Create Partition with Acronis Disk Director Suite


Acronis Disk Director Suite เป็นโปรแกรมจัดการกับพาร์ทิชันบนฮาร์ดดิสต์ที่ดีอีกตัวหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง, ลบ, ย่อ-ขยาย พาร์ทิชัน ซึ่งไม่ได้เป็นรอง Partition Magic จากฝั่ง PowerQuest เลย (ความรู้สึกจากการลองใช้งานของผมนะ เริ่มติดใจโปรแกรมตัวนี้มากกว่า Partition Magic แระ อิอิ)

ข้อดีของโปรแกรมตัวนี้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับการโกสต์วินโดวส์โดยเรียกใช้งานจากไฟล์อิมเมจโกสต์ที่ทำ ไว้ เมื่อสร้างพาร์ทิชันต่างๆด้วยโปรแกรมตัวนี้เสร็จเรียบร้อยด้วยแผ่นบูตอย่าง Hiren's BootCD, Windows XPE เป็นต้น สามารถออกจากโปรแกรมแล้วเรียกใช้งานโปรแกรม Norton Ghost ต่อได้เลย ซึ่งจะไม่เหมือนกับ Partition Magic ที่จะต้องรีสตาร์ทเครื่องก่อนหลังการสร้างพาร์ทิชัน เพราะบางท่านอาจจะต้องการใช้เวลาที่มีค่าให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดนั่นเอง และในขั้นตอนของการฟอร์แมตตัวโปรแกรมจะทำการเซ็ต Active Partition ให้กับไดร์ฟ C ให้โดยอัตโนมัติด้วยครับ

ข้อเสียของโปรแกรมนี้ เมื่อคลิกขวาที่พาร์ทิชันของแต่ละพาร์ทิชันจะไม่มีหัวข้อ Check for Errors เหมือนอย่างโปรแกรม Partition Magic เช่น ถ้าหากพาร์ทิชัน C (ไดร์ฟ C) มีปัญหาจากอาการ Error ของตัววินโดวส์จะไม่สามารถเช็คหาสาเหตุของอาการ Error ของพาร์ทิชันนั้นๆได้

การเรียกใช้งานแผ่นบูต

1.เรียกใช้งานโปรแกรมบูตซีดี โดยใช้เมนูลัดบนคีย์บอร์ด ซึ่งคีย์ลัดแต่ละยี่ห้อของเมนบอร์ดจะไม่เหมือนกัน

เมนบอร์ด Asus, ECS ให้กด F8 แล้วเลือกไดร์ฟ CD / DVD
เมนบอร์ด Asrock ให้กด F11 แล้วเลือกไดร์ฟ CD / DVD
เมนบอร์ด Gigabyte ให้กด F12 แล้วเลือกไดร์ฟ CD / DVD

2.เมื่อเลือกหัวข้อสำหรับสั่งบูตซีดีได้แล้วจะเจอกับหน้าจอนี้ ให้เลือกข้อ 2. Start BootCD แล้ว Enter

3.เลือกข้อ 1. Disk Partition Tools (เครื่องมือสำหรับจัดการกับพาร์ทิชันบนฮาร์ดดิสต์) แล้ว Enter

4.เลือกข้อ 2. Acronis Disk Director Suite 9.0.554 (โปรแกรมสำหรับจัดการพาร์ทิชัน (พระเอก..)) แล้ว Enter

การสร้างพาร์ทิชัน

1.ต่อจากรูปด้านบน ตัวโปรแกรมจะเปิดขึ้นมาและจะมีโหมดการใช้งานสำหรับการสร้างพาร์ทิชันให้เลือก 2 รูปแบบ

+Automatic Mode: จะเป็นการแบ่งแบบอัตโนมัติ โดยที่เราแค่ทำการกำหนดค่าความจุต่างๆของแต่ละพาร์ทิชันเข้าไป แล้วก็ Next ไปเรื่อยๆเลยครับ

+Manual Mode: จะเป็นการแบ่งแบบกำหนดขนาดของแต่ละพาร์ทิชันด้วยตัวเอง ซึ่งในหัวข้อนี้ถ้าหากเราไม่พอใจกับความจุของพาร์ทิชันใด เราสามารถ Resize เพื่อย่อ-ขยายความจุของพาร์ทิชันนั้นได้ และรวมถึงถ้าหากต้องการลบพาร์ทิชันเพื่อสร้างพาร์ทิชันใหม่ก็ต้องเลือก ใช้งานหัวข้อ Manual Mode ตัวนี้ด้วยครับ

ในที่นี้ผมขออธิบายการสร้างพาร์ทิชันด้วยการเลือกใช้งานหัวข้อ Automatic Mode เสร็จแล้วก็กด OK จะได้ดังรูป สังเกตเห็นว่าฮาร์ดดิสต์ลูกนี้ยังไม่ได้ผ่านการฟอร์แมตหรือสร้างพาร์ทิชัน ขึ้นมาก่อน และที่เมนู Wizards เลือกหัวข้อ Create Partition เพื่อสร้างพาร์ทิชันแรก (ไดร์ฟ C) ขึ้นมา

2.กำหนดขนาดความจุของไดร์ฟ C ตามต้องการ (ในที่นี้ผมต้องการแบ่งพาร์ทิชันของฮาร์ดดิสต์ลูกนี้ออกเป็น C= 10GB, D= 27GB, E= 27GB) เมื่อกำหนดความจุของพาร์ทิชัน C เสร็จแล้วก็กด Next

3.กำหนดรูปแบบของพาร์ทิชันหลัก (ไดร์ฟ C) โดยเลือก Primary Partitions แล้วกด Next

4.กำหนดรูปแบบของไฟล์ระบบ ปกติจะใช้กันอยู่ 2 แบบคือ FAT32 กับ NTFS แต่ที่นิยมใช้กันใน Windows XP จะใช้รูปแบบของไฟล์ระบบแบบ NTFS ซึ่งจะมีความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลสูงกว่านั่นเอง เสร็จแล้วก็กด Next

5.ใส่ชื่อของพาร์ทิชัน (ไดร์ฟ C) ตามต้องการ แล้วกด Next

6.กด Finish เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนของการแบ่งพาร์ทิชันแรก (Primary Partition) ของฮาร์ดดิสต์

7.ถัดมาจะเริ่มการสร้างพาร์ทิชันที่ 2 (Logical Partition) กันต่อ ที่เมนู Wizards คลิกเลือก Create Partition

8.เลือก Unallocated space เพื่อสร้างพาร์ทิชันที่ 2 (Logical Partition)

9.กำหนดขนาดของพาร์ทิชันที่ 2 ตามต้องการ

10.เลือกรูปแบบของการสร้างพาร์ทิชัน โดยเลือกที่ Logical

11.ขั้นตอนต่อไป สำหรับการสร้างพาร์ทิชันที่ 2 ก็ดูจากข้อที่ 4 ถึงข้อที่ 6 ไปได้เลยครับทุกอย่างเหมือนกัน

12.สำหรับการสร้างพาร์ทิชันที่ 3 ก็ศึกษาจากข้อที่ 7 ถึงข้อที่ 10 และย้อนกลับไปที่ข้อที่ 4 ถึงข้อที่ 6 อีกด้วยเหมือนกัน

13.เมื่อสร้างพาร์ทิชันทั้ง 3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาดังรูป

14.แต่เดี๋ยวก่อนยังไม่หมดแค่นี้ ไปที่เมนู Operations > เลือก Commit เพื่อสั่งให้โปรแกรมฟอร์แมตพาร์ทิชันทั้ง 3 ด้วย

15.ถึงตรงนี้ก็ใช้เวลารอไม่นานครับ แค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้นเอง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนของการสร้างพาร์ทิชันเรียบร้อยแล้ว

16.ถ้าท่านมีไฟล์อิมเมจโกสต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากโปรแกรม Norton Ghost อยู่ก่อนแล้ว ก็ให้ออกจากโปรแกรม Acronis โดยเลือกที่เมนู Disk > Exit

17.ที่พาธ R:> ให้พิมพ์ m เพื่อกลับไปที่เมนูหลักของแผ่นบูต Hiren's BootCD (จะเป็น m เล็กหรือ M ใหญ่ก็ได้) เพื่อเรียกใช้งานโปรแกรม Norton Ghost กันต่อโดยที่ไม่ต้องรีสตาร์ทเครื่องให้เสียเวลา

18.ที่เมนูหลัก เลือกที่หัวข้อ Clone Tools... (เครื่องมือสำหรับการโคลน) แล้ว Enter

19.และเลือกหัวข้อ Norton Ghost ดังรูป แล้ว Enter

20.โปรแกรม Norton Ghost จะถูกเรียกขึ้นมาให้ใช้งาน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘