกขนาดของพาร์ทิชันว่าจะเอาเท่าไหร่ ตรงนี้ง่ายดีครับสามารถใส่ไปเลยว่าจะเป็น M หรือ เป็น G ไม่ต้องนั้งคำนวณให้ปวดหัวเล่น เช่น 8 GB ก็ใส่ไปเลยว่า 8 GB ดูรูปที่ 2.8

รูปที่ 2.8 กรอกขนาดที่ต้องการลงไป
รูปที่ 2.8 กรอกขนาดที่ต้องการลงไป

เมื่อกรอกเสร็จแล้วก็กด Enter ผ่านไปได้เลย ซึ่งระบบก็จะถามว่าจะให้เป็น Primary หรือ Logical ตรงนี้ให้ท่านจำไว้ดังนี้ว่า Hard Disk PC ทั่วๆ ไปที่ใช้ MBR จะมี Primary ได้ 4 อันเท่านั้น นั้นหมายความว่าถ้าท่านต้องการพาร์ทิชันเยอะๆ ก็ต้องแบ่ง Extend ให้ 1 ใน 4 หรือไม่ก็ Primary 1 Extend 1 ก็ได้ ให้สังเกตุว่าถ้า หมายเลขพาร์ทิชันเป็น 5 ขึ้นไปก็จะเป็น Logical เช่น /dev/sda5 เป็นต้น ตรงนี้ถ้าท่านเลือก Logical มันก็จะแบ่ง Extend ให้เองอัตโมมัติ ดูรูป 2.9

รูปที่ 2.9 เลือกว่าจะเป็น Primary หรือ Logical
รูปที่ 2.9 เลือกว่าจะเป็น Primary หรือ Logical

หลังจากนั้นก็จะถามอีกว่าจะเริ่มที่ตรงไหนโดยปกติก็ให้เลือก Begin ครับคงไม่เล่นแบบพิศดารกัน ดูตาม รูปที่ 2.10

รูปที่ 2.10 เลือกว่าจะเป็นเริ่มจากตรงไหน
รูปที่ 2.10 เลือกว่าจะเป็นเริ่มจากตรงไหน

เมื่อเสร็จแล้วจะขึ้นหน้าสรุปสำหรับการแบ่งพาร์ทิชันนี้ว่าแบ่งเป็นอะไร mount ที่ไหน ซึ่งโดยปกติพาร์ทิชันแรกระบบจะให้เป็น root '/' และ filesystem เป็น Ext3 เหมือนดังรูปที่ 2.11 ตรงนี้ท่านสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ ที่เห็นได้ เช่น filesystem จุด mount เป็นต้น

รูปที่ 2.11 หน้าสรุปการแบ่งพาร์ทิชัน
รูปที่ 2.11 หน้าสรุปการแบ่งพาร์ทิชัน

ถ้าไม่เปลี่ยนอะไรแล้วก็ให้เลื่อนแถบลงไปที่

Done setting up the partition

ดังรูปที่ 2.12


รูปที่ 2.12 เลื่อนลงล่างสุดเพื่อนยืนยัน
รูปที่ 2.12 เลื่อนลงล่างสุดเพื่อนยืนยัน

เป็นอันเสร็จไปหนึ่งพาร์ทิชัน อย่างที่เคยเกริ่นไว้ว่าอย่างน้อยต้องมี 2 พาร์ทิชันนั้นแสดงว่าท่านต้องแบ่ง SWAP อีก อันก็เหมือนๆ กับการแบ่ง root นี่แหละครับ เลื่อนไปที่ว่างที่เหลือดังรูปที่ 2.13

รูปที่ 2.13 เลือกที่ว่าง
รูปที่ 2.13 เลือกที่ว่าง

กด Enter ที่พื้นที่ว่างแล้วก็สร้างพาร์ทิชันใหม่ ดูรูปด้านบนนะครับ แล้วก็ใส่ขนาดของ SWAP โดยทั่วไปคือ RAM x 2 ถ้าจะเอาที่เหลือทั้งหมดก็ไม่ต้องแก้อะไรเอาค่าที่ขึ้นมาได้เลย หลังจากนั้นก็จะขึ้นหน้าสรุปมาแต่ระบบจะตั้งให้เป็น /home ดังรูปที่ 2.14

รูปที่ 2.14 หน้าสรุปที่ได้
รูปที่ 2.14 หน้าสรุปที่ได้

มาตรงนี้ท่านจำเป็นจะต้องเปลี่ยน filesystem เป็น SWAP โดยการเลื่อนไปเลือก

Use as:

แล้วกด Enter จะขึ้นหน้าต่างให้เลือกชนิดของ filesystem มาให้เลือกก็เลื่อนไปที่

swap area

ดูรูปที่ 2.15

รูปที่ 2.15 หน้าต่างเลือก filesystems
รูปที่ 2.15 หน้าต่างเลือก filesystems

เมื่อเลือกและกด Enter แล้วก็จะกลับมาหน้าสรุปอีกครั้งแต่คราวนี้รายละเอียดต่างๆ ก็จะหายไปเหลืออยู่นิดเดียวเพราะ SWAP ไม่จำเป็นต้องปรับอะไรมากแต่นี้ก็เลือกไปที่

Done setting up the partition
รูปที่ 2.16 แบ่ง SWAP เสร็จ
รูปที่ 2.16 แบ่ง SWAP เสร็จ

ก็จะกลับไปหน้าหลักอีกครั้งซึ่งจะขึ้นมาให้ดูว่ามีสองพาร์ทิชัน ดังรูปที่ 2.16 และ 2.17

รูปที่ 2.17 หน้าหลัก
รูปที่ 2.17 หน้าหลัก

ถ้าท่านต้องการแบ่งอย่างอื่นๆ อีกก็ทำได้เหมือนข้างบนครับ เมื่อเสร็จแล้วก็ให้เลื่อนไปที่

Finish partitioning and write changes to disk

ดูรูปที่ 2.18

รูปที่ 2.18 เสร็จสิ้น
รูปที่ 2.18 เสร็จสิ้น

จบการแบ่งด้วยตัวเองดูดีๆ จะไม่อยากนะครับอย่าตื่นเต้น

แบบคู่วินโดว์

การลงคู่กับ Windows หรือ คู่กับ OS อื่นๆ รวมถึง Linux ด้วยนั้นท่านต้องเตรียมตัวดังนี้คือ

จัดการแบ่งพื้นที่ว่างให้ Linux ก่อนอย่างน้อยๆ สัก 10 GB หรือมากกว่านั้น (ไม่ต้อง format เป็นดีที่สุด)

ถ้าท่านไม่แบ่งพื้นที่ว่างไว้ให้ต้องมานั่งเสียเวลา resize ขนาดซึ่งจะช้ามาก และ อันตรายอย่างยิ่งจึงย้ำว่าแบ่งมาเสียให้เรียบร้อยจะใช้อะไรก็แล้วแต่ถนัด

ถ้าท่านมี Windows อยู่แล้วเมื่อถึงขั้นตอนติดตั้งจะขึ้นมาดังรูปที่ 2.19


รูปที่ 2.19 มีพาร์ทิชันของ windows อยู่แล้ว
รูปที่ 2.19 มีพาร์ทิชันของ windows อยู่แล้ว

จากรูปด้านบน ของบางท่านอาจจะไม่เหมือนเช่น filesystem อาจจะเป็น NTFS ก็ได้ไม่ต้องตกใจมันเหมือนกันครับขอให้ออกมาคล้ายๆ กัน และ สำหรับคนที่แบ่งแล้ว format มาเป็น Drive D: จะไม่เห็นเป็นพื้นที่ว่าง แต่กลับเป็น /dev/sda5 และถูก mount เป็น /media/sda5 เป็นต้นถ้าแบบนี้ให้ท่านลบเสียก่อนโดยการเลื่อนไปที่ sda5 แล้วก็ enter แล้วก็เลือกลบ

ถ้ามีพื้นที่ว่างดังตัวอย่าง และ ไม่มีการแบ่งพาร์ทิชันอื่นๆ อีกก็จะง่ายมากโดยการเลื่อนมาที่ว่างแล้วกด Enter แล้วก็เลือก

Automatically partition the free space

ดูรูปที่ 2.20

รูปที่ 2.20 เลือกอัตโนมัติ
รูปที่ 2.20 เลือกอัตโนมัติ

กด Enter ระบบก็จะคำนวณนิดหนึ่งดังรูปที่ 2.21

รูปที่ 2.21 ระบบกำลังคำนวณ
รูปที่ 2.21 ระบบกำลังคำนวณ

เมื่อเสร็จสิ้นแล้วระบบก็จะรายงานว่าแบ่งอะไรไปบ้างดังรูปที่ 2.22

รูปที่ 2.22 รายงานผล
รูปที่ 2.22 รายงานผล

เสร็จแล้วก็เลือก

Finish partitioning and write changes to disk

เป็นอันเสร็จสิ้นแบบหมูๆ แต่ถ้าอยากทำเองก็กลับไปอ่านแบบแบ่งเองด้านบนนะครับหลักการเหมือนกันเลยประยุกต์นิดหน่อย

แบบเคยลงมาแล้ว

การลงแบบที่เคยลงมาแล้วหมายถึงท่านลงลินุกซ์เจ้าอื่น หรือ ลงลินุกซ์ทะเลมาก่อนหน้านี้แล้วต้องการลงใหม่ทับของเก่า หรือ อาจเกิดจากการลงที่ไม่สมบูรณ์ของการลงครั้งก่อน ผมจะแนะนำวิธีปรับโดยไม่ต้องแบ่งใหม่เท่านั้นเพราะถ้าแบ่งใหม่ให้กลับไปอ่าน ข้างบนแทน

เมื่อตัวจัดการพาร์ทิชันทำงานขึ้นมาท่านก็จะเห็นโครงสร้างพาร์ทิชัน ที่ใช้มาก่อนหน้านี้ ซึ่งท่านจะต้องรู้ว่าอันไหนเป็นอันไหน เพราะจะได้แก้ได้ถูกต้อง การแก้ไขก็ไม่ยากเพียงแค่เลื่อนไปที่พาร์ทิชันที่ต้องการแก้ไข แล้วกด Enter จะขึ้นหน้าต่างสรุปของพาร์ทิชันนั้นดังรูปตัวอย่างที่ 2.23

รูปที่ 2.23 หน้าสรุปของพาร์ทิชันที่ต้องการแก้ไข
รูปที่ 2.23 หน้าสรุปของพาร์ทิชันที่ต้องการแก้ไข

ซึ่งการแก้ไขก็มีไม่เยอะแค่ทำการ format และ กำหนดจุด mount ถ้าอยากเปลี่ยน filesystem ก็เปลี่ยนได้เช่นกัน

การ format ก็ให้ท่านเลื่อนมายังที่

Format the partition:

แล้วกด Enter คำว่า No ก็จะเปลี่ยนเป็น Yes ดังรูปที่ 2.24

รูปที่ 2.24 Format พาร์ทิชัน
รูปที่ 2.24 Format พาร์ทิชัน

ส่วนการแก้ไขจุด mount นั้นก็ให้เลือนไปที่

Mount point:

แล้วจะขึ้นหน้าต่างให้เลือกว่าจะ mount ไปที่ไหนถ้าต้องการไปที่อื่นนอกเหนือจากที่มีให้ก็ให้เลือนลงไปที่กำหนดเอง ดูรูป 2.25

รูปที่ 2.25 เลือกจุด mount
รูปที่ 2.25 เลือกจุด mount


รูปที่ 2.26 เสร็จสิ้น
รูปที่ 2.26 เสร็จสิ้น

ทำแบบนี้จนครบทุกพาร์ทิชัน ก็เป็นการเสร็จ



ระหว่างการติดตั้ง

หลังจากการแบ่งพาร์ทิชันเรียบร้อยแล้วหลังจากนี้ท่านก็มีหน้าที่นั่งรอ หรือ จิบเครื่องดื่มร้อนๆ สักถ้วยให้สบายอารมณ์ และ เฝ้าสังเกตุว่ามีเหตุการระทึกขวัญระหว่างติดตั้งหรือไม่ เหตุการที่พบบ่อยๆ หลังจากนี้คือ อ่านแผ่นไม่ได้โดยมีเหตุจาก

  • เขียนแผ่นด้วยความเร็วสูง
  • แผ่นเป็นรอย
  • download มาไม่สมบูรณ์
  • CD-ROM หัวอ่านสกปรก หรือ ทำงานผิดปกติ

อาการคือนิ่งนานมากๆ ให้ท่านกด Alt + F4 ดูว่ามี error อะไรรายงานหรือไม่ถ้าไม่มีก็ Alt + F1 กลับไปหน้าจอเดิม

รูปที่ 3.1 ติดตั้งซอฟ์ตแวร์พื้นฐาน
รูปที่ 3.1 ติดตั้งซอฟ์ตแวร์พื้นฐาน
รูปที่ 3.2 ติดตั้งซอฟ์ตแวร์ทั้งหมด
รูปที่ 3.2 ติดตั้งซอฟ์ตแวร์ทั้งหมด
รูปที่ 3.3 เสร็จสิ้นการติดตั้ง
รูปที่ 3.3 เสร็จสิ้นการติดตั้ง

ระยะเวลาการติดตั้งขึ้นอยู่กับความเร็วของเครื่องโดยปกติทั่วไปไม่เกิน 25 นาที เมื่อเสร็จสิ้นตามรูปที่ 3.3 แล้วให้เอาแผ่นออกแล้วทำการ reboot เครื่องเพื่อเข้าสู่ขั้นตอน fireboot ต่อไป


บู๊ตใช้งานครั้งแรก

หลังจากผ่านกระบวนการติดตั้งมาแล้ว เครื่องของท่านก็จะทำการ reboot เข้ามาใหม่และจะพบหน้าแรกที่เรียกว่า boot loader หน้าจอสีฟ้าๆ ดังรูปที่ 4.1

รูปที่ 4.1 หน้าจอ Grub boot loader
รูปที่ 4.1 หน้าจอ Grub boot loader

หน้าจอนี้เรียกว่า boot loader ซึ่งลินุกซ์ทะเลใช้ Grub เป็นตัวจัดการโดยปกติจะแสดงเหมือนในรูป 4.1 แต่ถ้าท่านมี OS หลายๆ ตัวหรือ ผ่านการปรับแต่งมาบ้างแล้วก็จะแสดงเป็นเมนูให้เลือกว่าจะ boot กับ ตัวไหนหน้าตาก็จะเปลี่ยนไปจากนี้เป็นหน้าจอดำๆ แถบสีฟ้าแทน

ตรงนี้ถ้าท่านปล่อยไว้สักครู่มันก็จะเข้าระบบไปเองโดยค่าปริยายคือ ลินุกซ์ทะเลนั้นเอง แต่ถ้าท่านต้องการดูว่ามีเมนูอะไรบ้างก็ให้รีบกด ESC

รูปที่ 4.2 หน้าโหมโรงลินุกซ์ทะเล 9.0 (boot splash)
รูปที่ 4.2 หน้าโหมโรงลินุกซ์ทะเล 9.0 (boot splash)

เมื่อผ่านหน้า boot loader มาแล้วก็จะเข้าสู่หน้าโหมโรง หรือที่เรียกว่า boot splash หน้านี้ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติแถบแสดงสถานะก็จะวิ่งไปเรื่อยๆ จนเสร็จ แต่ถ้าเกิตเหตุการผิดปกติมันจะเด้งไปสู่ text mode แทน เช่นการ scan disk เป็นต้น หน้านี้รอแป๊บเดียวก็เข้าสู่ X-windows แล้ว ดูรูปที่ 4.2

รูปที่ 4.3 หน้าต้อนรับของ Firstboot
รูปที่ 4.3 หน้าต้อนรับของ Firstboot

ถ้าท่านมาถึงตรงนี้ได้ก็ขอแสดงความยินดีครับ เพราะท่านได้ผ่านส่วนที่ยากลำบากมาแล้วหลังจากนี้ก็เป็นการใช้ mouse กับ keyboard ได้แล้วซึ่งหลังจากนี้ก็จะมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

  • การปรับแต่งเครือข่าย (รูปที่ 4.4 - 4.8)
  • การปรับแต่ง user (รูปที่ 4.9 - 4.10)
  • การตรวจสอบ fonts (รูปที่ 4.11)
  • การจัดการจุด mount (รูปที่ 4.12 - 4.14)
  • การตั้งค่าการแชร์ไฟล์ (รูปที่ 4.15 - 4.16)
รูปที่ 4.4 หน้าปรับแต่งเครือข่าย
รูปที่ 4.4 หน้าปรับแต่งเครือข่าย

สำหรับขั้นตอนแรกของ firstboot คือการกำหนดค่าอุปกรณ์เครือข่ายซึ่งจุดนี้ท่านสามารถกำหนดได้ว่าจะให้รับ IP แบบไหน จะคงที่ (รูปที่ 4.5) หรือ รับจาก Server (รูปที่ 4.6)

การแก้ไขก็ไม่ยากแค่ click เลือกที่อุปกรณ์ ถ้ามีหลายใบก็เลือกให้ถูกว่าจะแก้อันไหน หลังจากนั้นก็ click ที่ปุ่ม คุณสมบัติ ทางด้านขวามือก็จะขึ้นหน้าต่างปรับค่ามาให้ก็เลือกเอาว่าจะตั้ง IP แบบไหน

รูปที่ 4.5 การตั้งแบบรับค่า DHCP
รูปที่ 4.5 การตั้งแบบรับค่า DHCP
รูปที่ 4.6 การตั้งค่าแบบค่าคงที่
รูปที่ 4.6 การตั้งค่าแบบค่าคงที่

นอกจากนี้ท่านยังสามารถตั้งชื่อเครื่องได้เช่นกันโดย click ที่ Tab ชื่อเครื่อง ด้านบน โดยปกติลินุกซ์ทะเลจะตั้งชื่อว่า linuxtlexxx โดย xxx เป็นตัวเลขสุ่มเพื่อป้องกันชื่อซ้ำกันในกรณีมีหลายเครื่องในวงเดียวกัน การเปลี่ยนชื่อก็ง่ายๆ โดยเปลี่ยนในช่องได้เลยดูรูปที่ 4.7 ประกอบ

รูปที่ 4.7 การเปลี่ยนชื่อเครื่อง
รูปที่ 4.7 การเปลี่ยนชื่อเครื่อง

และอีก Tab ที่เหลือคือการตั้งค่าโดเมน ท่านสามารถจัดการได้ว่าจะใช้ domain อะไร และ DNS Server มีอะไรบ้างในกรณีที่กำหนด IP แบบคงที่ ดูรูปที่ 4.8 ประกอบ

รูปที่ 4.8 การตั้งค่าโดเมน
รูปที่ 4.8 การตั้งค่าโดเมน

ตั้งค่าเครือข่ายเสร็จแล้ว ก็ให้ click ถัดไป เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการตั้งค่าผู้ใช้


รูปที่ 4.9 หน้าแสดง user แรก
รูปที่ 4.9 หน้าแสดง user แรก

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่หลายๆ คนไม่ให้ความสนใจไม่ได้อ่านว่าเรากำหนดอะไรไว้ให้บ้าง ซึ่งทางเราได้รับโทรศัพท์บ่อยมากว่ารหัสผ่านของลินุกซ์ทะเลคืออะไร ดังนั้นขอให้ท่านอ่านให้เข้าใจนะครับ ดูตามรูป 4.9 ท่านจะเห็นว่าค่าปริยายที่เรากำหนดไว้ให้นั้นมีดังนี้

  • User: tleuser
  • Password: 123456
  • เข้าระบบอัตโนมัติ

ซึ่งถ้าท่าน Click ถัดไป แสดงว่าค่าที่เรากำหนดไว้จะถูกใช้ แต่ถ้าท่านต้องการตั้งชื่อ User ใหม่ก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ติ๊กเครื่องหมายถูกหน้าหัวข้อที่ต้องการแก้ไขออก ถ้าแก้ไข user ก็จะได้ตามรูปที่ 4.10 ท่านก็สามารถตั้งชื่อใหม่ รหัสผ่านใหม่ และ ชื่อเต็มได้ที่นี่

  • ช่องชื่อผู้ใช้ ให้ท่านตั้งชื่อด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรืออาจมีตัวเลขร่วมด้วยได้เท่านั้น ไม่มีช่องว่าง และ ต้องเป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
  • ช่องรายละเอียดตรงนี้อาจจะใส่ชื่อเต็มลงไป ให้สังเกตุว่ามี , (คอมมา) อยู่สามตัวซึ่งให้ท่านใส่ชื่อหน้าคอมมาตัวแรก จริงๆ แล้วตรงนี้มันมี 4 เขตข้อมูลคือ
    • ชื่อเต็ม
    • เบอร์ห้อง
    • เบอร์โทรที่ทำงาน
    • เบอร์โทรที่บ้าน

มันเป็นแบบฟอร์มเก่านะครับเมื่อก่อน admin เอาไว้ติดต่อในระบบ Unix ท่านใส่แค่ช่องแรกก็เพียงพอแล้ว

  • ช่องรหัสผ่านก็ให้ตั้งตามมาตรฐานคือไม่ควรน้อยกว่า 6 ตัว และไม่ใช้ช่องว่าง หรือ ภาษาไทย และต้องใส่ให้เหมือนกันทั้งสองช่อง
รูปที่ 4.10 การแก้ไข user แรก
รูปที่ 4.10 การแก้ไข user แรก

ส่วนตัวเลือกอีกตัวคือการเลือกว่าจะเข้าระบบอัตโนมัติหรือไม่ อันนี้ถ้าท่านใช้งานคนเดียว และ ข้อมูลไม่เป็นคยวามลับก็ปล่อยไปเลยก็ได้ แต่ถ้าท่านจะใช้ร่วมกับคนอื่น หรือ มีข้อมูลที่เป็นความลับก็ติ๊กออกครับ

รูปที่ 4.11 หน้าต่าง fonts
รูปที่ 4.11 หน้าต่าง fonts

ขั้นตอนการตรวจสอบ fonts ถ้าระบบของท่านมี Windows หรือมีพาร์ทิชันที่เก็บ fonts ไว้ลินุกซ์ทะเลก็จะตรวจสอบแล้วขึ้นแสดงให้ดูว่ามีอยู่ที่ไหนบ้างจากตัวอย่าง มันไม่พบ font เลยไม่แสดง ถ้าพบและท่านต้องการที่นำ fonts นั้นมาใช้กับลินุกซ์ทะเลก็เพียงเลือกแล้วก็ Click ถัดไปได้เลย ดูรูปที่ 4.11 ประกอบ

รูปที่ 4.12 หน้าต่างแสดงพาร์ทิชันที่มี
รูปที่ 4.12 หน้าต่างแสดงพาร์ทิชันที่มี

ขั้นตอนต่อไปคือการจัดการจุด mount ของพาร์ทิชันที่มีอยู่ในระบบซึ่งหน้าแรกจะแสดงรายการให้ท่านดูว่ามีอะไรบ้าง และ เชื่อมไว้ที่ไหนบ้าง ดูรูป 4.12

รูปที่ 4.13 การแก้ไขจุด mount
รูปที่ 4.13 การแก้ไขจุด mount

การเปลี่ยนจุด mount ก็ง่ายแสนง่ายเพียงแต่ click ที่จุด mount ที่ต้องการเปลี่ยน ดังรูป 4.13 แล้วก็แก้ไขได้เลย เหมือนรูปที่ 4.14

รูปที่ 4.14 การแก้ไขจุด mount
รูปที่ 4.14 การแก้ไขจุด mount

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการกำหนดค่าการแชร์ไฟล์ ซึ่งตรงนี้ไม่ได้ลงรายละเอียดการปรับแต่งมากนัก แค่มีการกำหนดเวิร์กกรุ๊ป และ กำหนดว่าจะเปิดใช้งานหรือไม่แค่นั้น ดูรูปที่ 4.15 ประกอบ

รูปที่ 4.15 หน้าต่างแสดงชื่อเครื่องสำหรับแชร์ไฟล์
รูปที่ 4.15 หน้าต่างแสดงชื่อเครื่องสำหรับแชร์ไฟล์

สำหรับการเปลี่ยนค่าก็แค่ท่านเลือกในช่องที่จะเปลี่ยนแล้วทำการแก้ไขแค่นี้ก็เรียบร้อยดังรูปที่ 4.16

รูปที่ 4.16 การแก้ไขชื่อเครื่องสำหรับแชร์ไฟล์
รูปที่ 4.16 การแก้ไขชื่อเครื่องสำหรับแชร์ไฟล์

เป็นอันจบกระบวนการถ้าท่านต้องการเปลี่ยนแปลงค่าก็สามารถกดย้อนกลับไปแก้ได้ถ้าไม่แก้ไขอะไรแล้วก็กดถัดไป ได้เลย

รูปที่ 4.17 หน้าต่างสุดท้าย
รูปที่ 4.17 หน้าต่างสุดท้าย

หน้าต่างสุดท้ายเป็นการย้ำว่าจะเริ่มดำเนินการตามค่าที่ท่านเลือกไว้ให้ แล้วนะ ถ้าพร้อมก็ click ปุ่มเริ่มดำเนินการ ได้เลยซึ่งระบบจะทำงานสักพักหนึ่งให้ท่านรอด้วยความใจเย็นๆ เมื่อเสร็จแล้วก็จะเข้า X-Windows ทันที

จริงๆ แล้วหลังจากนี้ท่านสามารถใช้งานได้เลย แต่มีบางกรณีในบ้างเครื่องอาจจะทำงานไม่ถูกต้องนักเพื่อความแน่ใจท่านอาจจะ ทำการ reboot เครื่องสักครั้งหนึ่งเพื่อความถูกต้องของการทำงานนะครับ

ขอให้โชคดี และ มีความสุขกับการใช้งานลินุกซ์ทะเล 9.0 !!


คำแนะนำจากทางบ้าน

  1. อยากให้แผ่นติดตั้ง LinuxTLE 9.0 เป็น Live CD เหมือนกับแผ่นติดตั้ง Ubuntu
  2. อยากได้แผ่นติดตั้ง LinuxTLE 9.0 หรือ เวอร์ชั่นอื่นๆ แบบ ShipIT ส่งทางไปรษณีย์ สั่งทางเมลล์ แล้วแจ้งโอนเงินค่าแผ่นเล็กๆ น้อยๆ คือว่าเน็ตที่บ้านคงโหลดไม่ไหว มันไม่เสถียร 600 กว่า mb ครับ

อาจต้องเสียค่าใช้จ่าย ก็สมน้ำสมเนื้อครับ ไปหาซื้อตามพันธุ์ทิพย์ ส่วนมากจะเป็นแผ่นผี ซึ่ง LinuxTLE เป็นของฟรี จึงไม่มีขาย (อยากใช้จริงๆ ครับ)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘