พจนานุกรม ไทย-อังกฤษ LEXiTRON

แนะนำโปรแกรม

ลินุกซ์ทะเล 8.0 มีโปรแกรมพจนานุกรมสำหรับแปลภาษาไทย -> อังกฤษ และ อังกฤษ -> ไทย ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยจำนวนคำศัพท์มากกว่า 30000 คำ ซึ่งผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดี นั่นก็คือ LEXiTRON ซึ่งเป็นผลงานจากทางเนคเทค และได้เผยแฟร่ไปแล้วในเวอร์ชั่น 1.0 พร้อมกับลินุกซ์ทะเล 7.0 โดยมีการพัฒนา Interface มาจากภาษา Java แต่เนื่องในเวอร์ชั่น 1.0 นั้นจะใช้เวลาในการเปิดโปรแกรมนานและกินทรัพยากรในระบบอยู่พอสมควร อีกทั้งในลินุกซ์ทะเล 8.0 ก็ไม่ได้มีการติดตั้งภาษา Java ไปด้วยจึงได้มีการพัฒนา Interface ออกมาเป็นเวอร์ชันใหม่ โดยใช้ภาษา Python ทำให้การทำงานเร็วขึ้น

การใช้งาน

การเรียกใช้งานโปรแกรม สามารถทำได้จากเมนู "เครื่องมืออำนวยความสะดวก" -> "LEXiTRON" จะได้หน้าจอโปรแกรมดังนี้

start


หน้าจอของ LEXiTRON

LEXiTRON ประกอบด้วยเมนูใช้งานทั้งหมดดังนี้ คือ

  1. File
    1. Exit ->ใช้ออกจากโปรแกรม
  2. View
    1. Full screen -> ใช้งานแบบเต็มจอภาพ
    2. Closeword wizard -> ใช้เปิด - ปิดไดอะล็อกคำใกล้เคียง
  3. Options
    1. Normal search -> สำหรับหารทำงานแบบปกติ
    2. Quick search -> สำหรับหารทำงานอย่างเร็ว
    3. Word list display -> สำหรับตั้งค่าจำนวนการแสดงผลของคำใกล้เคียง
  4. Help
    1. License -> สำหรับแสดงลิขสิทธิ์
    2. About


ดังรูป

เมนู File
เมนู View
เมนู Options
เมนู Help

การจัดวางตำแหน่งของโปรแกรม

สำหรับ การใช้งานทั่วๆ ไปสามารถป้อนคำที่ต้องการดูความหมายในช่องป้อนข้อมูล A ได้ทันที ในขณะที่กำลังพิมพ์ตัวอักษรโปรแกรมจะแสดงคำใกล้เคียงขึ้นมาให้ในส่วน C หลังจากกดปุ่ม Enter โปรแกรมจะแสดงความหมายของคำในส่วน B ดังตัวอย่างตามรูปต่อไปนี้

ตัวอย่างการใช้งาน

โดยในส่วนของความหมายจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

word [category]; meaning

Syn. aaaaaaaaaa

Sample. bbbbbbbbb

Ant . cccccccccccc

โดยที่ word คือ คำที่ค้นหาความหมาย

category คือ หมวดของคำ ได้แก่ N - คำนาม, VT - คำกิริยาที่มีกรรม, VI - คำกิริยาที่ไม่มีกรรม

Syn คือ

Sample. คือ ตัวอย่างการใช้งาน

Ant . คือ

LEXiTRON สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องมีการตั้งค่าใดๆ ทั้งสิ้น หากต้องการหาความหมายของคำภาษาไทยก็สามารถทำคำศัพท์เป็นภาษาไทยได้ทันที โปรแกรมจะค้นหาความหมายให้ได้ทันที ดังรูป

การหาคำศัพท์ที่เป็นภาษาไทย

การตั้งค่าจำนวนคำของคำใกล้เคียง

ในส่วนของจำนวนความในช่องคำใกล้เคียง (ส่วน C) สามารถกำหนดได้ ดังนี้

1. ไปที่เมนู Options -> Word list display ดังรูป

การตั้งจำนวนคำใน wordlist

2. จะปรากฏไดอะล็อก ดัวต่อไปนี้

wordlist

โปรแกรมสามารถกำหนดคำใกล้เคียงได้ 3 ค่า คือ 20, 30 และ 40 คำ

3. เลือกจำนวนที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่มปิด จะมีผลทันที

เทคนิคการใช้ LEXiTRON อย่างเร็ว

โปรแกรม นี้มีตัวช่วยให้การแปลเป็นไปอย่างสะดวก ซึ่งสามารถทำได้จาก 2 วิธี คือ

  1. การแปลจากคำใกล้เคียง (ส่วน C)
  2. การแปลจากความหมาย (ส่วน B)

การแปลจากคำใกล้เคียงสามารถทำได้โดยการใฃ้เมาส์เลือกไปยังคำที่ต้องการที่อยู่ในรายการคำใกล้เคียง ดังรูป

การเลือกคำจากคำใกล้เคียง

ดับเบิ้ลคลิ๊กที่เมาส์ จะเป็นการแปลคำศัพท์คำๆ นั้นทันที ดังรูป

การแปลจากคำใกล้เคียง

ตัว ช่วยอีกอย่างคือ การแปลคำศัพท์ต่อไปจากความหมาย ซึ่งทำได้โดยการเลือกคำที่ต้องการ จากนั้นคลิ๊กเมาส์ปุ่มขวา จะปรากฏเมนูขึ้นมา ดังรูป

lookup

เลือกเมนู Lookup 'คำศัพท์' โปรแกรมจะแปลคำศัพท์ให้ทันที ดังรูป

lookup

การเปิด - ปิดคำใกล้เคียง

นอกจาก นี้แล้วนั้น สำหรับบางท่านที่ไม่ต้องการให้มีการแสดงส่วนของคำใกล้เคียง (อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มคำเร็วในการทำงาน) ก็สามารถปิดส่วนนี้ได้ ดังนี้

1. ไปที่เมนู View -> Closeword wizar ดังรูป

การเปิด - ปิด คำใกล้เคียง

2. ส่วนของคำใกล้เคียง (ส่วน C) จะหายไป ดังรูป

หน้าจอที่ไม่มีคำใกล้เคียง

3. หากต้องการแสดงคำใกล้เคียงใหม่ ก็ทำซ้ำตามข้อ 1 ใหม่ ก็จะเป็นการเปิด - ปิดคำใกล้เคียง

การแปลความหมายอย่างรวดเร็ว

การ ค้นหาอย่างรวดเร็ว คือ การที่โปรแกรมจะแสดงความหมายของคำศัพท์ทันทีที่พิมพ์ตัวอักษร (ถ้ามีความหมาย) หากต้องการค้นหาความหมายอย่างรวดเร็ว สามารถทำได้ ดังนี้

1. ไปที่เมนู Options -> Quick search ดังรูป

quick search mode

2. พิมพ์คำศัพท์ที่ต้องการหาความหมาย

พิมพ์ตัว t quick1
พิมพ์ตัวequick2
พิมพ์ตัวsquick3
พิมพ์ตัว tquick4

การออกจากโปรแกรม

เมื่อต้องการปิดโปรแกรม สามารถทำได้โดยการเลือกเมนู File -> Exit โปรแกรมจะจบการทำงานทันที

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘