3 กลยุทธในการที่จะหยุดการกินที่มากเกินไป

เมื่อมีอาหารที่คุณชอบมาวางหยุดอยู่ตรงหน้า คุณคงจะอดใจไม่ไหวใช่ไหมครับ

บางคนแนะนำว่าให้ย้ายอาหารที่ชอบออกไปจากบ้านเลยดีกว่าจะได้ป้องกันการกินที่
มากเกินไปด้วย

แต่ว่าบางคนก็คิดว่าการนำอาหารที่คุณชอบออกไปจะทำให้คุณยิ่งอยากกินอาหารนั้น
มากยิ่งขึ้นก็ตาม และจะกินมากขึ้น ถ้าอาหารที่คุณอดมานานวางอยู่ตรงหน้าคุณอีก

แต่ความเห็นบางคน อยู่ตรงกลางนั่นแหละครับ ดีที่สุด

ผมจะไม่บอกว่าวิธีไหนถูกหรือผิดนะครับ แต่ผมจะนำแนวคิดที่ผมได้ไปค้นคว้า
เทคนิคทั้ง 3 อย่างนี้มานำเสนอให้ครับ

ถ้าคุณต้องการย้ายอาหารหรือขนมหวานที่คุณชอบออกไปจากบ้านเลย จะมีแนวคิด
ดังนี้ครับ

  • "ปริมาณที่คุณรับประทานเข้าไป จะแปรผันตรงกับ ปริมาณที่คุณรับประทาน
    ดังนั้นถ้าคุณไม่เห็นอาหารนั้น คุณก็จะกินน้อยลง"

  • "ถ้าคุณไม่เห็นอาหารที่คุณชอบ คุณก็จะไม่นึกถึงมัน"

  • "ต่อให้คุณนึกถึงอาหารที่คุณชื่นชอบ คุณก็จะรับประทานไม่ได้อยู่ดี คุณก็จะ
    หยุดคิดถึงไปในที่สุด"

  • "ถ้าคุณเข้าถึงอาหารที่คุณชื่นชอบได้โดยง่าย คุณก็จะรับประทานอาหารที่คุณ
    ชื่นชอบมากจนควบคุมความถี่บ่อยและปริมาณไม่ได้"

ถ้าคุณต้องการเก็บอาหารไว้ในตู้เย็นอยู่ แต่ใช้วิธีพยายามที่จะควบคุมตัวเอง ก็จะมีแนว
คิดอย่างนี้ครับ

  • "คุณจะได้ฝึกนิสัยการรับประทานอย่างมีสติ รู้จักสังเกตความรู้สึก หิว- อิ่ม ของ
    ตนเอง รู้จักควบคุมปริมาณอาหารได้ด้วยตนเอง"

  • "เพื่อที่จะได้ไม่ต้องฝืนทนอดอาหารที่ชื่นชอบ และสามารถหารับประทานได้ทุก
    เวลาที่คุณต้องการ เพราะถ้าต้องอดเป็นเวลานานๆ ก็มีโอกาสที่จะรับประทาน
    มากขึ้น (เช่น อดช้อกโกแลตเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก็มีโอกาสที่จะรับประทาน
    ช้อกโกแลตมากขึ้นเป็น 4 กล่อง เมื่อมีโอกาส)"

เป็นความจริง ตามประสบการณ์ ผมเป็นคนชอบรับประทานปลาดิบญี่ปุ่นมากครับ
ตอนช่วงที่ผมอยู่ประจำโรงพยาบาลจังหวัด ไม่มีโอกาสกลับบ้านติดต่อกัน 4 เดือน

พอมีโอกาสได้กลับบ้าน เป็นอย่างไรทราบไหมครับ เช้า- ปลาดิบ กลางวัน - ปลาดิบ
เย็น-ปลาดิบ ติดกัน 2 วัน ถ้าอดอะไรที่ชอบติดต่อกันนานๆมักจะเป็นอย่างนี้

แล้วถ้าเกิดไม่ใช่ปลาดิบล่ะ เกิดเป็นช้อกโกแลตล่ะครับจะเกิดอะไรขึ้น ?

ถ้าคุณต้องการที่จะเดินสายกลาง ก็จะมีแนวคิดอย่างนี้ครับ

  • "การได้รับประทานอาหารที่คุณชื่นชอบบ้าง จะไม่นำพาให้คุณรับประทานมาก
    จนเกินไป และเป็นการฝึกการควบคุมปริมาณและความถี่ในการรับประทานอีก
    ด้วย"

เทคนิคอีก 2 ประการในการป้องกันไม่ให้กินมากจนเกินไป

เทคนิค "กล่องขนมหวาน"
คุณมีอาหารหรือขนมที่คุณชื่นชอบใช่ไหมครับ ผมสมมุติว่าคุณชอบรับประทาน
ช้อกโกแลตก็แล้วกันนะครับ คุณชอบรับประทานช้อกโกแลตมากที่สุด

ดังนั้นเมื่อคุณซื้อมาเมื่อไหร่ ช้อกโกแลตหมดกล่องภายใน 1 วันทุกที

ผมแนะนำอย่างนี้ครับ เมื่อคุณรับประทานช้อกโกแลตจนหมด กล่องอย่าเพิ่งทิ้งครับ
ให้แช่กล่องเปล่าไว้ในตู้เย็นอย่างนั้นแหละ

และเมื่อคุณเกิดอยากกินช้อกโกแลตขึ้นมาเมื่อไหร่ ให้คุณเปิดตู้เย็น แล้วจ้องมองกล่อง
ช้อกโกแลตอยู่อย่างนั้นแหละครับ

เทคนิค "ร้านขายขนมหวาน"
คราวนี้ผมยกตัวอย่างไอศกรีมบ้าง เดี๋ยวเบื่อ คุณเป็นคนที่โปรดปรานไอศกรีมมาก
เทคนิคนี้ให้ทำอย่างนี้ครับ

ไม่ควรเก็บไอศกรีมไว้กับบ้าน แต่เมื่อไหร่ที่คุณเกิดอยากกินไอศกรีมให้ไปซื้อไอศกรีม
จากร้านเท่านั้น

และเมื่อคุณเกิดอยากกินไอศกรีมอีก ก็ให้คุณเดินกลับไปซื้ออีก เพื่อเพิ่มความยาก
ลำบากในการที่จะกินขนมหวานที่คุณชอบอย่างไรล่ะครับ

ทีนี้ผมขอสรุปเลยก็แล้วกันนะครับ

การตัดอาหารที่คุณชอบออกไปจากบ้านคุณ เป็นวิธีที่ได้ผล และจะช่วยไม่ให้คุณ
รับประทานมากจนเกินไปในระยะสั้น และทันทีครับ ในขณะที่การฝึกทักษะการ
รับประทาน

และรับรุ้ความรู้สึกหิว-อิ่ม ต้องใช้เวลาครับ และมีความเป็นไปได้ที่คุณสามารถ
รับประทานอาหารที่คุณชื่นชอบได้เป็นครั้งคราว ขึ้นกับปริมาณและความถี่ของอาหาร
ที่คุณรับประทานในแต่ละครั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องค่อยๆปรับพฤติกรรมในตัวคุณเองครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘