Memory หน่วยความจำ เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ใช้งานคอมฯ

หน่วยความจำคืออะไร

หน่วยความจำ (Memory) คือพื้นที่พักข้อมูลชั่วคราวของคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้สำหรับการประมวลผลข้อมูล

เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงพอทราบแล้วว่า การทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เร็วหรือช้า ส่วนหนึ่งมาจากจำนวนหน่วยความจำ ถ้ามีมากย่อมทำงานได้เร็วขึ้น แต่การที่เราจะเพิ่มความเร็วให้กับคอมพิวเตอร์ของเราโดยการเพิ่มหน่วยความจำ ให้มากขึ้นนั้น ดูจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องมากนัก

ดังนั้น เราลองมาศึกษาดูซิว่า หน่วยความจำสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างมีหน้าที่อย่างไร เราสามารถปรับปรุงหรือแก้ไขหน่วยความจำแบบใดได้บ้างที่จะทำให้เราประหยัดค่า ใช้จ่าย แต่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น น่าสนไหมครับ...

แผงหน่วยความจำ
  1. SIMM : Single in-line Memory Module
    เป็นหน่วยความจำที่นิยมใช้ในอดีต มีสองรุ่นคือ 32 pin และ 72 pin สำหรับการติดตั้งหน่วยความจำแบบนี้จะต้องติดตั้งครั้งละ 2 การ์ด
  2. DIMM : Dual in-line Memory Module
    เป็นหน่วยความที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เพนเทียมขึ้นไป มีหน้าตาคล้าย SIMM แต่มีขาถึง 168 pin การติดตั้งสามารถติดตั้งได้ครั้งละ 1 การ์ด
หน่วยความจำแต่ละประเภท
  1. DRAM : Dynamic RAM
    เป็นหน่วยความจำรุ่นเก่า ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้ว
  2. EDO RAM : Extended Data Out DRAM
    เป็นหน่วยความจำที่เร็วกว่า DRAM ไม่ค่อยนิยมใช้ในปัจจุบัน
  3. SDRAM : Synchronous DRAM
    เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูง นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังมีแรมประเภทอื่น ๆ อีก เช่น SRAM, FPM DRAM

ชนิดของหน่วยความจำ
  1. RAM : Read Access Memory
  2. Disk Cache
  3. Virtual Memory
RAM : Read Access Memory

คือ การ์ดเล็ก ๆ การ์ดหนึ่งจะเสียบอยู่บน Slot บน Main board ของคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำที่สามารถเพิ่มเติมได้ง่าย ราคาถูก ปัจจุบันที่เราใช้จะมีขนาดตั้งแต่ 16 mb, 32, mb, 64 mb, 128 mb, 256 mb เป็นต้น การเพิ่มความเร็วให้เครื่องคอมฯ ด้วยวิธีนี้ดูจะเป็นเรื่องง่าย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือจะต้องดูจากคู่มือ main board เสียก่อนว่า สามารถใส่แรมชนิดใดได้บ้าง และสามารถใส่ขนาดเท่าไหร่ได้บ้าง

การ ติดตั้งแรมเพิ่มใน slot คอมพิวเตอร์ (ปัจจุบัน slot สำหรับใส่แรมจะมี 3 slots) ส่วนใหญ่จะติดตั้งโดยใช้แรมที่มีขนาดเท่ากัน เช่น 64 MB ทั้ง 3 slot หรือ 32 MB ทั้ง 3 Slot เป็นต้น และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ แรมแต่ละการ์ด ควรเป็นรุ่นเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน จะดีที่สุด

อยากรู้ว่าเครื่องคอมฯ ของเรามีแรมเท่าไหร่ ให้คลิกขวาที่ My Computer จากนั้นเลือก Properties ดูที่แท็ป General



Disk Cache

คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลก่อนทำการเขียนลงใน harddisk และกรณีที่ CPU ต้องการข้อมูลใด ๆ ก็จะทำการตรวจสอบจาก disk cache ก่อนเสมอ ซึ่งจะมีผลทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วกว่ากว่าปกติ (เนื่องจากการอ่านข้อมูลจาก disk cache นี้จะเร็วกว่าการอ่านจาก harddisk ธรรมดา)

Virtual Memory

คือ การกันพื้นที่บางส่วนของ harddisk มาทำเป็นพื้นที่ชั่วคราวในการประมวลผลข้อมูล ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากมีหน่วยความจำไม่เพียงพอในการทำงานและปัญหาจากการ ที่โปรแกรมใด ๆ หลังจากประมวลผลแล้ว ไม่สามารถคืนพื้นที่ในความจำได้ทั้งหมด ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากปัญหาของตัวโปรแกรมเอง ดังนั้นจะสังเกตุเห็นได้ว่า เมื่อพื้นที่ใน harddisk มีขนาดเล็กลง มักจะทำให้เครื่องทำงานช้าลงอย่างมากเลยทีเดียว

เราสามารถกำหนด Virtual Memory ได้ด้วยตนเองหรือจะให้ Windows เป็นตัวกำหนดได้ โดยเข้าไปที่ Control Panel เลือก System คลิกแท็ป Performance จากนั้นคลิกปุ่ม Virtual Memory จากภาพจะเห็นว่า โดยปกติ Windows จะกำหนดให้เป็นดังภาพนี้ คือจะกำหนด Virtual Memory ให้อัตโนมัติ แต่ถ้าคุณมีเนื้อที่ใน harddisk เหลือเป็น Gigabyte ก็อาจสามารถกำหนดพื้นที่เองได้ (แนะนำควรมีพื้นที่ใน harddisk เหลือมาก ๆ ก่อน จึงเข้าไปกำหนดเอง)





ถ้าคุณสนใจอยากจะจัดการหน่วยความจำ แต่ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจพอ อาจทดลองหาโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการหน่วยความจำ ถ้าสนใจลองศึกษาโปรแกรมตัวนี้ดู Cacheman

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘